ทั้งนี้ เมื่อดูข้อมูลจากกรมควบคุมโรค ร่วมกับข้อมูลของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จะพบว่า ทางซีกโลกเหนือจะระบาดมากในช่วงฤดูหนาว ส่วนซีกโลกใต้ระบาดมากในฤดูฝน ส่วนใหญ่จะเป็นสายพันธุ์ A(H3N2) สัดส่วน 95.08% สายพันธุ์ A(H1N1) สัดส่วน 56.94% และสายพันธุ์ B 100%

ส่วนสถานการณ์ประเทศไทย มักจะระบาดในฤดูฝน ซึ่งปีนี้มีแนวโน้มผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ตั้งแต่วันที่ 1 ..-28 .. 2566 มีรายงานผู้ป่วย 355,936 ราย เสียชีวิต 21 ราย โดยเกิดจากสายพันธุ์ A (H3N2) สัดส่วน 66.42% สายพันธุ์ B (Victoria) 19.32% และสายพันธุ์ A/H1 N1 มีสัดส่วน 14.26%

นพ.ยงยศ ธรรมวุฒิ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ บอกว่า จากข้อมูลการวิเคราะห์สายพันธุ์ของเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทยของศูนย์ไข้หวัดใหญ่แห่งชาติ กรมวิทยา ศาสตร์การแพทย์ ด้วยการประยุกต์ใช้เทคนิค Whole genome sequencing (WGS) วิเคราะห์ลำดับพันธุ กรรมทั้งจีโนม และประเมินความสอด คล้องกับสายพันธุ์วัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ที่กระทรวงสาธารณสุขฉีดให้กับประชาชน พบว่า สายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่ตรวจพบในประเทศไทยมีความสอด คล้องกับสายพันธุ์วัคซีนที่ฉีดและสามารถป้องกันไข้หวัดใหญ่ได้

ดังนั้น ที่ประชุมคัดเลือกสายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ เพื่อนำไปใช้ผลิตวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2567 สำหรับประเทศทางซีกโลกใต้ เมื่อเร็วๆ นี้ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญจากองค์การอนามัยโลก สมาชิกห้องปฏิบัติการเครือข่ายทั่วโลก และบริษัทผู้ผลิตวัคซีนได้ คัดเลือกสายพันธุ์เชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ 3 สายพันธุ์ เพื่อนำไปผลิตเป็นวัคซีนป้องกันโรคต่อไป โดย 1 ใน 3 สายพันธุ์ เป็นเชื้อที่แยกได้จากระบบเฝ้าระวังเฉพาะพื้นที่ของประเทศไทย

“จากการที่สายพันธุ์ไข้หวัดใหญ่ที่ตรวจพบในประเทศไทย ได้รับคัดเลือกให้เป็นองค์ประกอบในวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ ประจำปี 2567 สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือและบทบาทที่เข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุขไทย ที่มีต่อความมั่นคงทางสุขภาพของประชากรโลกอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถควบคุมการแพร่ระบาดและลดอัตราการป่วย การเสียชีวิตของประชากรไทยและประชากรโลก.

อภิวรรณ เสาเวียง