ยังคงเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์อย่างต่อเนื่อง สำหรับละครชื่อดังอย่าง “ให้รักพิพากษา” ทางช่อง 3 ภายหลังจากที่ นายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้โพสต์เฟซบุ๊ก ตำหนิละครดังกล่าว พร้อมบอกว่ากำลังบิดเบือนข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการทำงานของอัยการ และตำแหน่งผู้พิพากษา อาจทำให้ประชาชนเข้าใจผิดได้ ตามที่ได้นำเสนอไปแล้วนั้น

-ส่อเค้าวุ่น‘ให้รักพิพากษา’ทำเดือดเสียงแตก วงใน-ชาวเน็ตมองต่างมุมกัน

ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ส.ค. แฟนเพจชื่อดังด้านกฎหมายอย่าง “กฎหมายสายแซ่บ” ได้ออกมาแสดงความเห็นระบุว่า “ว่าด้วยเรื่อง #ให้รักพิพากษา” การเขียนให้อาชีพไหนเป็นตัวร้ายนี่ ไม่แปลกเลยยยย ยิ่งให้อัยการเป็นตัวร้ายนี่ ไม่ได้ถือว่าแหวกแนว แปลกใหม่ แต่อย่างใด (ประเด็นนี้ไม่ได้เป็นประเด็นที่ก่อให้เกิดดราม่านะจ๊ะ)

“แต่ถ้าเลือกจะทำละครเกี่ยวกฎหมาย พวกขั้นตอนพื้นฐานง่ายๆทางกฎหมาย (ถ้าเลือกจะเขียนบทไปถึง) ก็ควรศึกษามาให้ถูกต้อง เหมือนกับเขียนละครเกี่ยวกับการแพทย์, ละครย้อนยุค ละครประวัติศาสตร์ต่างๆ”

ทำไมต้องเขียนให้มันถูกต้อง??? ไม่ใช่สารคดีซะหน่อย???
1. ช่วยให้ละครเรื่องนั้นสนุกมากขึ้น ส่วนตัวรู้สึกอินมากขึ้น เวลาดูละครที่มีความสมจริงและละเอียดรอบคอบในการเขียนบท (ก็ไม่เข้าใจว่าทำไมการใส่สิ่งที่ถูกต้อง สมจริงลงไปในละคร ถึงมีคนเอาไปเหน็บแนมว่าจะกลายเป็นสารคดี)
2. ละครนั้นจะมีคุณค่าต่อสังคม (การสอดแทรกความรู้เข้าไปในความบันเทิง เป็นเรื่องที่เดี๊ยนชื่นชมและพยายามทำมาตลอด)
3. การเขียนบทละครที่ชวนให้คนเข้าใจผิด โดยเฉพาะในเรื่องสำคัญ และเป็นเรื่องเกี่ยวกับวิชาชีพ (พูดง่ายๆ คือเรื่องที่คนในอาชีพนั้น วงการนั้น เท่านั้น จะรู้ดี) อาจมีผลกระทบไปถึงชีวิตจริงๆของใครคนนึงในซักวันได้ ถ้าถึงวันนั้นจะบอกว่า “ก็คนนั้นโง่เอง” ความคิดเช่นนี้เรียกว่าไม่ค่อยรับผิดชอบต่อสังคมเท่าไหร่

“แม้บางคนจะนำมาตรฐานของตนเองมาบอกว่า คนส่วนใหญ่รู้น่า ว่าความจริงเป็นยังไง นี่เป็นคำพูดที่เกิดจากการคาดเดาเอาเอง โดยเฉพาะถ้าคนพูดมาจากวงการกฎหมาย ยิ่งไม่แปลกใจที่เค้าและคนรอบข้างของเขาจะรู้ความจริง แต่เขาได้มองถึงคนนอกวงการหรือไม่??? #ฝากไว้ให้คิดเช่นกัน #ละครที่มีคุณค่าไม่จำเป็นต้องเป็นสารคดี”

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @กฎหมายสายแซ่บ