น.พ.สรณ บุญใบชัยพฤกษ์ ประธานกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม (ประธาน กสทช.) เปิดเผยว่า ในการประชุมบอร์ด กสทช.ในวันอังคารที่  2 เม.ย. มีวาระสำคัญที่ต้องพิจารณา คือ เรื่อง ระบบส่งข้อมูล โดยตรงจากเสาสัญญาณไปสู่โทรศัพท์มือถือทุกเครื่อง ในพื้นที่ให้บริการพร้อมกันในรวดเดียวผ่านเอสเเอ็มเอสเพื่อใช้แจ้งเตือนภัยพิษัติ และเหตุการฉุกเฉินที่เกิดขึ้นให้กับประชาชนรับทราบ หรือ  เซลล์ บรอดแคสต์  โดยจะพิจารณา เรื่องการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนยูโซ่ ว่าจะมีจำนวนเงินเท่าใด และอีกเรื่อง คือ การพิจารณา โครงการจัด ให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและเพื่อสังคมในพื้นที่ขาดแคลนหรือบริการทั่วถึงของแผนปฏิบัติงานโทรคมนาคมประจำปี 2565 ฉบับที่ 3 (แผนยูโซ่ ฉบับที่ 3)  มูลค่า 6,600 ล้านบาท โดยแบ่งเป็น 3 กรอบใหญ่คือ เพื่อบริการ สาธารณสุข เพื่อการศึกษา และเพื่อความมั่นคง

“ในการประชุมบอร์ด ครั้งที่ 7/2567 เมื่อวันที่ 27 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่ประชุม ยังมีความเห็นไม่ตรงกันอยู่  ในกรอบ เพื่อบริการสาธารณสุข ทั้งประเภทของ รพ.สต. และพื้นที่ภาคไหน มีจำนวน รพ.สต. เท่าใด และบางพื้นที่ได้ งบประมาณมากกว่าบางภาคที่อยู่ในพื้นที่ห่งงไกล รวมถึงเรื่องอุปกรณ์ ขอให้ดูเรื่องราคา และคุณภาพ อาจไม่ต้องใช้ สเปคเดิมที่มีราคาแพง จึงต้องให้ทาง สำนักงาน กสทช.กลับไปปรับเปลี่ยนข้อมูลแล้วนำเสนอเข้าบอร์ดใหม่ในวันที่ 2 เม.ย.นี้ โดยกรอบงบประมาณเดิมอยู่ที่วงเงินประมาณ 6,600  ล้านบาท โดยโครงการนี้ต้องสรุปให้ทันในเดือน พ.ค.นี้”

พล.อ.สิทธิชัย มากกุญชร

 ด้าน พล.อ.สิทธิชัย มากกุญชร ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำ ประธาน กสทช. กล่าวว่า ในการประชุม กสทช. ครั้งที่ 7/2567 ที่ประชุมได้เห็นชอบรายงานข้อมูลผลการดำเนินงานภายใต้แผนการจัดให้มีบริการโทรคมนาคมพื้นฐานโดยทั่วถึง และบริการเพื่อสังคม ฉบับที่ 1 (พ.ศ.2555 – 2559) และฉบับที่ 2 (พ.ศ.2560 – 2564)  โดย แผน ยูโซ่ฉบับที่ 1  จำนวน 15,788.72 ล้านบาท เบิกจ่าย 6,459.83 ล้านบาท คิดเป็น 40.91 % อาทิ   โครงการจัดให้มีสัญญาณโทรศัพท์เคลื่อนที่ และบริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชายขอบ (โซน ซี+) 3,920 หมู่บ้าน 

 ส่วนแผน ยูโซ่ ฉบับที่ 2 จำนวน 40,056.86 ล้านบาท เบิกจ่าย 1,6913.62 ล้านบาท คิดเป็น 42.22% อาทิ โครงการจัดให้มีบริการอินเทอร์เน็ต ความเร็วสูงใน พื้นที่ห่างไกล (โซนซี) 15,732  หมู่บ้าน และโครงการพัฒนาและการประยุกต์ใช้งานบริการทาง การแพทย์ผ่าน ระบบอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงในพื้นที่ชนบท (เทเลเฮลท์) เป็นต้น