ถ้าหากใครขับรถก็จะคุ้นเคยกันอย่างดีกับการต่อ พรบ รถยนต์ แต่ทีนี้เชื่อว่าหลายคนอาจจะสับสนว่าระหว่างพรบ รถยนต์ กับป้ายภาษีต่างกันหรือไม่ ก่อนอื่นในบทความนี้จะพาไปหาความหมายของทั้ง 2 อย่างนี้กันก่อน เพื่อให้เข้าใจตรงกัน ถ้าพร้อมแล้วตามไปอ่านรายละเอียดด้วยกันได้เลย

พ.ร.บ. กับ ป้ายภาษีต่างกันหรือไม่มาหาคำตอบกัน

พ.ร.บ. กับ ป้ายภาษีต้องบอกว่ามีความแตกต่างกัน ถึงแม้อาจมีการ ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์ และชำระป้ายภาษีในช่วงเวลาเดียวกัน โดยทั้ง 2 อย่างมีความแตกต่างกันดังนี้
พ.ร.บ. รถยนต์ คือการทำประกันรถยนต์คันนั้นๆ ที่เป็นภาคบังคับ โดยจำเป็นจะต้องทำต่อเนื่องทุกปีๆ เพื่อให้รถ ผู้ขับรถ รวมถึงคู่กรณีหากเกิดอุบัติเหตุจะได้รับค่าชดเชยตามที่กฎหมายระบุไว้
– ป้ายภาษีรถยนต์ หรือก็คือ การต่อเลขทะเบียนรถยนต์ที่ทำการขับ จะคล้ายๆ กับการเสียภาษีอื่นๆ ที่ปกติแล้วจะมีการจ่ายทุกปี โดยจะจ่ายให้ทางภาครัฐเพื่อนำภาษีไปพัฒนาประเทศต่อไป

ประโยชน์ของ พ.ร.บ. รถยนต์ที่ควรต้องรู้

ในส่วนของประโยชน์ พ.ร.บ. รถยนต์ต้องบอกเลยว่ามีเยอะมากๆ ตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์มีเพื่อคุ้มครองสิทธิ์ของผู้ที่เป็นเจ้าของรถ คนที่เป็นคู่กรณีในหลายๆแง่ซึ่งสามารถสรุปได้ดังนี้
– สามารถคุ้มครองค่าเสียหายเบื้องต้น เช่น ค่ารักษาพยาบาลกรณีบาดเจ็บ ค่าเสียหายในกรณีทุพพลภาพ และค่าปลงศพในกรณีเสียชีวิต
– คุ้มครองค่าสินไหมทดแทน หลังจากได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นฝ่ายถูก ในแง่ของการได้รับบาดเจ็บ เสียชีวิต เสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร
– หากจำเป็นต้องรักษาในผู้ป่วยใน จะได้รับค่าชดเชยวันละ 200 บาทโดยที่ไม่เกิน 20 วัน

สิ่งเหล่านี้นับว่าเป็นสิ่งที่ พ.ร.บ. รถยนต์คุ้มครองให้กับผู้ขับและคู่กรณีได้แต่ถ้าเทียบกับประกันรถยนต์ 1 ต้องบอกเลยว่าเป็นการคุ้มครองที่ถือว่าน้อยมากๆ และไม่สามารถครอบคลุมได้ในหลายๆ ส่วน ยกตัวอย่างเช่น รถเสีย รถไฟไม่ รถน้ำท่วม ค่าซ่อมแซมรถที่เสียหาย รถสูญหาย สิ่งของในรถหายที่เกิดจากโจรกรรม และอื่นๆอีกมากมาย

ต่อ พ.ร.บ. รถยนต์สามารถทำได้อย่างไรบ้าง

ในการต่อ พ.ร.บ. รถยนต์สามารถทำได้ที่กรมขนส่งทั่วทั้งประเทศไทย และถ้าหากคุณต้องการทำแบบง่ายๆ สามารถเข้ามาทำได้ที่เว็บไซต์ TIPINSURE ทำสะดวก ง่าย และรวดเร็ว โดยที่ไม่จำเป็นต้องออกจากบ้านและสามารถได้รับใบ พ.ร.บ. รถยนต์ผ่านทางอีเมลได้ เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้แล้วทุกคนคงจะเห็นแล้วใช่ไหมว่า พรบ รถยนต์และป้ายภาษีนับว่าเป็นคนละส่วนกันแต่จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องต่อหรือชำระเป็นประจำทุกปีในบางครั้งจึงรวมค่าใช้จ่ายรวดเดียว ในการต่อแนะนำว่าให้ต่อล่วงหน้า 1 เดือนเป็นอย่างต่ำจะดีที่สุด