ทุกวันนี้เหล่า “มนุษย์เงินเดือน” หลายคนที่ทำงานนั่งโต๊ะติดกันเป็นเวลานาน ๆ มักจะมีอาการปวดต้นคอ ชนิดที่ว่าคล้ายกับโดนเข็มทิ่มเข้าไปในกล้ามเนื้อหรือข้อต่อกระดูกลามไปจนถึงปวดหลัง ปวดเอว โดยเฉพาะช่วงโควิดที่จะมีการทำงานที่บ้านหรือ Work From Home (WFH) คนจำ นวนมากจึงต้องใช้เวลาอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ค่อนข้างนานมาก และนำ มาสู่การเป็นโรค office syndrome (ออฟฟิศ ซินโดรม) หากปล่อยเรื้อรังจะส่งผลให้เกิดความลำบากในการใช้ชีวิตตามมา

“นพ.สิทธิพงษ์ สุทธิอุดม” ศัลยแพทย์ระบบประสาทหัวหน้าศูนย์กระดูกสันหลัง โรงพยาบาลนครธน เปิดเผยว่า “จากสถิติในปัจจุบัน พบผู้ป่วยโรคกระดูกสันหลังมากขึ้น แบ่งเป็นสองช่วงอายุ คือ วัยทำงานออฟฟิศ อายุ 30-50 ปี และสูงอายุ 60 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะ วัยทำงานเป็นโรคกระดูกสันหลังมากขึ้น ซึ่งการ WFH มีโอกาสเป็นโรคกระดูกสันหลังเท่ากับคนไข้ที่ยกของหนัก

ทั้งนี้ การปวดหลัง อาจเกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ กล้ามเนื้อ, เส้นเอ็น, หมอนรองกระดูกสันหลัง หรือกระดูกสันหลัง แต่สัญญาณเตือนสำคัญที่บ่งบอกว่าควรต้องไปพบและปรึกษาแพทย์ คือ

  1. ปวดหลังและหรือปวดร้าวลงขาจนไม่สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติ เช่น ลุกยืน นั่ง หรือเดิน และปวดมากขึ้นเมื่อขยับยืนหรือเดิน
  2. ปวดร้าวตามเส้นประสาทจากหลังลงไปถึงขา โดยการปวดอาจมีลักษณะคล้ายไฟฟ้าช็อต
  3. มีอาการชา และหรืออ่อนแรงแขนหรือขาร่วมด้วย
  4. กลั้นปัสสาวะหรืออุจจาระไม่อยู่ร่วมกับอาการปวดหลัง
  5. ปวดตามแนวกระดูกกลางหลัง ที่ไม่ได้ปวดเยื้องไปด้านซ้ายหรือขวา
  6. ปวดต่อเนื่องนานเกิน 4 สัปดาห์
  7. ปวดหลังและหรือร้าวลงขา ลักษณะปวดแบบเฉียบพลัน ที่ไม่ได้เกิดจากการยกของหนัก ออกกำลังกาย หรือขยับตัวผิดท่า หรืออุบัติเหตุ

“ข้อมูลองค์การอนามัยโลกพบว่า ปี 2563 มีผู้ป่วยกระดูกและข้อเพิ่มขึ้นจาก 400 ล้านคน เป็น 570 ล้านคน ส่วนสถิติผู้ป่วยโรคกระดูกและข้อในคนไทยปี 2563 พบกว่า 6 ล้านคน ที่เสื่อมมากที่สุด คือ ข้อเข่าเนื่องจากข้อเข่าเป็นข้อที่มีขนาดใหญ่และต้องรับนํ้าหนักของร่างกายโดยตรง ทั้งยังต้องทำ หน้าที่เคลื่อนไหวเกือบตลอดเวลา ทำให้ข้อเสื่อมได้ง่าย”

“นพ.สิทธิพงษ์” ระบุถึงแนวทางการรักษาว่า มีหลายวิธี ตั้งแต่วิธีการกินยา และกายภาพ ซึ่งผู้ป่วย 70% สามารถรักษาให้หายได้เอง อีก 15-20% จะรักษาด้วยวิธีฉีดสเตียรอยด์เข้าโพรงประสาทรอบ ๆ เส้นประสาทให้หายจากการอักเสบหรือฉีดยาเข้าไปในข้อต่อเพื่อลดอาการอักเสบนอกจากนี้ ยังมีการรักษาโดยใช้คลื่นวิทยุความถี่สูงจี้เส้นประสาทเล็ก ๆ ที่เลี้ยงข้อต่อเพื่อให้อาการปวดลดลง

ส่วนที่จำ เป็นต้องผ่าตัดมีราว 10% โดยมีข้อบ่งชี้คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรง แขนขาชาไม่มีความรู้สึก หรือคนไข้ที่รักษาด้วยยาและกายภาพเป็นเวลา 3 เดือนแล้วยังไม่หายสนิท หากไม่รักษาจะส่งผลเสียกับอวัยวะส่วนอื่นได้ จะเกิดอาการปวดหรือเกิดความพิการ ส่งผลกับการอุจจาระ ปัสสาวะตามปกติด้วย จึงต้องเข้ารักษาด้วยการผ่าตัด

อย่างไรก็ตามโรคนี้สามารถป้องกันได้ โดย “นพ.สิทธิพงษ์” แนะนำว่า วิธีป้องกันแยกตามสาเหตุซึ่งหากเกิดจากการนั่งทำ งานเป็นเวลานาน ก้มหน้าดูมือถือนาน ๆ หรือการออกกำลังกายที่มีการกระแทก คำแนะนำของแพทย์คือให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อย ๆ การจัดการท่านั่งที่ถูกต้องก็จะช่วยลดปัญหาเกิดโรคกระดูกสันหลังได้แล้ว แต่การจะวินิจฉัยโรค ควรใช้ศูนย์ที่มีอุปกรณ์ เช่น เครื่อง MRI ตรวจคลื่นประสาทสิ่งที่สำคัญคือแพทย์ต้องเชี่ยวชาญ ประเมินให้คำ แนะนำ กับคนไข้ได้ถูกต้อง ซึ่งการผ่าตัดจะเป็นคำ แนะนำ สุดท้าย และต้องจบครบในครั้งเดียว

เรื่องสุขภาพ “หลัง” เป็นเรื่องละเอียดอ่อนมาก เพราะมีส่วนประกอบทั้งกล้ามเนื้อเส้นประสาท กระดูกสันหลังที่ต่างก็สัมพันธ์กันทั้งหมด การรักษาจึงต้องทำไม่ใช่เพียงแค่ให้หาย แต่ต้องลดโอกาสที่จะกลับมาเป็นซํ้า โดยในปัจจุบันโรงพยาบาลแต่ละแห่งให้ความสำคัญกับการรักษาโรคกระดูกจากอาการออฟฟิศซินโดรมมากขึ้นอย่างโรงพยาบาลนครธน ร่วมมือกับโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ นำองค์ความรู้ทางการแพทย์มาจัดตั้งศูนย์กระดูกสันหลังที่โรงพยาบาลนครธน มีการนำ เทคโนโลยีเข้ามาเสริมการรักษา เช่น การผ่าตัดผ่านกล้องเอนโดสโคป (Endoscope)ทำให้มีแผลขนาดเล็กเพียง 8 มิลลิเมตร และพยายามทำให้ราคาอยู่ในระดับที่เข้าถึงไม่ยาก

อย่างไรก็ตาม “การไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ” ดังนั้นการป้องกันไว้ก่อนเป็นเรื่องดี โดยเฉพาะในคนวัยทำงานที่ร่างกายแข็งแรง ขอให้ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงด้วยการออกกำ ลังกาย ยืดเส้น ยืดสายเพิ่มขึ้น ลดเวลาการก้มหน้าก้มตามองโทรศัพท์ เพื่อป้องกันปัญหาออฟฟิศซินโดรม ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพระยะยาว การป้องกันทำง่ายกว่าการรักษา

คอลัมน์ : คุณหมอขอบอก

เขียนโดย : อภิวรรณ เสาเวียง