เมื่อวันที่ 1 ส.ค.เวลา 17.00 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์ โควิด-19 (ศบค.)กล่าวผลการประชุมศบค.ชุดใหญ่ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือศบค.เป็นประธานการประชุม ว่า ใน1-2 เดือนนี้ผอ.ศบค.เน้นย้ำว่าถือเป็นช่วงเวลาสำคัญในการกำหนดมาตรการต่างๆรวมทั้งการพยายามขอความร่วมมือทุกภาคส่วนทั้งในส่วนของภาครัฐเอกชนและประชาชนจะทำให้สถานการณ์การแพร่ระบาดผ่านพ้นไปในทิศทางที่เราต้องการเห็นตัวเลขที่ลดลงและสถานการณ์ที่จะดีขึ้น ทั้งนี้ ที่ประชุมศบค.เห็นชอบหลักการและเหตุผลในการยกระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรและการปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรค โควิด-19 เนื่องจากสถานการณ์ในประเทศพบการระบาดของโรคมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในกรุงเทพฯและปริมณฑล 4 จังหวัดชายแดนใต้และภูมิภาคเกือบทุกจังหวัดพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล พบผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตอย่างต่อเนื่องเป็นการระบาดเป็นวงกว้างในชุมชนและครอบครัว จังหวัดในภาคกลางตะวันออกพบการระบาดในสถานประกอบการโรงงานอย่างต่อเนื่อง สำหรับจังหวัดในภาคเหนือตะวันออกเฉียงเหนือพบการระบาดต่อเนื่องจากผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับไปรักษาที่ภูมิลำเนาเดิมโอและพบผู้สัมผัสใกล้ชิดต่อเนื่องกันทั้งในครอบครัวและชุมชน ซึ่งสิ่งสำคัญเพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตและจำนวนผู้ป่วยอาการหนักให้อยู่ในระดับที่ระบบสาธารณสุขอย่างรองรับได้ จึงควรมีการยกระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรและปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรค โควิด-19

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า สำหรับระดับของสถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรของโรค โควิด-19 โดยพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) จากเดิม 13 จังหวัด ปรับเพิ่มเป็น 29 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯกาญจนบุรี ชลบุรี จฉะเชิงเทรา ตาก นครปฐม นครนายก นครราชสีมา นราธิวาส นนทบุรี ปทุมธานี ประจวบคีรีขันธ์ปราจีนบุรี ปัตตานีพระนครศรีอยุธยา เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ยะลา ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สงขลา สิงห์บุรี สมุทรปราการสมุทรสงคราม สมุทรสาคร สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง)จากเดิม 53 จังหวัด ปรับลดลงเป็น 37 จังหวัด ประกอบด้วย กาพสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงรายเชียงใหม่ ตรัง ตราด นครศรีธรรมราช นครสวรรค์ จังหวัดบุรีรัมย์ พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก มหาสารคาม ยโสธรระนอง ร้อยเอ็ด ลำปาง จังลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สระแก้ว สุโขทัย สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภูอุตรดิตถ์ อุทัยธานี อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ

ขณะที่พื้นที่ควบคุม (สีส้ม) จากเดิม 10 จังหวัด ปรับเพิ่มเป็น 11 จังหวัด ประกอบด้วย กระบี่นครพนม น่าน บึงกาฬพะเยา พังงา แพร่ ภูเก็ตมุกดาหาร แม่ฮ่องสอนและสุราษฎร์ธานี

ส่วนพื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) จากเดิม 1 จังหวัดเป็นศูนย์จังหวัด และพื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) คงเดิมคือศูนย์จังหวัด

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า สำหรับมาตราการป้องกันการควบคุมโรคโควิด-19 ตามระดับของพื้นที่สถานการณ์ย่อยในพื้นที่ทั่วราชอาณาจักรนั้น พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด (สีแดงเข้ม) จะเพิ่มมาตราการห้ามออกนอกเคหะสถานในเวลา 21.00-04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น งดให้บริการขนส่งข้ามเขตจังหวัด และตั้งด้านสกัดระหว่างเขตจังหวัด เพื่อเป็นการจำกัดการเดินทาง ห้ามจัดกิจกรรมรวมคนมากกว่า 5 คน ร้านสะดวกซื้อ ตลาดโต้รุ่ง ปิด 20.00-04.00 น.ของวันรุ่งขึ้น ร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ไม่อนุญาตให้มีการบริโภคภายในร้านและไม่ให้จำหน่ายสุรา เปิดไม่เกินเวลา 20.00 น.โดยสามารถซื้อกลับบ้านได้ ส่วนศูนย์การค้า ห้างสรรพสินค้า เปิดบริการได้เฉพาะซูเปอร์มาเก็ต และในส่วนร้านยาเวชภัณฑ์ ซึ่งร้านจำหน่ายอาหารและเครื่องดื่มในห้าง เปิดขายได้ผ่านระบบเดลีเวอรี่ให้พนักงานส่งอาหารสามารถส่งอาหารให้กับลูกค้าตามบ้านได้ แต่ลูกค้าเดินมาที่ร้านอาหารแล้วซื้อกับบ้านไม่สามารถทำได้ เปิดได้ไม่เกินเวลา 20.00 น. ส่วนร้านเสริมสวย ร้านนวด สถานเสริมความงาม สถานที่เล่นกีฬา หรือแข่งขันกีฬายังปิดให้บริการทั้งหมด ขณะที่สถานศึกษาทุกระดับ และสถาบันกวดวิชา ห้ามใช้อาหารสถานที่เพื่อจัดการเรียนการสอน กิจกรรมที่มีการรวมคนจำนวนมาก และขอให้ทำงานที่บ้าน (เวิร์ค ฟอร์มโฮม) ขั้นสูงสุด 100 เปอร์เซ็นต์

พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า ส่วนพื้นที่ควบคุมสูงสุด (สีแดง) และพื้นที่ควบคุม (สีส้ม) ยังคงมาตรการเดิม ทั้งนี้ จะมีผลบังคับใช้ในวันที่ 3 ส.ค.และมีระยะ 14 วัน ซึ่งจะมีการประเมินผลในวันที่ 18 ส.ค.อีกครั้ง แต่คงต้องเน้นย้ำและขอความร่วมมืออย่างสูงสุดในหลายภาคส่วนจะต้องลำบาก และติดขัดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนของผู้ประกอบการโรงงานแคมป์คนงาน แต่ถ้าเราร่วมมือกันอย่างเข้มข้น ข้อกำหนดจะสามารถผ่อนคลายได้หลัง 14 วัน แต่ต้องเผื่อใจไว้ว่าหากสถานการณ์ยังน่าเป็นห่วงก็อาจจะมีความเป็นไปได้ที่อาจจะยืดไปจนถึงวันที่ 31 ส.ค.โดยในช่วง 2 สัปดาห์นี้เราคงเห็นสถานการณ์ดีขึ้น ทั้งนี้เป็นห่วงประชาชนอาจจะไม่ได้รับความสะดวกสบาย จึงขอให้ทุกฝ่ายทุกภาคร่วมมือกัน

พญ.อภิสมัย กล่าวด้วยว่า นอกจากนี้ที่ประชุมศบค.ยังพูดถึงมาตรการยกระดับควบคุมโรค ได้แก่ โรงงาน แคมป์แรงงานและบริษัท มาตรการมาตรการ Bubble and Seal เน้นย้ำจังหวัดในพื้นที่สีแดงเข้ม รวมถึงมาตรการดังกล่าวครอบคลุมไปยังโรงงานที่ไม่มีรายงานผู้ติดเชื้อและยังไม่มีระบาดการระบาดด้วย โดยที่ประชุมตระหนักถึงแรงงานโรงงานและสถานประกอบการที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ โดยการออกมาตรการดังกล่าวจะมีการปรับให้มาตรการควบคุมโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องขับเคลื่อนเศรษฐกิจไปพร้อมๆกัน โดยมีการหารือกับทุกภาคส่วนเพื่อปรับมาตรการดังกล่าว.