นักวิจัย 11 กลุ่ม จากกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อม (MEE) กําลังวิจัยสภาพทางนิเวศวิทยาของแม่น้ำแยงซี  แม่น้ำที่ยาวที่สุดในจีน โดยเก็บตัวอย่างใน 16 มณฑล ที่อยู่ในลุ่มแม่น้ำแยงซี ระหว่างเดือนเมษายนถึงมิถุนายนปีนี้

นักวิจัยเก็บตัวอย่างสิ่งมีชีวิตในทะเลสาบโปหยาง (Poyang) ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุด ที่เชื่อมต่อแม่น้ำแยงซี ตอนกลางและตอนล่าง บริเวณนี้เป็นพื้นที่ที่รวมความหลากหลายทางชีวภาพ เป็นแหล่งวางไข่และแหล่งที่อยู่อาศัยของปลาหายากหลายชนิด เช่น โลมาไร้ครีบ เป็นต้น

Hu Sheng วิศวกรอาวุโส สํานักกํากับดูแลและบริหารระบบนิเวศ ลุ่มแม่น้ำแยงซีกล่าวว่า การศึกษาจําเป็นต้องตรวจสอบคุณภาพน้ำขั้นพื้นฐาน แพลงก์ตอนพืช แพลงก์ตอนสัตว์ และสิ่งมีชีวิตหน้าดิน โดยเก็บตัวอย่างจากด้านล่าง ตรงกลาง และพื้นผิว เพื่อศึกษาถึงการกระจายตัวของสิ่งมีชีวิต 

โลมาไร้ครีบในแม่น้ำแยงซี

จากการสำรวจ พบว่า ปัจจุบันจำนวนโลมาไร้ครีบในแม่น้ำแยงซีมีจํานวนถึง 1,249 ตัว มากที่สุดเป็นประวัติการณ์ Zhang Jing วิศวกรอาวุโส สํานักกํากับดูแลและบริหารระบบนิเวศ ลุ่มแม่น้ำแยงซีกล่าวว่า โลมาไร้ครีบเป็นสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์หลักในแม่น้ำแยงซี ที่อยู่ด้านบนของห่วงโซ่อาหาร เมื่อมีอาหารมากขึ้น โลมาก็จะเพิ่มขึ้นเช่นกัน

การศึกษาระบบนิเวศของแม่น้ำแยงซีมีระยะเวลา 3 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2567 Xu Chong หัวหน้าสํานักกํากับดูแลและบริหารระบบนิเวศ ลุ่มแม่น้ำแยงซีกล่าวว่า ขั้นตอนต่อไปคือ การวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินระบบนิเวศของแม่น้ำแยงซีต่อไป 

เครดิต China Media Group (CMG)