“ผ้าเบรก” อีกหนึ่งอุปกรณ์สำคัญของรถยนต์ที่พึงใส่ใจ แต่อันที่จริงแล้วผ้าเบรกมีไว้เพื่ออะไร? การเลือกใช้ผ้าเบรกควรเป็นอย่างไร วันนี้ “รู้ก่อนเหยียบ” มีข้อมูลมาฝากกันครับ

“ผ้าเบรก” เป็นอุปกรณ์สร้างแรงเสียดทาน โดยการกดเข้ากับดิสก์ หรือ ดรัมเบรก เดิมทีผ้าเบรกจะมีส่วนผสมที่สำคัญคือ “แร่ใยหินแอสเบสตอส” เนื่องจากมันมีราคาถูกเมื่อเบรกจะเป็นผงสีขาวไม่รู้สึกสกปรกที่กระทะล้อ และเสียงก็ยังเงียบ แต่ข้อเสียคือผงฝุ่นสีขาวดังกล่าวสามารถเข้าไปฝังตัวร่างกายมนุษย์และก่อให้เกิดมะเร็งในปอด ซ้ำยังเป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม แถมยังทนความร้อนต่ำ จนเกิดอาการเบรกเฟดหรือลื่นเมื่อใช้งานหนัก ด้วยเหตุผลดังกล่าวในหลายประเทศจึงมีกฎหมายห้ามผลิต-นำเข้า-ใช้ ผ้าเบรกที่มีส่วนผสมของ “แร่ใยหินแอสเบสตอส” แต่ในประเทศไทยเรายังไม่มีการห้าม ต่อมาจึงมีการพัฒนาผ้าเบรกอีกชนิดที่มีส่วนผสมของ แกรไฟต์และคาร์บอน โดยเมื่อเบรกจะมีผงสีน้ำตาล-ดำ มีคุณสมบัติทำงานได้ดีในความร้อนสูง

ผ้าเบรกที่ใช้กันบนโลกใบนี้มีด้วยกันอยู่ 5 กลุ่ม
1.ASBESTOS เป็นผ้าเบรกยุคเก่าที่ใช้แร่ใยหินเป็นองค์ประกอบหลัก เนื่องจากมีราคาถูก และให้แรงเสียดทานได้ดีที่อุณหภูมิต่ำๆ แต่มีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจต่อสิ่งมีชีวิต

2.NAO (NON ASBESTOS ORGANIC) เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยสังเคราะห์ที่ไม่ใช่โลหะ ลักษณะเด่นคือน้ำหนักเบา ง่ายต่อการควบคุมไม่ให้เกิดฝุ่นหรือเสียง และให้แรงเสียดทานสูง แต่จะมีข้อจำกัดที่ส่วนมากจะต้องการส่วนผสมหลายชนิด การทนอุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากๆ ไม่ค่อยดี คายความร้อนได้ยาก และที่สำคัญใยสังเคราะห์ยังคงมีอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจอยู่บ้าง

3.Semi-Metallic เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ใยเหล็ก ลักษณะเด่นตรงมีความปลอดภัยสูงมากต่อระบบทางเดินหายใจ และมีความสามารถในการทนต่อการใช้งานที่อุณหภูมิสูงได้ดี แต่ยังมีข้อจำกัดในด้านการควบคุมไม่ให้เกิดเสียงดังและฝุ่น

4.Fully Metallic หรือ Metallic เป็นกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ผงเหล็กละเอียดมาขึ้นรูป ซึ่งผงเหล็กที่ใช้จะเป็นผงเหล็กพิเศษโดยจะมีคุณสมบัติของแรงเสียดทานอยู่ในตัว ในกลุ่มนี้มีลักษณะพิเศษสามารถทนต่ออุณหภูมิการใช้งานที่สูงมากได้

5.Advance Material เป็นผ้าเบรกที่ใชักลุ่มวัตถุดิบที่อยู่นอกเหนือจากที่ได้กล่าวไปแล้วโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง ที่มีคุณลักษณะพิเศษต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้ เกรดผ้าเบรก เกรดมาตรฐาน (S-Standard) ใช้กับรถยนต์ทั่วไป ส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรกนิ่มสร้างความฝืดได้ง่าย สามารถลดความเร็วได้ทันที ไม่ต้องการการอุ่นผ้าเบรก ทำงานได้ดีเฉพาะช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง สาเหตุที่รถยนต์ทั่วไปถูกกำหนดให้ใช้ผ้าเบรกเกรดนี้ เพราะส่วนใหญ่มีการใช้ความเร็วสูงนัก ซึ่งนับว่าเพียงพอในระดับหนึ่ง เกรดกลาง (M-Medium-Metal) ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของโลหะอ่อน หรือวัสดุที่สามารถสร้างแรงเสียดทานเมื่อมีความร้องสูงได้ดี มีความแข็งปานกลาง สามารถรองรับการเบรกในช่วงความเร็วปานกลาง-สูงได้ดี ทนทานต่อความร้อนสะสมในการเบรกสูงขึ้นกว่าเกรดผ้าเบรกเกรดมาตรฐาน แต่ยังคงประสิทธิภาพการใช้งานช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลางได้ดี ไม่ต้องอุ่นผ้าเบรก แต่มีราคาสูงกว่า ผ้าเบรกเกรดมาตรฐาน เกรดกึ่งแข่ง (R-Racing) เป็นผ้าเบรกเกรดพิเศษ เนื้อของผ้าเบรกมักจะมีการผสมของผงเนื้อโลหะไว้มาก การใช้งานในเมืองด้วยความเร็วต่ำจึงต้องมีการอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน ซึ่งถูกผลิตเพื่อรองรับรถยนต์สมรรถนะสูง-รถแข่ง เหมาะกับการใช้ความเร็วสูง หรือมีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรกจากการเบรกถี่ ๆ และรุนแรงจึงไม่ค่อยเหมาะกับรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป

เกรดผ้าเบรก
เกรดมาตรฐาน (S-Standard) ใช้กับรถยนต์ทั่วไป ส่วนผสมของเนื้อผ้าเบรกนิ่มสร้างความฝืดได้ง่าย สามารถลดความเร็วได้ทันที ไม่ต้องการการอุ่นผ้าเบรก ทำงานได้ดีเฉพาะช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลาง สาเหตุที่รถยนต์ทั่วไปถูกกำหนดให้ใช้ผ้าเบรกเกรดนี้ เพราะส่วนใหญ่มีการใช้ความเร็วสูงนัก ซึ่งนับว่าเพียงพอในระดับหนึ่ง

เกรดกลาง (M-Medium-Metal) ส่วนใหญ่จะมีส่วนผสมของโลหะอ่อน หรือวัสดุที่สามารถสร้างแรงเสียดทานเมื่อมีความร้องสูงได้ดี มีความแข็งปานกลาง สามารถรองรับการเบรกในช่วงความเร็วปานกลาง-สูงได้ดี ทนทานต่อความร้อนสะสมในการเบรกสูงขึ้นกว่าเกรดผ้าเบรกเกรดมาตรฐาน แต่ยังคงประสิทธิภาพการใช้งานช่วงความเร็วต่ำ-ปานกลางได้ดี ไม่ต้องอุ่นผ้าเบรก แต่มีราคาสูงกว่า ผ้าเบรกเกรดมาตรฐาน

เกรดกึ่งแข่ง (R-Racing) เป็นผ้าเบรกเกรดพิเศษ เนื้อของผ้าเบรกมักจะมีการผสมของผงเนื้อโลหะไว้มาก การใช้งานในเมืองด้วยความเร็วต่ำจึงต้องมีการอุ่นผ้าเบรกให้ร้อนก่อน ซึ่งถูกผลิตเพื่อรองรับรถยนต์สมรรถนะสูง-รถแข่ง เหมาะกับการใช้ความเร็วสูง หรือมีความร้อนสะสมที่ผ้าเบรกจากการเบรกถี่ ๆ และรุนแรงจึงไม่ค่อยเหมาะกับรถยนต์ที่ใช้งานทั่วไป

การเลือกใช้ผ้าเบรก
ในรถยนต์ทั่วไปแนะนำให้เลือกใช้ เกรดมาตรฐาน หรือ เกรดกลาง ที่มีขายอยู่สารพัดยี่ห้อ โดยเลือกให้เหมาะสมกับการขับขี่ของตัวเองและที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงผ้าเบรกที่ส่วนผสมของ “แร่ใยหินแอสเบสตอส” ที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมและระบบทางเดินหายใจของสิ่งมีชีวิต

เทคนิคที่ต้องรู้
ทุกครั้งหลังจากเปลี่ยนผ้าเบรกใหม่ ไม่ว่าท่านจะเจียจานเบรกหรือไม่ก็ตาม ควรจะมีการ Bedding-in เบรกซะก่อน โดยการเบรกแบบนิ่มนวล 200 กิโลเมตรแรก จุดประสงค์เพื่อให้ผ้าเบรกและตัวกับจานจับได้แนบสนิทและได้ประสิทธิภาพสูงสุดตลอดอายุการใช้งานนั่นเองครับ..

…………………………….
คอลัมน์ : รู้ก่อนเหยียบ 
โดย “ช่างเอก”
ติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงที่ [email protected]