ผ่านมาแล้ว 70 วัน หลังจากการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมา จนถึง ณ เวลานี้ การจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ยังไม่แล้วเสร็จ !! ขณะที่การเดินเกม “พลิกขั้ว” ก็ยังเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง

เช่นเดียวกับการเลือกนายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่ต้องรอกันต่อไปว่า การลงคะแนนเสียงครั้งที่ 3 ในวันที่ 27 ..นี้ จะสำเร็จตามเป้าประสงค์ได้หรือไม่?

แล้วสุดท้าย… ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของประเทศไทยจะไปลงเอยอย่างไร? เพราะเวลานี้เสียงประกาศการใช้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งมาต่อสู้ ได้ส่งเสียงดังชัดเจนเพิ่มมากขึ้นทุกวัน

อาจเป็นรูปภาพของ 14 คน และ ข้อความพูดว่า "เดิน ดินหน้ารัฐบาลประชาธิบไตย แก้ปัญห แก้ พท โญห หับ ราช รรคเพื่อไทย"

ขณะที่การส่งเสียงของภาคเอกชน ที่ตอบรับให้ “พรรคเพื่อไทย” เป็นแกนนำการจัดตั้งรัฐบาล ก็ชัดเจนมากขึ้น เพราะเชื่อมั่นในฝีมือ ทั้งในเรื่องของการบริหารการเมือง ทั้งในเรื่องของการบริหารเศรษฐกิจ

เพราะหากปล่อยให้เวลาเนิ่นนานออกไปอีก ประเทศไทยก็จะยิ่งถดถอยลงไปด้วยเช่นกัน จึงไม่ต้องแปลกใจว่า การส่งเสียงให้จัดตั้งรัฐบาลให้ได้โดยเร็วที่สุด จึงเกิดขึ้นทุกวัน

แม้ความกังวลในเรื่องของการ “ลงถนน” จะมีมากขึ้นตามไปด้วย แต่ถ้ามีรัฐบาลชุดใหม่ ก็ย่อมต้องมีการบริหารจัดการ การดูแล ไม่ให้เหตุการณ์บานปลาย

อาจเป็นรูปภาพของ 7 คน, อนุสาวรีย์ และ ข้อความ

อย่าลืมว่าที่ผ่านมา เมื่อเกิดเหตุความวุ่นวาย ถ้าเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย ไม่มีอะไรรุนแรง นานาชาติก็ยอมรับได้ เข้าใจได้ แต่ถ้าเหตุการณ์แปรเปลี่ยนเป็น “ความรุนแรง” ประเทศไทยย่อมมีแต่ความเสียหาย หรืออย่างน้อยจีดีพีของประเทศก็จะหายไป 1 %

มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมินไว้ว่า เวลานี้ประเทศไทยมีการท่องเที่ยว เป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ หากมีการลากยาวของการเมือง หากมีการลงถนนจนนำไปสู่ความรุนแรง จนกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักท่องเที่ยวจนไม่ต้องการเดินทางมาเที่ยวไทย

ถ้าจำนวนนักท่องเที่ยวไทยหายไป 10 ล้านคน รายได้จากการท่องเที่ยวหายไป 5 แสนล้านบาท นั่นหมายความว่าจะทำให้เศรษฐกิจไทยลดลงไปประมาณ 1% แต่ ณ ขณะนี้ ยังมีมุมมองในเชิงบวกว่าจะไม่มีความรุนแรงเกิดขึ้น

Free photo demographic census concept representation

แต่กว่าจะไปถึงวันนั้น ในช่วงสุญญากาศเช่นนี้ เศรษฐกิจไทยก็ส่อแวว “ดิ่งหัว” ยิ่งจัดตั้งรัฐบาลช้าความ ”น่าเชื่อถือ”ของประเทศก็ยิ่งน้อยลง อย่าลืมว่า ความท้าทายของประเทศไม่ใช่มีแค่การเมืองเท่านั้น!!แต่ภาคเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัญหาปากท้องของคนไทยตาดำ ๆ ที่เป็นความท้าทายอันดับหนึ่ง

จะทำอย่างไร? ให้คนไทยหลุดพ้นจากความยากจน ต่อให้พรรคเพื่อไทย ที่ประกาศพันธกิจเพิ่มค่าแรง 600 บาท ภายในปี 70 แต่ตราบใดที่ค่าแรงขึ้น ค่าครองชีพวิ่งแซงหน้าไปไกลแล้ว

ที่สำคัญ!! ยังมีปัญหาเรื่องของหนี้ครัวเรือน ที่บางครัวเรือนก็ก่อหนี้เกินตัว กลายเป็นหนี้เรื้องรังกว่า 5 แสนบัญชีที่ต้องเร่งแก้ไข ตราบใดที่ยังไม่มีเงินเพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต่อให้ปรับหนี้ แก้หนี้ให้ ยกหนี้ให้ สุดท้าย… ก็เข้าอิหรอบเดิม ที่ต้องเป็นหนี้ เพราะต้องหาเงินมาเติมเต็มส่วนที่ขาด

Free photo screen showing data about the financial crisis because of the coronavirus

เช่นเดียวกับการช่วยเหลือบรรดาผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่ยังต้องการความช่วยเหลือ อย่างเรื่องของเงินทุน ที่ต้องเข้าถึงง่าย ดอกเบี้ยไม่แพงจนเกินรับได้ เพื่อให้มีเงินก้อน มีกระแสเงินสด มาฟื้นฟูกิจการ ให้เดินหน้าต่อไปได้

หรือแม้แต่การอำนวยความสะดวกในเรื่องของการทำธุรกิจ ด้วยการปรับระบบการดำเนินงานของภาครัฐให้ทันสมัยกับโลกยุคดิจิทัล ที่ต้องพัฒนาให้ทันกับโลกธุรกิจ ไม่เช่นนั้น…ภาคธุรกิจก็อาจหลุดขอบเวทีโลก

ยังมีเรื่องของภัยแล้ง ที่เนิ่นนานข้ามปีไปจนถึงปี 67 จากปรากฏการณ์เอลนีโญ ที่ต้องใช้กลไกของเงินงบประมาณเข้ามาสนับสนุน มาช่วยเหลือ แม้เป็นโอกาสดีของเกษตรกรไทยที่ได้ราคาจากผลผลิตน้อย แต่ขณะเดียวกันโอกาสที่ควรคว้าได้ แต่ขาดแรงสนับสนุนจากภาครัฐ ก็อาจทำให้โอกาสนี้หลุดลอยไปได้

ขณะที่เรื่องจำเป็นอย่างการขับเคลื่อนงบประมาณรายจ่ายประจำปี 67 หากล่าช้าเกิน 6 เดือน แม้ใช้งบประมาณไปพลางก่อนได้ แต่งบลงทุน ที่จำเป็นต่อการสร้างเศรษฐกิจในประเทศให้แข็งแรง ไม่สามารถดำเนินการได้ นั่นก็เท่ากับ…เป็นการตัดทอนโอกาสของคนไทยเป็นจำนวนไม่น้อยทีเดียว

ประเทศไทย!! ไม่ใช่เป็นของคนใดคนหนึ่ง!! ไม่ใช่เป็นของพรรคการเมืองพรรคใดพรรคหนึ่ง!! ความคิดที่แตกต่าง มีได้!! แต่ไม่ใช่ว่าจะนำความคิดที่แตกต่าง จนสร้างความแตกแยก ด้วยเพียง “ความเชื่อ” ของเพียงฝ่ายเดียว…

……………………………………….
คอลัมน์ : เศรษฐกิจจานร้อน
โดย “ช่อชมพู”