ทุกวันนี้เรารู้หรือไม่? กิจกรรมที่ทุกวันทำเกี่ยวกับเรื่อง “ดิจิทัล” ไม่ว่าจะเป็น การส่งอีเมล์  การใช้สมาร์ทโฟน ถ่านคลิป-ถ่ายรูป  การใช้งานคลาว์ด ดาต้าเซ็นเตอร์ ไปจนกระทั่ง การใช้งาน Generative AI หรือ เจนเอไอ ที่กำลังเป็นกระแสมาแรง ล้วนแล้วแต่มีผล ทำให้เกิด “ Digital Pollution” หรือ มลพิษทางดิจิทัล

มลพิษทางดิจิทัล คืออะไร?  อธิบายง่ายๆ ก็คือ มลพิษที่เกิดจากอุปกรณ์ดิจิทัล หรือ กิจกรรมบนโลกออนไลน์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตชิ้นส่วนเทคโนโลยี ตการใช้งานดิจิทัล ทำกิจกรรมบนโลกออนไลน์ ไม่ว่าจะเป็นการการดูหนัง ฟังเพลง สตรีมมิ่งออนไลน์ การเก็บข้อมูลที่เกินความจำเป็น

รวมถึงขั้นตอนการทำลาย การจัดการ หลังเลิกใช้งานเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ที่ไม่ถูกต้อง จนเป็น ขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-waste) ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนมีการใช้พลังงานและทรัพยากรอย่างมหาศาลและสิ้นเปลือง!!

โดยในงานเสวนาเวที ETDA LIVE ซีรีส์ DIGITRIBE EP: 3 “Digital Pollution เมื่อโลกเสมือนกำลังกัดกินโลกจริง” จัดโดย สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือ เอ็ตด้า ซึ่งมี “อัซมานี เจ๊ะสือแม” ตัวแทนเยาวชนจากโครงการ พัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) ตัวแทนเยาวชนที่เข้าร่วมประชุมสมัชชาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมระดับโลก หรือ COP28  “พีรพล  เหมศิริรัตน์” ผู้ร่วมก่อตั้ง Facebook Fanpage ‘Environman’ สื่อพลังบวกด้านสิ่งแวดล้อม  รศ.ดร. ชัยรัตน์ ตรีทรัพย์สุนทร นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านปัญหาและการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย พระจอมเกล้าธนบุรี และ “ลัลณ์ลลิน เตจะสาเวศซ์” นักแสดงและอินฟลูเอนเซอร์ที่สนใจประเด็นเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม มาร่วมพูดคุย โดยมีประเด็น ที่น่าสนใจเกี่ยวกับเรื่อง Digital Pollution

โดยทุกครั้งที่เราใช้หรือทำกิจกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์ล้วนก่อให้เกิด Digital Pollution  หากเราคลิกกดค้นหาเรื่องต่างๆบน  Google ก็สามารถสร้าง CO2 ถึง  0.2 – 1.45 กรัม หรือ หากเราพิมพ์ส่งอีเมล ก็ปล่อย CO2 แล้ว  4 – 50 กรัม ซึ่งทั่วโลกมีการส่งอีเมลถึง 347,300 ล้านฉบับต่อวัน คิดดูจะก่อให้เกิด CO2 เท่าใด?

สำหรับคนที่ชอบความบัทเทิงบนโลกออนไลน์ แค่เราชมคลิปวิดีโอบน YouTube นาน 30 นาที ก็ปล่อย CO2 ประมาณ 3 กรัม หรือดูซีรีส์บน Netflix 1 ชั่วโมง ก็ปล่อย CO2 ได้ถึง 56 – 114 กรัม

เรียกว่าทุกกิจกรรมบนโลกออนไลน์ มีราคาที่โลกแห่งความจริงต้องจ่าย!!

 เพราะทุกกิจกรรมต้องอาศัยการทำงานของเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เซิร์ฟเวอร์ ดาต้าเซ็นเตอร์  ขนาดใหญ่ ที่ผู้ให้บริการได้ก่อสร้างตั้งอยู่บนพื้นที่ต่างๆของโลก!!

ซึ่งล้วนแล้วแต่ต้องใช้พลังงานไฟฟ้าในการทำงาน ตลอด 24 ชั่วโมง และ ใช้น้ำในการลดความร้อนของ Data Center จำนวนมหาศาล

 ลองคิดดูว่า หากทุกคนบนโลกกำลังทำกิตกรรมออนไลน์ หรือใช้อุปกรณ์ดิจิทัลพร้อมๆกัน และในเวลาเดียวกัน ก็พบว่า จะสามารถ ปล่อย CO2 ได้มหาศาลถึงปีละกว่า 1.6 พันล้านตัน!!

 ซึ่งมากกว่าอุตสาหกรรมการบินทั้งหมดและเทียบเท่าประเทศที่มีการปล่อยมลพิษมากเป็นอันดับ 4 ของโลกเลยทีเดียว!?!

ทำให้ทุกวันนี้เรื่อง  Digital Pollution ถือเป็นเรื่องใหญ่ และไม่ใช่เรื่องไกลตัว ในแต่ลำวันทุกคนล้วนสร้าง Digital Pollution ให้กับโลกใบนี้ ซึ่งปัญหาสำคัญก็คือ คนส่วนใหญ่ยังไม่รู้? ตนเองมีส่วนในเรื่องนี้ เพราะ “รากฐานของ Digital Pollution เกิดจากความไม่รู้”  ทำให้สิ่งสำคัญที่จะช่วยลดปัญหาในเรื่องนี้ คือ การให้ความรู้กับประชาชนทุกคน ทุกกลุ่ม จึงเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก!!

นอกจากนี้ในวงเสวนา ยังได้หยิบยก การแก้ปัญหาที่อาศัยธรรมชาติเป็นพื้นฐาน หรือ Nature-based Solutions (NbS) ซึ่งครอบคลุมตั้งแต่การอนุรักษ์ การบริหารจัดการและการฟื้นฟูธรรมชาติ ระบบนิเวศ และความหลากหลาย ทางชีวภาพที่ถูกทำลายให้กลับคืนมาควบคู่ไปกับการทำให้ “โลกนี้ไม่มีขยะ”

 โดยเฉพาะในส่วนของ “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน” (Circular Economy) ที่มุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า ตั้งแต่การออกแบบไปจนถึงกระบวนการผลิตที่ต้องสร้างของเสียให้น้อยที่สุด!!

และส่งเสริมการใช้วัสดุทางเลือก ทำให้เกิดการใช้ซ้ำ  พร้อมให้ความสำคัญกับการจัดการขยะหรือ ของเสียอย่างถูกวิธี  มีการหมุนเวียนหรือนำกลับมาใช้ใหม่ จะช่วยลดขยะจนเกิด “Zero Waste”

หลายๆคนอาจจะสงสัยว่า เมื่อโลก “Go Digital” เกือบทุกสิ่งทุกอย่างล้วนเปลี่ยนไปเป็นดิจิทัลกันหมด  ไม่เว้นแม้แต่ “เงิน” ยังเป็น “ดิจิทัล”  ทุกคนคงไม่สามารถหยุดกิจกรรม หรือเลิกใช้ไม่ได้? แล้วจะทำอย่างไร?

วงเสวนาเห็นตรงกันว่า เมื่อเลิกใช้ไม่ได้ แต่ ทุกคนสามารถ  ลด ละ เลี่ยง เพื่อสร้างผลกระทบให้น้อยที่สุดได้ ตัวอย่างเช่น การใช้อุปกรณ์ไอที ให้นานมากขึ้น  โดย สมาร์ทโฟน ไม่จำเป็นต้องตามกระแสเปลี่ยนทุกปี เมื่อรุ่นใหม่ๆออกมา  ถ้าเครื่องเก่ายังใช้งานได้ หากถึงเวลาต้องเปลี่ยนก็เลือกอุปกรณ์ที่ผลิตโดยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

และควร ลดกิจกรรมบนโลกออนไลน์ลงอีกหน่อยใช้เท่าที่จำเป็น เช่น ส่งอีเมลให้น้อยลง เปิดอ่านให้มากขึ้น เก็บข้อมูลในคลาวด์เท่าที่จำเป็น ทำ Social Detox เป็นประจำ สิ่งเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้จะช่วยสร้าง Impact ที่ยิ่งใหญ่ให้กับโลกของเราได้ !?!

 เมื่อประชาชนตระหนัก ช่วยกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมแล้ว ในส่วนของภาครัฐ ก็ต้องมันโยบายที่ส่งเสิม และสนุนสนุนด้วย ไม่ว่าจะเป็นจัดทำนโยบาย ให้ความสำคัญกับปัญหาสิ่งแวดล้อม จัดสรรงบประมาณ อย่างเหมาะสมเพื่อช่วยแก้ปัญหา!!

ขณะที่ในส่วนของภาคเอกชน ก็ต้องหมั่นดูแลรักษาและปรับปรุงระบบ IT และ Data Center ให้ใช้พลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ เลือกใช้ซอฟต์แวร์และอุปกรณ์ดิจิทัลที่ประหยัดพลังงานและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ลดการปล่อยขยะอิเล็กทรอนิกส์ ทำลายขยะอย่างถูกวิธี เลือกใช้พลังงานทางเลือก รวมถึงปลูกฝังพนักงานในองค์กร ให้ตระหนัก ถึงความสำคัญของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ถึงเวลาแล้วที่ทุกคนต้องหันมาร่วมมือกันตั้งแต่ตอนนี้ ให้เกิดกระแสช่วยกันทั่วโลก แม้ปัญหาจะไม่หมดไป ในทันที แต่ก็ช่วยให้โลกนี้มี “มลพิษทางดิจิทัล”ลดน้อยลงได้อย่างแน่นอน!?!

จิราวัฒน์ จารุพันธ์