กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ที่หลายคนสนใจอย่างต่อเนื่อง สำหรับกรณีที่ เพจหมอแล็บแพนด้า ได้ออกมาโพสต์แฉดาราชายท่านหนึ่ง โดยระบุว่ามีดาราชายคนหนึ่ง ขับรถชนคนบาดเจ็บจนแขนผิดรูป ต่อมาปรากฏชื่อดาราหนุ่มคือ ขุน ชานนท์ และคู่กรณีได้มาเจรจากันผ่านรายการโหนกระแส ก่อนที่หนุ่มขุนจะขอชดใช้ค่าเสียหายและรักษาอยู่ที่ 2 หมื่นบาท ในขณะที่ค่ารักษาจริงคือสามหมื่นบาท ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ความคืบหน้าล่าสุด ทนายความชื่อดัง ทนายเกิดผล แก้วเกิด ได้โพสต์ถึงข้อกฎหมายดังกล่าวผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า “จบมาแล้วอาจจะลืม หรือ อาจจะหัวหมอ แสร้งทำลืมข้อกฎหมาย งั้นพี่ทนายจะเตือนความจำให้ ที่ขุน บอกว่า ผู้เสียหายควรได้รับเพียง 20,000 บาท เพราะ ค่ารักษาพยาบาล พ.ร.บ.รถจักรยานยนต์ ของผู้เสียหาย จ่ายไปแล้ว

แต่ขุน ลืมไปหรือเปล่า ว่า ขุนยังไม่ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้กับน้องเขาสักบาท ทั้งที่ตัวน้องเขามีหลักฐาน มีใบเสร็จมาแสดง ในรายการ โหนกระแส ที่จ่ายไป เกือบ 30,000 บาท ขุน มาขอต่อรองในรายการ เหลือ 20,000 บาท และแม่เขาก็ยอม แต่เอาตามกฎหมายแล้ว ฟังนะขุน

แม้ ค่ารักษาพยาบาล สองหมื่นกว่าบาท พ.ร.บ.รถจักยานยนต์ น้องเขาจะเป็นคนจ่ายไป แต่ตามกฎหมายเขาก็มีสิทธิเรียกค่าใช้จ่ายกับขุนในฐานะผู้ทำละเมิดได้อีกทางตามกฎหมายอยู่แล้ว จบกฎหมายต้องรู้จักกฎหมาย ใช้กฎหมายให้เป็น และมีคุณธรรมนะขุน ไม่ใช่จบมาแบบ นกแก้ว นกขุนทอง และใช้กฎหมายชี้ช่องเอาแต่ประโยชน์ของตนฝ่ายเดียว โดยไม่เหลือคุณธรรม นะขุนนะ

คำพิพากศาลฎีกา 2040/2539 สิทธิของโจทก์ที่ได้รับเงินทดแทนค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยเป็นสิทธิตาม พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ส่วนสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์จากจำเลย เป็นสิทธิตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533  #เมื่อเป็นสิทธิตามกฎหมายแต่ละฉบับ

โดยโจทก์ด้องเสียเบี้ยประกันภัยและส่งเงินสมทบเข้ากองทุนสมทบแล้วแต่กรณีตามที่กฎหมายแต่ละฉบับกำหนดไว้  ซึ่งต้องชำระทั้ง  2 ทาง  และ พ.ร.บ.ประกันสังคม  พ.ศ. 2533  #ไม่มีบทบัญญัติตัดสิทธิมิให้ได้รับเงินทดแทนตามกฎหมายอื่นมารับเงินทดแทนอีก  จำเลยจึงยกเอาเหตุที่โจทก์ได้รับเงินทดแทน ค่ารักษาพยาบาลจากบริษัทประกันภัยมา #แล้วมาอ้างเพื่อไม่จ่ายเงินค่าทดแทนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 ให้แก่โจทก์หาได้ไม่ โจทก์จึงมีสิทธิได้รับเงินทดแทนค่าบริการทางการเเพทย์จากจำเลย

คำพิพากษาฎีกาที่ 8467/2559  แม้โจทก์จะไม่ได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลตามใบแจ้งค่ารักษาพยาบาลของโรงพยาบาลอัน #เนื่องจากการใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท ตาม พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพ พ.ศ. 2545 ซึ่งบุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายอันเป็นสิทธิของโจทก์ตามที่กฎหมายกำหนดให้ ไม่เกี่ยวกับความผิดของจำเลยที่ 1 ผู้ทำละเมิด  โจทก์จึงมีสิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลได้

ฎีกาที่ 15031/2555 จำเลยที่ 2  ร่วมสั่งการให้จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะมิได้จ่ายค่ารักษาพยาบาลเอง โจทก์ก็มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลจากจำเลยทั้งสองได้”..

ขอบคุณภาพประกอบ : khun.chanon, ทนายเกิดผล แก้วเกิด