เมื่อวันที่ 3 ก.ย. สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย จัดราชดำเนินเสวนา ครั้งที่ 1/2566 หัวข้อ “การบ้าน ครม.เศรษฐา 1 แก้วิกฤตประเทศ” โดย ดร.นณริฎ พิศลยบุตร นักวิชาการอาวุโส สถาบันวิจัย เพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวว่า แกนการเมืองจะมี 3 มุม คือเสรีนิยม รัฐสวัสดิการ และอนุรักษ์นิยม ซึ่งผลการเลือกตั้งที่ผ่านมาจะเป็นการเปลี่ยนผ่านจากอนุรักษ์นิยมมาเป็นเสรีนิยม และเกินโยบายใหม่ๆ ที่ต้องมาตกผลึกว่าจะเหมาะสม เกิดผลดีหรือผลเสียกับประเทศไทยหรือไม่ ซึ่งรัฐบาลเศรษฐา 1 รวมกับ 2 ลุง ก็จะมีทั้งฝ่ายของเสรีนิยม สวัสดิการ และอนุรักษ์นิยมด้วย ในแง่วิชาการไม่มีถูกผิด แต่ไม่ว่าจะอยู่ตรงจุดไหนก็ตาม จะขึ้นอยู่กับว่าเรามีรัฐบาลที่ดีหรือไม่ เช่น เสรีนิยม หากเป็นการเมืองที่ดีก็อยากจะเห็นการเติบโตอย่างมีคุณภาพ มีนวัตกรรม ผลักดันประชาชนเข้ามามีส่วนร่วม แต่ แต่ไม่อยากเห็นทุนผูกขาด กระจุกตัว ขณะที่รัฐสวัสดิการ อยากให้ลดความเหลื่อมล้ำ เพิ่มโอกาส มีสวัสดิการที่เป็นธรรม มีนโยบายช่วยกลุ่มเปราะบาง แต่ไม่อยากเห็นการแจกเงินโดยไร้ความรับผิดชอบ ไร้จำเป็น และเป็นภาระการคลัง ส่วนสุดท้ายคือสมดุลอนุรักษ์นิรม ซึ่งไทยมีวัฒนธรรมที่ดี แต่ก็อยากเติบโตแบบโลกยุคใหม่ จึงอยากการอยู่ร่วมกันได้ของสังคม ไม่อยากเห็นการเกรงกลัวต่างชาติเกินไป ปกป้องไม่ลืมหูลืมตา ดังนั้น นับว่าเป็นความท้าทายใหม่ขอรัฐบางที่จะสร้างสมดุลทั้ง 3 รูปแบบนี้ให้อยู่ในรูปแบบการเมืองที่ดี

ดร.นณริฎ กล่าวต่อว่า ทั้งนี้เมื่อพูดถึงเศรษฐกิจย้อนหลังปี 1997 เศรษฐกิจเราโตเฉลี่ย 7.27% หลังจากนั้นก็ตกลงมา 4.8% และตกลงมาเรื่อยๆ กระทั่งหลังโรคโควิด เหลืออยู่ที่ 3% สะท้อนว่าหลังวิกฤต เศรษฐกิจไทยต่ำลงแปลว่าเราไม่สามารถปรับโครงสร้างเพื่อรับกับสถานการณ์ใหม่ๆ ได้เลย ตัวได้ นั่นแปลว่าการทำอะไรแบบเดิมไม่สามารถไปได้ๆกล จึงเปนความท้าทายของรัฐบาลใหม่ที่ต้องมีมาตรการเสริมเข้ามา มองไปข้างข้า โดยรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์วางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เป็นประเทศพัฒนาแล้ว เป็นประเทศร่ำรวยประมาณปี 2035 แต่เมื่อดูตัวเลขหลังพ้นวิกฤติจะกลายเป็นปี 2043-2048 รียกว่าดีเลย์ไป 5 ปี เข้าใกล้กับการวางเป้าหมายของเวียดนาม ดังนั้นนี่เป็นเรื่องสำคัญที่ท้าทายที่ภาครัฐต้องหาช่องทางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ โดยเริ่มคิดใหม่ทำใหม่ จะทำแบบเดิมไม่ได เช่นภาคการท่องเที่ยวที่นักท่องเที่ยว 2019 มี 40 ล้านคน ตอนนี้ยังดันกลับมาไม่ได้ ส่วนหนึ่งคือการกลับมาของนักท่องเที่ยวจีนที่กลับมาเพียง 30-40% อย่างไรก็ตามเมื่อเรามีทรัพยากรเท่าเดิมจึงต้องพัฒนาในส่วนของเราเพื่อรองรับนักท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพมากกว่าเชิงปริมาณ  ดังนั้นต้องเปลี่ยนแปลงที่อุตสาหกรรมอาหาร ถ้าเป็นครัวโลก

อย่างไรก็ตาม ความท้าทายระยะสั้นคือต่อสู้ระหว่างแรงกดดันที่อยากให้รัฐบาลทำตามที่หาเสียง แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน จึงควรคัดนโยบายที่สำคัญ เหมาะสมกับช่วงระยะเวลา บางนโยบายอาจจะไม่จำเป็นต้องทำแล้ว บางนโยบายอาจจะปรับขนาด เช่น เงินดิจิตอล 10,000  บาท ที่เป็นเรือธงของพรรคเพื่อไทย แต่ต้องดูว่าในปัจจุบันว่าเราจะเป็นต้องกระตุ้นระดับไหน โดยเปรียบเทียบกับการเติมโตของเศรษฐกิจไทย และเศรษฐกิจไทยที่ควรจะเป็น  ซึ่งหากประมาณการณ์ว่าควรโต 3.7-3.8 % แต่แบงค์ชาติระบุว่า เศรษฐกิจไทยโตเพียง 2.8% เท่านั้น แปลว่าหายไป 1% หรือราวๆ 1-2 แสนล้านบาทเท่านั้น ดังนั้น การให้งบ 5.6 แสนล้าน อาจจะเยอะเกินไป เสี่ยงเกิดภาวะเงินเฟ้อ ดังนั้นหากตัดบางส่วนมาใช้สำหรับรัฐสวัสดิการก็เป็นทางออกได้

อีกเรื่องคือแก้ปัญหาหนี้สิน ที่ไม่ใช่การยกหนี้ แต่ต้องมีการจัดกลุ่มหนี้หนี้ แล้วแก้ปัญหาหนี้นั้นให้ตรงจุด โดยเชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีข้อมูลมาร่วมวางแผนแก้ไขปัญหา ยกตัวอย่าง ครัวเรือนของไทยที่สูงถึง 90% ต่อจีดีพี คนที่มีปัญหามากที่สุดคือคนที่ไม่มีเงินออมเลย ขณะที่ในทางเศรษฐศาสตร์บอกว่าคนเราควรมีเงินออมอย่างน้อย 3 -6 เดือน  แต่คนรุ่นใหม่อาจจะน้อยกว่านี้อีก ดังนั้นเป็นโจทย์ที่จะต้องปลูกฝังการออม ลดการเติบโตผ่านการจับจ่ายใช้ นอกจากนี้ต้องพูดถึงการกระจายอำนาจเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจการกระจายทรัพยากรเพื่อดูแลประชาชนในพื้นที่อย่างทั่วถึง ตลอดจนการต่อยอดบัตรสวัสดิการแห่งรัฐที่เข้าถึงคนจนจริง  แต่เพิ่มให้มีการเข้าถึงมากขึ้น ที่สำคัญคือเนื่องจากเรามีการแจกมาระยะหนึ่งแล้ว จากนี้ต้องเป็นการเสริมให้ประชาชนสามารถดูแลตัวเองได้.