ซึ่งมักจะพบเห็นข่าวจากสื่อมวลชนทั่วไป เช่น การบริโภคดีงู อุ้งตีนหมี หรือแม้แต่เนื้อสุนัขมาปรุงเป็นอาหาร ซึ่งมีการร้องเรียนจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศอยู่เสมอ ข่าวเหล่านี้ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ไปทั่วโลกถึงสถานการณ์การทารุณกรรมสัตว์ในประเทศไทย จนทำให้นานาอารยประเทศถือเป็นข้ออ้างในการกีดกันทางการค้าระหว่างประเทศ เช่น กรณีลิงเก็บมะพร้าว แต่จากข้อกล่าวหาเหตุการณ์เหล่านี้คงต้องใช้ระยะเวลาพิสูจน์และแสดงให้ประจักษ์ว่าคนไทยนั้นไม่ได้เป็นเช่นนั้น แต่อาจมีพฤติกรรมละเลย ไม่ตั้งใจ หรือในอดีตไม่มีกฎหมายเฉพาะเจาะจงเพื่อใช้บังคับเป็นแนวให้ปฏิบัติ

ดร.สาธิต ปรัชญาอริยะกุล เลขาธิการและผู้อำนวยการสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศ ไทย (TSPCA) กล่าวว่า จากเหตุผลข้างต้นดังกล่าว ทำให้มีกลุ่มบุคคลที่มีความรักและเมตตาต่อสัตว์ เกิดความตั้งใจจริง ในอันที่จะหามาตรการยับยั้งป้องกันการทารุณกรรมสัตว์เหล่านั้น จึงได้ร่วมกันก่อตั้งสมาคมป้องกันการทารุณสัตว์แห่งประเทศไทย หรือ TSPCA (Thai Society for the Prevention of Cruelty to Animals) ขึ้นและได้รับการจดทะเบียนจัดตั้ง เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2537 โดยมีนายมีชัย วีระไวทยะ เป็นนายกสมาคมฯ คนแรก และมีนายธีระพงศ์ ปังศรีวงศ์ เป็นนายกสมาคมฯ คนปัจจุบันและผู้อุปถัมภ์หลัก ซึ่งมีอุปนายก เช่น รศ.ดร.วรากรณ์ สามโกเศศ ดร.เดวิด ไลแมน รศ.นสพ.ปานเทพ รัตนากร รศ.นุชทิพย์ บรรจงศิลป์ และมีคณะกรรมการ เช่น ดร.นสพ.อลงกรณ์ มหรรณพ ศ.สพญ.ดร.อัจฉริยา ไศละสูต นสพ.ภัทรพล มณีอ่อน รศ.นสพ.ดร.ศิวะพงษ์ สังข์ประดิษฐ์ ดร.พลเดช วรฉัตร นายสวรรค์ แสงบัลลังค์ นายอมร ชุมศรี นายเจษฎา อนุจารี ว่าที่ ร.ต.สุรพล ดวงแข นสพ.ยันต์ สุขวงศ์ นายนวิน นวลมณี และนางปัทมา สารีบุตร และมีที่ปรึกษา เช่น นางสาวฌาร์ม โอสถานนท์ นางพรอัปสร นิลจินดา นางลัลน์ลลิตฤดี วิเศษศิริ นางสาวมาลินี แย้มวจี เป็นต้น ตลอด 30 ปี TSPCA ยังคงมุ่งมั่น ทุ่มเทแก้ไขปัญหาการทารุณกรรมสัตว์และการพัฒนาการจัดสวัสดิภาพสัตว์ ผ่านช่องทางกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การผลักดันพระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 TSPCA เป็นผู้นำภาคประชาชนในการผลักดันพระราชบัญญัติร่วมกับองค์กรเครือข่ายและประชาชนผู้รักสัตว์ และผู้รวบรวมรายชื่อของประชาชนจำนวน 12000 รายชื่อ ยื่นต่อประธานรัฐสภาเมื่อวันที่ 5 เมษายน 2555 ซึ่งเป็นร่างพระราชบัญญัติภาคประชาชนเพียงร่างเดียวที่ผ่านสภา

ด้าน รศ.นสพ.ปานเทพ รัตนากร อดีตคณบดีคณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้แสดงความคิดเห็นว่า “สำหรับโครงการส่งเสริมและคุ้มครองสวัสดิภาพสัตว์ โดยการออกเป็นกฎหมายขึ้นมานั้น เป็นสิ่งที่ TSPCA ได้เริ่มและดำเนินการตั้งแต่การก่อตั้งสมาคมฯ ซึ่งเป็นองค์กรพัฒนาเอกชนแห่งแรกของประเทศไทย โดยได้เล็งเห็นว่าการที่เกิดปัญหาการทรมานสัตว์ทั้งหลายในบ้านเรานั้นเป็นผลมาจากการที่ขาดความรู้ความเข้าใจและความตระหนักของประชาชน ตลอดจนเยาวชนถึงเรื่องของสวัสดิภาพสัตว์อันเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะถ้าประชาชนและเยาวชนตลอดจนถึงคนในชาติได้มีความรู้ความเข้าใจและตระหนัก ตลอดจนลงมือกระทำในเรื่องของสวัสดิภาพสัตว์แล้ว การแก้ปัญหาเรื่องของการทรมานสัตว์ จะเป็นไปได้ง่ายยิ่งขึ้น

ด้านการสร้างจิตสำนึก TSPCA ได้รณรงค์สร้างจิตสำนึกเพื่อให้เด็กและเยาวชนของชาติมีองค์ความรู้และทัศนคติที่ดี มีเมตตาและรักสัตว์อย่างรับผิดชอบ ผ่านกิจกรรม เช่น โครงการประกวดหนังสือเสริมประสบการณ์เกี่ยวกับการส่งเสริมสวัสดิภาพและป้องกันการทารุณสัตว์ ประเภทร้อยแก้วและร้อยกรอง โครงการมอบรางวัลยกย่องเชิดชูเกียรติ ด้านการทำคุณประโยชน์ โครงการลูกเสือสวัสดิภาพสัตว์ ได้เริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา TSPCA ได้เล็งเห็นประโยชน์และหลักการสำคัญของกระบวนการลูกเสือที่มุ่งหวังให้เด็กและเยาวชนได้รับการฝึกอบรมให้มีความเมตตากรุณาต่อสัตว์ ภายใต้กฎลูกเสือข้อ 6 “ลูกเสือมีความเมตตากรุณาต่อสัตว์”.