เมื่อวันที่ 3 ม.ค. ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร สรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 3 ม.ค. 2567 เวลา 05.00-07.00 น. ตรวจวัดได้ 22.0-55.8 มคก./ลบ.ม. ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 32.7 มคก./ลบ.ม.

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 22-55.8 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 15 พื้นที่ คือ

1. เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 55.8 มคก./ลบ.ม.
2. เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 47.2 มคก./ลบ.ม.
3. เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 45.0 มคก./ลบ.ม.
4. สวนทวีวนารมย์ เขตทวีวัฒนา เขตทวีวัฒนา : มีค่าเท่ากับ 45.0 มคก./ลบ.ม.
5. เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 43.9 มคก./ลบ.ม.
6. เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 42.7 มคก./ลบ.ม.
7. เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 41.8 มคก./ลบ.ม.
8. เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม (ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 41.3 มคก./ลบ.ม.
9. เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 41.2 มคก./ลบ.ม.
10. เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 40.9 มคก./ลบ.ม.
11. เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 40.8 มคก./ลบ.ม.
12. เขตตลิ่งชัน ถนนพุทธมณฑลสาย 1 ตัดกับถนนบรมราชชนนี : มีค่าเท่ากับ 39.7 มคก./ลบ.ม.
13. เขตบางขุนเทียน ภายในสำนักงานเขตบางขุนเทียน : มีค่าเท่ากับ 39.2 มคก./ลบ.ม.
14. เขตบางแค ภายในสำนักงานเขตบางแค : มีค่าเท่ากับ 38.9 มคก./ลบ.ม.
15. เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ

ข้อแนะนำสุขภาพ:
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

▪️ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา
▪️ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์

ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง (คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่น PM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
ในช่วงวันที่ 3-11 ม.ค. 67 การระบายอากาศไม่ดีถึงอ่อน (ยกเว้น 11 ม.ค. 67 ดี) ประกอบกับเกิดสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้เกิดการสะสมของฝุ่นละอองเนื่องจากการระบายอากาศเป็นไปอย่างจำกัด