สถิติจากองค์การอนามัยโลก(WHO)บ่งชี้ว่า ราว 1 ใน 4 ของประชากรโลกมีปัญหาด้านสุขภาพจิต นั่นหมายความว่าประชากรไทยเกือบ 18 ล้านคนกำลังเผชิญปัญหานี้ ขณะจำนวนจิตแพทย์ทั่วไปในประเทศไทยมีประมาณ 500 คนและผลิตจิตแพทย์ใหม่ได้เพียงราว 50 คนต่อปี ซึ่งน้อยกว่าประเทศทางยุโรปและอเมริกาเกือบ 10 เท่า ภาคเอกชนอย่าง Me Center จึงก่อตั้งขึ้นเพื่อเป็นองค์กรที่รองรับการดูแลสุขภาพจิตของคนไทยที่ครอบคลุมทุกมิติ

“ปัญหาสุขภาพจิตในเมืองไทย อัตราการดูเปลี่ยนแปลงมีตัวเลขสูงขึ้น โดยปี 2558 พบผู้ป่วย 1.3 ล้านคน แต่ปี 2565 พบ 2.6 ล้านคน ซึ่งขึ้นมามากกว่าเดิม 2 เท่า ในอนาคตอาจจะเจอตัวเลขที่สูงขึ้นอีก อัตราคนเป็นโรคซึมเศร้ามีประมาณ 1.35 ล้านคน ซึ่งเพิ่มจากอดีตหลายเท่าตัว” นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ จิตแพทย์และผู้ก่อตั้ง Me Center ชี้ภาพความเป็นจริงของสถิติและสรรพกำลังการรับมือในปัจจุบันต่อปัญหาสุขภาพจิต

“ในแต่ละกลุ่มคน แต่ละช่วงอายุ จะมีปัญหาสุขภาพจิตต่างกันไป มีโรค และความจำเพาะของโรคต่างกัน ซึ่งจิตแพทย์เองก็ต้องมีความชำนาญในการดูอย่างมีมาตรฐานที่แตกต่างกันไปแต่ละกลุ่มคน และในแต่ละช่วงอายุ โดย ME Center ผลักดันเรื่องนี้ให้คนสามารถเข้าถึงได้ง่ายขึ้น จึงเริ่มเปิดให้บริการใน Community Mall ที่ CDC โดยบุคลากรของเรามีทั้งทีมแพทย์ และทีมนักจิตวิทยาคลินิก รวมกว่า 30 คน” นพ.โสภณ นันทาภรณ์ศักดิ์ ผู้ก่อตั้งและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) กล่าวเสริม

“ทีมนักจิตวิทยาคลินิกที่เรามี ณ ตอนนี้ มีอุดมการณ์เดียวกัน คืออยากดูแลคนไข้ อยากดูแลผู้รับบริการให้ได้รับความสุข ได้รับการบำบัด ให้สามารถใช้ชีวิตได้อย่างปกติในสังคมครับ” เอกลักษณ์ วงศ์อภัย ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายนักจิตวิทยาคลินิก กล่าวเสริมเกี่ยวกับมิติการบูรณาการร่วม

ด้าน คุณนัทธชา สุนทรวิเนตร์ ผู้ก่อตั้งและผู้อำนวยการฝ่ายการสื่อสารองค์กร กล่าวถึงความตั้งใจของ Me Center คือการปฏิวัติวงการรักษาทางจิตใจ ทำให้การมารับคำปรึกษาด้านจิตใจไม่ใช่เรื่องน่าอายอีกต่อไป อยากให้การดูแลจิตใจตัวเองเป็นเรื่องเก๋ ที่มารับบริการเกิดความภาคภูมิใจ  “โลโก้หรือสัญลักษณ์แบรนด์ของ Me Center จะมองได้หลายมุม เช่นเป็นภาพ Bubble Conversation ของการพูดคุยกัน ซึ่งเปรียบเสมือนการให้คำแนะนำ รับฟัง และร่วมกันหาทางแก้ไข และอีกมุมหนึ่งเราอยากสื่อถึงความรื่นรมย์ของจิตใจที่เบิกบาน ร่มเย็นเหมือนการต้นไม้และเป็นความสบายใจที่เขาพึ่งพิงได้”

เมื่อแตกโครงสร้างงานบริการด้าน Mental Health ของ Me Center เราจะเห็นงานดูแลสุขภาพทางจิตใจครบมิติทั้ง 3 ด้าน คือ ป้องกัน รักษา และดูแลองค์รวม

ด้านแรก ป้องกัน (Prevention) – การจัดการสุขภาพจิตใจเชิงรุก เน้นการป้องกัน ประกอบไปด้วย Yearly Mental Health Check Programs โปรแกรมตรวจสุขภาพประจำปี/ Vitamin Supplements/ Corporate Seminars and Workshops การสัมมนาและการเวิร์กชอปขององค์กร

ด้านที่ 2 รักษา (Curative) – การจัดการบริการสุขภาพจิตเชิงรักษาโรค การดูแลและบำบัดรักษา ประกอบไปด้วย Test, Individual Therapy, Group Therapy, Consultations with Clinical Psychologist การทดสอบ, การบำบัดเฉพาะบุคคล, การบำบัดแบบกลุ่ม, การปรึกษากับนักจิตวิทยา และ Medical Treatment with Psychiatrist (Children & Adults) การรักษากับจิตแพทย์ (เด็กและผู้ใหญ่) บูรณาการภารกิจร่วมกันระหว่างจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิก และนวัตกรรมเทคโนโลยีการแพทย์ทางจิต ซึ่งส่วนนี้จะมีส่วนเติมเต็มอัตราส่วนที่ยังขาดในภาครัฐและสังคม

ด้าน 3 ดูแล (Integrative Care) – การดูแลแบบบูรณาการ อาทิ Pain Management การจัดการความเจ็บปวด Sleep Management การจัดการการนอนหลับ ตลอดจน Anti-Aging และ Women’s Clinic ซึ่งจะลงลึกและเชื่อมโยงศาสตร์ทางสุขภาพกายและความงามร่วมกัน

จากโครงสร้างดังกล่าว ทำให้เห็นว่ากลุ่มตลาดผู้ใส่ใจสุขภาพจิตนั้นมีความต้องการที่ดูแลตั้งแต่ยังไม่มีการเจ็บป่วยไปถึงคนที่ต้องการการรักษาโรค ทั้งระดับบุคคลและองค์กร ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายตั้งแต่เด็กเล็กไปจนถึงผู้สูงอายุ เพราะเรื่องสุขภาพจิตเกี่ยวกับข้องกับทุกคนและเป็นเรื่องใกล้ตัว

Me Center มีจิตแพทย์และนักจิตวิทยาคลินิกที่ใช้การรักษาที่มีความทันสมัย การรักษาที่ถูกต้องแบบมีมาตรฐาน ปลอดภัย เน้นการรักษาที่ให้คนไข้สามารถอยู่กับปัจจุบันเป็นอย่างดี เพื่อมุ่งสู่อนาคตที่แข็งแรง พร้อมไปกับการแก้ปมในอดีต  

นพ.อภิชาติ จริยาวิลาศ กล่าวย้ำว่า “Me Center มีช่องทางในการให้บริการที่หลากหลายสามารถพบนักจิตวิทยาคลินิกหรือเลือกพบจิตแพทย์ก่อนได้ ทำให้เรามีความพร้อมในการให้คำปรีกษาและรักษา ไม่ว่าคุณจะอายุเท่าไหร่ Me Center สามารถดูแลได้ตั้งแต่เด็กจนผู้สูงอายุ รายเดี่ยว คู่สมรส ครอบครัว หรือระดับองค์กร เราก็ดูแลได้”

ล่าสุด ME Center ประกาศการเข้าร่วม M&P กับ บมจ.มาสเตอร์ สไตล์ ในนามโรงพยาบาลมาสเตอร์พีช Specialty Hospital ของอุตสาหกรรมด้านความงามอันดับต้นของประเทศไทยและเอเชีย ในสัดส่วนลงทุน 60/40 ไม่ใช่แค่ปลุกตลาดทุนและความร่วมมือ

แน่นอนว่าปลายทางย่อมมุ่งสู่การขยายฐานศูนย์กลางจิตเวชเชิงบูรณาการของไทย และภูมิภาคต่อไป เพื่อช่วยราษฎร์ เสริมรัฐ ลดปัญหาสุขภาพจิตให้ต่ำกว่า 1 ใน 4 ก้าวสู่ศูนย์ดูแลสุขภาพจิตใจครบวงจรแห่งแรกของไทย ตามพันธกิจและภูมิทัศน์ของแบรนด์ โดยประสานความร่วมมือกันทั้งทางด้านการตลาด วัฒนธรรมองค์กร การบริหารไปพร้อมกัน ภายใต้ MASTER Group