เมื่อวันที่ 12 พ.ย.66 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 พ.ย.66 นายสมชาย แสวงการ สมาชิกวุฒิสภา (สว.) โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก “Somchai Swangkarn” ระบุข้อความว่า #กู้มาแจก #รู้ทัน #แจกเงินดิจิทัล  #เพื่อใคร #หวังยืมมือสภาศาลคว่ำ เอกสารประกอบนโยบายที่พรรคเพื่อไทยยื่นชี้แจงต่อ กกต.ว่า ทีมาของเงินที่จะใช้ดำเนินการนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านกระเป๋าเงินดิจิทัล 560,000 ล้านบาท โดยจะใช้การบริหารงานงบประมาณปกติ และการบริหารระบบภาษี ได้แก่ 1)ประมาณการรายได้ปี 2567 ที่เพิ่มขึ้น 260,000 ล้าน 2)ภาษีที่ได้เพิ่มขึ้น 100,000 ล้าน 3)การบริหารจัดการเงินกู้ 110,000 ล้าน 4)การจัดการงบประมาณสวัสดิการที่ซ้ำซ้อน 90,000 ล้าน

สรุปว่าที่มาของเงินไม่ใช่การดำเนินการตาม 4 ข้อข้างต้น หากแต่ชัดเจนว่าเป็นการกู้มาแจก” #กู้มาแจก โดยการออก พ.ร.บ.เงินกู้ 600,000 ล้านดังกล่าว ซึ่งไม่ตรงกับรายงานที่เคยแจ้งไว้เป็นหลักฐานต่อ กกต.  ดังนั้น เป็นเรื่องที่ กกต. คงจะต้องตรวจสอบอีกครั้งให้ชัดเจน ว่า เข้าข่ายผิดกฎหมายใดบ้างทั้งที่มาของเงินไม่เป็นตามที่แจ้งต่อ กกต. หรือจะเข้าข่าย “สัญญาว่าจะให้หรือไม่”

การเลือกวิธีการจะตราเป็นกฎหมายพิเศษเพื่อกู้เงินตามมาตรา 53 ของกฎหมายวินัยการเงินการคลัง เพื่อเลี่ยงไม่ให้ขัดรัฐธรรมนูญมาตรา 140 นั้น อาจทำได้  แต่ก็หาใช่ว่า กฎหมายมาตรา 53 นี้จะอนุญาตให้ทำได้ทุกกรณี เพราะมีเงื่อนไขกำกับไว้ชัดเจนว่า ให้ทำได้โดยมี 4 เงื่อนสำคัญคือ 1)เร่งด่วน 2)ต่อเนื่อง 3)เพื่อแก้ไขปัญหาวิกฤติของประเทศ 4)ไม่อาจตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีได้ทัน

สรุปว่า ไม่เข้าเงื่อนไขใดๆ เลย ทั้งเรื่องความเร่งด่วน หรือความต่อเนื่อง เพราะจ่ายเงินออกครั้งเดียว 5 แสนล้านไม่ต่อเนื่อง มีที่ต่อเนื่องคือการต้องใช้หนี้พร้อมดอกเบี้ย หรืออ้างว่า เพื่อแก้วิกฤติประเทศ ข้อเท็จจริงก็ไม่ได้มีวิกฤติร้ายแรง เช่น สงคราม/โรคระบาดโควิด/วิกฤติต้มยำกุ้ง ฯลฯ เหมือนอดีตที่ผ่านมา

ส่วนข้ออ้างที่ไม่อาจตั้ง พ.ร.บ.งบประมาณทัน ยิ่งเห็นชัดครับว่า ขณะนี้ พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 วงเงิน 3.48 ล้านล้านบาท ยังไม่ผ่านเข้าสภาเลย จะอ้างว่า ตั้งงบประมาณไม่ทันได้อย่างไร เว้นแต่จะตั้วไม่ได้ผิดในหลักสำคัญคือ บริหารจัดการตัดลดงบประมาณไม่ได้และไม่อาจเพิ่มโครงการเข้าไปรวมใน พ.ร.บ.งบประมาณ2567 ได้ เพราะจะเพิ่มงบประมาณปี 67 มากขึ้นสูงกว่า 4 ล้านล้านบาท

“ด้วยเหตุนี้เมื่อจะผลักดันทุรังทำต่อจึงต้องแตกออกเป็น พ.ร.บ.งบประมาณ 3.48 ล้านล้านบาทและพ.ร.บ.เงินกู้ 6แสนล้านบาท ”ลึกๆแล้ว  คงมีการคาดหวังอาศัยให้คณะกรรมการกฤษฎีกา  รัฐสภา สส. สว. ศาลรัฐธรรมนูญ ช่วยโต้แย้งและล้มนโยบายแจกเงินดิจิทัลนี้ ด้วยการคว่ำร่าง พ.ร.บ.เงินกู้นี้แทน เหตุเพราะนโยบายที่เคยหาเสียงแล้วทำไม่ได้จริงกระมัง #เลิกดันทุรัง