วันที่ 6 พ.ค. นายจาตุรนต์ ภักดีวานิช อธิบดีกรมการท่องเที่ยว เปิดเผยว่า กรมการท่องเที่ยว ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ซึ่งที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบร่างประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ฉบับใหม่ เพื่อกำหนดอัตราค่าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ (ฉบับที่ 11) ครอบคลุมกลุ่ม 3 กลุ่มสาขาอาชีพ จำนวน 13 สาขา โดยเฉพาะการเพิ่มแรงงานสาขาอาชีพภาคบริการที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวเพิ่มเติมเข้ามาด้วย

สำหรับกลุ่ม 3 สาขาอาชีพ ได้แก่
1. กลุ่มสาขาอาชีพช่างเครื่องกล คือ 1) สาขาช่างบำรุงรักษารถยนต์ ระดับ 2 ไม่เกินครั้งละ 1,700 บาท

2. กลุ่มสาขาอาชีพช่างอุตสาหกรรมศิลป์ ประกอบด้วย 1) สาขาช่างเครื่องประดับ (รูปพรรณ) ระดับ 3 ไม่เกินครั้งละ 2,000 บาท 2) สาขาช่างเครื่องประดับ (ประดับอัญมณี) ระดับ 3 ไม่เกินครั้งละ 1,950 บาท

3. กลุ่มสาขาภาคบริการมีการกำหนดอัตราค่าทดสอบค่าบริการ ประกอบด้วย
1) สาขาพนักงานต้อนรับส่วนหน้า ระดับ 1 ไม่เกินครั้งละ 500 บาท ระดับ 2 ไม่เกินครั้งละ 750 บาท
2) สาขาผู้ประกอบขนมอบ ระดับ 1 ไม่เกินครั้งละ 750 บาท ระดับ 2 ไม่เกินครั้งละ 2,800 บาท
3) สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมไทยสัปปายะ(หัตถบำบัด) ระดับ 1 ไม่เกินครั้งละ 550 บาท ระดับ 2 ไม่เกินครั้งละ 550 บาท
4) สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมไทยสัปปายะ (โภชนบำบัด) ระดับ 1 ไม่เกินครั้งละ 1,300 บาท ระดับ 2 ไม่เกินครั้งละ 1,500 บาท
5) สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมไทยสัปปายะ (วารีบำบัด) ระดับ 1 ไม่เกินครั้งละ 1,200 บาท ระดับ 2 ไม่เกินครั้งละ 1,500 บาท
6) สาขานักส่งเสริมสุขภาพแบบองค์รวมไทยสัปปายะ (สุคนธบำบัด) ระดับ 1 ไม่เกินครั้งละ 2,000 บาท ระดับ 2 ไม่เกินครั้งละ 1,850 บาท
7) สาขาพนักงานผสมเครื่องดื่ม ระดับ 1 ไม่เกินครั้งละ 800 บาท ระดับ 2 ไม่เกินครั้งละ 1,200 บาท ระดับ 3 ไม่เกินครั้งละ 500 บาท
8) สาขาผู้ประกอบขนมปัง ระดับ 1 ไม่เกินครั้งละ 1,350 บาท ระดับ 2 ไม่เกินครั้งละ 1,500 บาท
9) สาขาพนักงานขับรถโดยสาธารณะขนาดเล็ก ระดับ 1 ไม่เกินครั้งละ 800 บาท
10) สาขานายท้ายเรือกลลำน้ำโดยสาร ระดับ 1 ไม่เกินครั้งละ 800 บาท

ทั้งนี้ ประกาศคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน เรื่อง กำหนดอัตราค่าทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ เคยมีการประกาศมาแล้ว 10 ครั้ง ซึ่งร่างประกาศล่าสุดเป็นการปรับปรุงเพื่อกำหนดอัตราค่าทดสอบให้เป็นธรรมกับแรงงานมากขึ้น รวมถึงเป็นการเพิ่มแรงงานที่ขาดแคลนให้มีความเพียงพอ โดยเฉพาะภาคบริการที่เพื่อรองรับการท่องเที่ยวที่จะเติบโตในอนาคต สอดกับนโยบายของรัฐบาลที่ประกาศให้ภาคการท่องเที่ยวเป็นนโยบายเรือธงในการสร้างรายได้เข้าประเทศ