และยังเป็นอุปสรรคใหญ่ขวางแผนการของประธานาธิบดีโจโควิโดโด ที่จะสร้างอินโดนีเซียให้ติดอันดับ 1 ใน 5ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในโลกภายในปี 2588 ด้วยพลังขับเคลื่อน “ทัพแรงงานทักษะสูง” จากอันดับ 16 ในปัจจุบัน

ในรายงานผลการศึกษาวิจัย ของคณะนักวิชาการนำโดย นายโนอาห์ ยาร์โรว์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาของธนาคารโลก เผยแพร่เมื่อวันที่ 17ก.ย.ที่ผ่านมา อินโดนีเซียมีปัญหาหนักด้านการศึกษาตั้งแต่ก่อนเกิดการระบาดแล้ว และการวิจัยพบว่ามีแนวโน้มแย่ลงอีกมาก

การเรียนรู้ของเด็กน้อยกว่าที่ควร สำหรับการแข่งขันในระดับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจแถวหน้าของโลกกล่าวคือ กว่า 80% ของเด็กนักเรียนอินโดนีเซียอายุต่ำกว่า 15 ปี ทักษะการอ่านไม่ได้มาตรฐานขั้นต่ำ ตามเกณฑ์ทดสอบการเรียนรู้หนังสือพื้นฐาน ของโครงการประเมินสมรรถนะนักเรียนมาตรฐานสากล หรือ ปิซา (Programmefor International Student Assessment : PISA) ขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (โออีซีดี)

อัตราสูงขึ้นอย่างรวดเร็วจากระดับ 70% เมื่อปี 2561ซึ่งอินโดนีเซียอยู่ในกลุ่ม 8% ล่างสุด ในตารางของ 77 ประเทศที่เข้าร่วมการทดสอบ

ช่วงก่อนเกิดการระบาดของโควิด-19 แม้จะไปโรงเรียนกว่า12 ปี แต่ค่าเฉลี่ยประสิทธิภาพการเรียนรู้ของเด็กนักเรียนอินโดนีเซียอยู่ที่เพียงแค่ 7.8 ปี และมีแนวโน้มลดลงเหลือ 6.9 ปี เมื่อเดือน ก.ค.ปีนี้ จากการคิดคำนวณตามหลักวิชาการของธนาคารโลก

การสูญเสียการเรียนรู้ในช่วงการระบาดของโควิด-19 จะทำให้นักเรียนสูญเสียรายได้ตลอดช่วงชีวิตการทำงาน คิดเป็นมูลค่ารวมอย่างน้อย 253,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ประมาณ8,406,940ล้านบาท)

แถลงการณ์ของกระทรวงศึกษาธิการอินโดนีเซียยอมรับว่า การปิดโรงเรียนส่งผลกระทบมหาศาล ต่อผลการเรียนรู้ของเด็กไม่น้อยกว่าประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก ล่าสุดรัฐบาลได้มีการประชุมหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อหาแนวทางเปิดโรงเรียนใหม่เต็มรูปแบบทั่วประเทศ

จากข้อมูลของธนาคารโลกถึงวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมา อินโดนีเซียปิดโรงเรียนนาน 55 สัปดาห์ เทียบกับเวียดนาม 25 สัปดาห์ ญี่ปุ่น 37 สัปดาห์ และฟิลิปปินส์ 57 สัปดาห์

โรงเรียนในอินโดนีเซียส่วนใหญ่ยังปิด แต่ส่วนน้อยที่เปิดก็ลดชั่วโมงเรียนลง ช่วงที่โรงเรียนปิดรัฐบาลได้พัฒนาหลักสูตรฉุกเฉินและเรียบง่ายใช้การสอนทางไกล ผ่านระบบออนไลน์ ผสมกับทางทีวีและวิทยุ

แต่ผลการศึกษาของธนาคารโลกพบว่า โดยเฉลี่ยเด็กนักเรียนอินโดนีเซียเรียนหนังสือที่บ้าน เพียงแค่ 2.2 – 2.7 ชั่วโมงต่อวัน

อินโดนีเซียเป็นหนึ่งในประเทศที่มีประชากรเด็กมากที่สุดในโลก ถึงปี 2578 ประชากรวัยทำงานจะมีมากถึง 64% ทำให้ประเทศได้เปรียบทางเศรษฐกิจจากธรรมชาติ แต่ก็มีความเสี่ยงที่ประชากรไม่มีการศึกษาเพียงพอ เป็นทัพแรงงานทักษะสูงที่จะขับเคลื่อนประเทศขึ้นสู่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่สุด1 ใน 5 ของโลก ตามแผนของประธานาธิบดีวิโดโด

การศึกษาวิจัยของธนาคารโลกในปี 2563 พบว่า อินโดนีเซียใช้จ่ายเงินทางด้านการศึกษามากขึ้นกว่าสองเท่า ในระยะ 20ปี ก่อนหน้านั้น และแม้จะมีจำนวนเด็กนักเรียนระดับมัธยมศึกษามากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ผลคะแนนเฉลี่ยปิซาของประเทศแทบไม่ดีขึ้น ในช่วงเวลาดังกล่าว

รายงานผลการสำรวจของธนาคารโลกในปี 2562 พบว่าโครงการพัฒนาทักษะ ทำให้เงินเดือนครูอินโดนีเซียเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากเมื่อกว่า10 ปีก่อน แต่ไม่มีผลกระทบทางบวกโดยสิ้นเชิง ต่อผลการเรียนของเด็กนักเรียนและเกือบ 25% ของครูทั้งหมดยังขาดสอนเป็นประจำ.

เลนซ์ซูม

เครดิตภาพ : GETTY IMAGES