การติดตั้งระบบโซลาร์เซลล์เพื่อผลิตไฟฟ้าไว้ใช้ในบ้าน นอกจากจะมีไฟฟ้าฟรีไว้ใช้แล้ว ไฟฟ้าส่วนเกินที่เหลือจากการใช้งานยังสามารถส่งขายคืนให้กับการไฟฟ้าได้อีกด้วย โดยการยื่นขายไฟให้ “การไฟฟ้า” ไม่ซับซ้อนอย่างที่คิด โดยวันนี้ “เดลินิวส์ออนไลน์” ได้รวบรวมเรื่องควรรู้ก่อนยื่นขายไฟให้การไฟฟ้า รวมถึงขั้นตอนไว้ที่นี้แล้ว

คุณสมบัติของผู้ยื่นขายไฟให้การไฟฟ้า
ต้องสอดคล้องต่อข้อกำหนดของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน โดยต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าประเภท 1 เฉพาะบ้านที่อยู่อาศัย และเป็นผู้ที่ครอบครองเครื่องจ่ายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าได้จ่ายไฟให้ อีกทั้งมีชื่อในทะเบียนผู้ใช้ไฟฟ้า เมื่อผ่านการพิจารณา จะต้องมาดำเนินการติดต่อเปลี่ยนเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเป็นระบบดิจิทัล และชำระค่าใช้จ่ายในการเชื่อมต่อระบบไฟฟ้า การตรวจสอบระบบอุปกรณ์และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติมเอง

ขั้นตอนการยื่นขอขายไฟฟ้า
1. ผู้ที่มีความประสงค์จะยื่นขอผลิตไฟฟ้า สมัครบัญชีผู้ใช้งาน (Account) ในระบบ PPIM
2. ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าลงทะเบียนใช้งาน (Log in) ในระบบ PPIM
3. การยื่นขอขายไฟฟ้าในระบบ PPIM
3.1 กรณีเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเป็นผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเอง ให้เลือกหมายเลข CA ที่ประสงค์จะขอยื่นผลิตไฟฟ้า พร้อมทั้งกรอกรายละเอียดตามแบบคำขอและอัปโหลดเอกสารรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายแบบคำขอขายไฟฟ้า
3.2 กรณีเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าไม่ได้เป็นผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าเอง ผู้ที่ได้รับมอบอำนาจกรอกหมายเลข CA และรายละเอียดตามแบบคำขอขายไฟฟ้า พร้อมทั้งอัปโหลดเอกสารรายละเอียดตามเอกสารแนบท้ายแบบคำขอขายไฟฟ้า

4. PEA พิจารณาเอกสารและทางด้านเทคนิค (Capacity) โดยมี E-mail แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้ยื่นขอผลิตไฟฟ้าทราบ
5. PEA ประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกในระบบ PPIM ภายใน 45 วัน นับจากวันที่ยื่นคำขอขายไฟฟ้า (เดือนละ 2 ครั้ง วันจันทร์ที่ 2 และ 4 ของเดือนนั้นๆ)
6. ผู้ผ่านการคัดเลือกชำระค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้าและจัดส่ง (ต้นฉบับ) แบบคำขอขายไฟฟ้าพร้อมเอกสารประกอบแบบคำขอ, รายการเอกสารประกอบการลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และ (สำเนา) ใบเสร็จค่าเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้า ที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ ภายใน 30 วับ นับจากวันประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือก หากพ้นกำหนดถือว่าคำขอขายไฟฟ้าเป็นอันยกเลิก

7. ผู้ผ่านการคัดเลือกลงนามสัญญาซื้อขายไฟฟ้าที่การไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ โดยมีกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ภายใน 270 วันนับจากวันที่ทำสัญญาฯ
8. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมากตรวจสอบ/ติดตั้งระบบให้เป็นไปตามที่ยื่นไว้ และขอเชื่อมต่อระบบโครงข่ายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าเขตพื้นที่รับผิดชอบ
9. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก แจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องขอรับใบอนุญาต กับสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
10. PEA เข้าตรวจสอบระบบผลิตไฟฟ้า, เปลี่ยนมิเตอร์ และทดสอบวันเชื่อมต่อเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเข้าสู่ระบบโครงข่ายไฟฟ้าครั้งแรก (First Synchronization)

11. ผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กมาก จ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ (COD) ไม่เกินวัน SCOD ตามข้อ 7
12. Flow Chart
แบบฟอร์มในการดำเนินการต่าง ๆ คลิก

ค่าใช้จ่าย
เมื่อส่งเอกสารครบและผ่านการพิจารณา ผู้ขออนุญาตขายไฟให้การไฟฟ้าต้องดำเนินการจ่ายค่าดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับการเชื่อมต่อระบบโครงข่ายการไฟฟ้า จะมีค่าใช้จ่ายรวมราว 2,000 บาท (ยังไม่รวม Vat)

การไฟฟ้าจะรับซื้อไฟฟ้าคืนในราคาหน่วยละ 2.20 บาท ต่อหน่วย

ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : @กองส่งเสริมพลังงานทดแทนและผู้ผลิตไฟฟ้าขนาดเล็ก การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค