จากกรณีที่นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.คลัง ได้ออกมาติงธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หรือแบงก์ชาติ ว่าดอกเบี้ยนโยบายสูงเกินไป ทำให้ธนาคารคิดดอกเบี้ยแพงในเวลานี้ จนอาจกระทบต่อประชาชนและธุรกิจเอสเอ็มอี แม้ล่าสุดนายกฯ เศรษฐา จะออกมาบอกว่าไม่ก้าวก่ายการดูแลนโยบายเรื่องดอกเบี้ยของแบงก์ชาติก็ตาม

สำหรับดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 6 แห่ง แพงจริงมั้ย? มีอัตราอยู่ที่เท่าไหร่? ทั้ง 3 ประเภท ประกอบด้วย อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) อัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดี (MLR) และอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายใหญ่ชั้นดีประเภทวงเงินเบิกเกินบัญชี (MOR)

ธนาคารกรุงเทพ
– ดอกเบี้ย MRR = 7.3000% / MLR = 7.1000% / MOR = 7.5500%

ธนาคารกรุงไทย
– ดอกเบี้ย MRR = 7.5700% / MLR = 7.0500% / MOR = 7.5200%

ธนาคารกสิกรไทย
– ดอกเบี้ย MRR = 7.3000% / MLR = 7.2700% / MOR = 7.5900%

ธนาคารไทยพาณิชย์
– ดอกเบี้ย MRR = 7.3000% / MLR = 7.0500% / MOR = 7.5750%

ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
– ดอกเบี้ย MRR = 7.4000% / MLR = 7.2800% / MOR = 7.5750%

ธนาคารทหารไทยธนชาต
– ดอกเบี้ย MRR = 7.8300% / MLR = 7.7250% / MOR = 7.8500%

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อที่อยู่อาศัย จะใช้ดอกเบี้ยอ้างอิงคือ MRR ซึ่งอัตราที่เรียกเก็บจริง ขึ้นอยู่กับโปรโมชั่น และการพิจารณาของธนาคาร อาจกำหนด MRR-xx% ยกเว้นคิดดอกเบี้ยแบบลอยตัว ที่อาจคิดดอกเบี้ยเท่ากับอัตราที่แสดงข้างต้น

(ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย ณ วันที่ 11 ม.ค. 67)