“คดีจำนำข้าว” ในสมัยรัฐบาล “ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร” กลายเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากสังคมอย่างกว้างขวาง เนื่องจากเป็นโครงการที่มีมูลค่ามหาศาล และส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศวงกว้าง หลายคนติดตามเพราะต้องการรู้ว่าการบริหารจัดการเงินภาษีของประชาชนเป็นไปอย่างโปร่งใสหรือไม่

ขณะที่อีกส่วนหนึ่งมองว่าคดีนี้มีนัยทางการเมืองและอาจสะท้อนการใช้อำนาจของรัฐ จึงไม่ได้เป็นแค่เรื่องของนโยบายด้านการเกษตรเท่านั้น แต่ยังเชื่อมโยงกับความยุติธรรม ความรับผิดชอบ และความขัดแย้งทางการเมืองที่ยังคุกรุ่นในสังคมไทยจนถึงทุกวันนี้ โดยทีมข่าวเดลินิวส์ออนไลน์ จะพาย้อนคดีจำนำข้าวสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ก่อนถูกศาลปกครองสูงสุด พิจารณาให้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในโครงการกว่า 10,028 ล้านบาท

คดีจำนำข้าว
– 3 กรกฎาคม 2554 พรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้ง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศไทย
– 23 สิงหาคม 2554 รัฐบาลประกาศนโยบายต่อรัฐสภา ดำเนินโครงการรับจำนำข้าวเปลือกทุกเมล็ด ในราคาตันละ 15,000-20,000 บาท ตามนโยบายหาเสียง
– 7 ตุลาคม 2554 เริ่มต้นโครงการรับจำนำข้าวฤดูกาลแรกปีการผลิต 2554/2555

– 15 ตุลาคม 2555 โดนยื่น ป.ป.ช. ให้ตรวจสอบโครงการรับจำนำข้าว
– 28 มกราคม 2557 ป.ป.ช. ตั้งคณะกรรมการชุดใหญ่ไต่สวน และใช้เวลา 21 วัน ในการแจ้งข้อโต้แย้ง
– 8 พฤษภาคม 2557 ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ส่งเรื่องให้ สว. ดำเนินการถอดถอน

– 22 พฤษภาคม 2557 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ทำรัฐประหาร
– 17 กรกฎาคม 2557 ป.ป.ช. มีมติเอกฉันท์ชี้มูล น.ส.ยิ่งลักษณ์ คดีจำนำข้าวในคดีอาญา
– 12 กุมภาพันธ์ 2558 ป.ป.ช. ทำหนังสือถึงกระทรวงการคลัง ให้เรียกค่าความถูกต้องตามปกติรับจำนำข้าว

– 19 กุมภาพันธ์ 2558 อัยการสูงสุดยื่นฟ้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ต่อศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ฐานละเว้นปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
– 13 ตุลาคม 2559 รมว.คลัง เซ็นคำสั่งทางปกครองให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชดใช้ค่าเสียหาย
– 23 พฤศจิกายน 2559 น.ส.ยิ่งลักษณ์ ยื่นฟ้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เรียกค่าเสียหาย 100 ล้านบาท กรณีตั้ง คกก.ตรวจสอบความรับผิดทางละเมิด
– 26 มกราคม 2560 ศาลปกครองกลางรับฟ้องคดีที่ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งชดใช้ค่าเสียหาย ต่อมาศาลมีคำสั่งไม่ทุเลาบังคับคดี

– 25 สิงหาคม 2560 ศาลฎีกา พิพากษาลงโทษ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เป็นเวลา 5 ปี โดยไม่รอลงอาญา
– 22 พฤษภาคม 2568 ศาลปกครองสูงสุดพิจารณาแล้ว ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในโครงการดังกล่าว เป็นเงิน 10,028 ล้านบาท เพราะประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง เนื่องจากไม่ได้มีการดำเนินการตามข้อทักท้วงของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ…