ยังคงวุ่นไม่เลิก!! กับเรื่องร้อนในแวดวงการตลาดทุน กับการทำธุรกรรมของ “หุ้นมอร์” หรือ บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) ที่มีการซื้อขายผิดปกติมาตั้งแต่ช่วงวันที่ 11-12 ..65 จนร้อนไปถึงโบรกเกอร์ที่ต้องรับภาระในเรื่องนี้ เพราะทางฝั่งผู้ซื้อหุ้นไม่สามารถชำระราคาค่าหุ้นได้ หรือเรียกเรื่องนี้ว่า “แผนปล้นเงินโบรกเกอร์”

เท้าความวีรกรรมแสบ

เรื่องนี้เกิดขึ้น เมื่อวันที่ 10 พ.ย.65 “หุ้นมอร์” มีการซื้อขายผิดปกติ โดยที่ราคาปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่เปิดตลาด +4.3% จากราคาปิดในวันก่อนหน้า ด้วยมูลค่าการซื้อขายทั้งวันที่สูงมากถึง 7,143 ล้านบาท (เฉลี่ย 30 วันก่อนหน้าอยู่ที่เพียง 360 ล้านบาท) ซึ่งในช่วงที่เปิดตลาด มีปริมาณการซื้อขายสูงถึง 1,500 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่าประมาณเกือบ 4,300 ล้านบาท ลักษณะของการส่งคำสั่งซื้อขายที่ผิดปกติ คือ ฝั่งซื้อ มีการส่งคำสั่งซื้อจากผู้ซื้อเพียง 1 รายผ่านโบรกเกอร์หลายแห่งที่ราคา 2.90 บาท

ส่วน ฝั่งขาย มีการส่งคำสั่งขายเป็นจำนวนมากจากผู้ขายหลายรายที่ระดับราคาใกล้เคียงกับราคาเสนอซื้อ โดยมีจำนวนที่สั่งขายตั้งแต่ประมาณ 70 ล้านหุ้นต่อราย ไปจนถึงประมาณ 600 ล้านหุ้นต่อราย และทันทีที่เปิดตลาด ได้เกิดการจับคู่ซื้อขายกับผู้ขายหลายรายผ่านโบรกเกอร์หลายแห่ง หลังจากนั้น ภายในไม่ถึง 20 นาทีหลังเปิดตลาด ราคาได้ทยอยปรับตัวลงไปต่ำสุดที่ราคา 1.95 บาท จนปิดตลาดที่ราคาดังกล่าว จากนั้นในวันที่ 11 พ.ย.65 หลังเปิดการซื้อขายในช่วงเช้า ราคา “หุ้นมอร์” เปิดตลาดที่ราคาต่ำสุดทันทีที่ราคา 1.37 บาท ด้วยมูลค่าการซื้อขายเบาบาง ลดเหลือเพียง 134 ล้านบาท จากกว่า 7,000 ล้านบาทในวันก่อนหน้า

ร่างเดิมคือดีเอ็นเอ

สำหรับ บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ มอร์ ชื่อเดิม คือ บริษัท ดีเอ็นเอ 2002 จำกัด (มหาชน) หรือ ดีเอ็นเอ ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 55 ซึ่งในอดีตปี 61 เคยมีข่าวฉาว จากคดีฉ้อโกงเงินดิจิทัล บิตคอยน์ คิดเป็นเงินประมาณ 797 ล้านบาท จากนักลงทุนชาวฟินแลนด์ โดยจากกรณีนั้น ปริญญา จารวิจิต อดีตกรรมการและผู้ถือหุ้นใหญ่ ดีเอ็นเอ ถูกกล่าวหาว่าเป็นตัวการใหญ่ในการวางแผนหลอกต้มนายเออาร์นี และยังมีอดีตผู้บริหารโบรกเกอร์ดังเข้าไปเกี่ยวข้อง

หลังจากนั้น “ถูกเปลี่ยนชื่อใหม่” เป็น บริษัท มอร์ รีเทิร์น จำกัด (มหาชน) หรือ มอร์  เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 62 จนปัจจุบันมี นายอมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับหนึ่งจำนวน 1,547 ล้านหุ้น หรือสัดส่วน 23.69% ประกอบ 3 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจจัดจำหน่ายอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน และธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับพลังงานทดแทน ธุรกิจวางระบบน้ำประปาเพื่อบริหารจัดการน้ำประปาบนเกาะเสม็ด และธุรกิจด้านการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์

โบรกเกอร์ร้อน 20 ราย

หุ้นมอร์เป็นหุ้นขนาดเล็ก จู่ ๆ มีการซื้อขายหลักพันล้านภายในวันเดียวจึงเกิดความผิดปกติขึ้น ส่งผลให้ทางโบรกเกอร์ได้มีการติดต่อไปหาผู้ซื้อเพื่อคอนเฟิร์มว่าสามารถชำระเงินได้ครบกำหนดใช่หรือไม่ แต่คำตอบที่ได้คือ “ยังไม่มีเงินจ่าย” จึงสร้างความวิตกกังวลให้บรรดาโบรกเกอร์อย่างมาก เพราะฝั่งผู้ซื้อจำเป็นจะต้องออกเงินให้กับทางฝั่งผู้ขายเอง และหลังจากสอบถามโบรกเกอร์ด้วยกันแล้ว พบว่า เป็นการซื้อขายผ่านโบรกเกอร์กว่า 20 ราย

ด้วยเหตุนี้!! โบรกเกอร์จึงตบเท้าหารือกับ ก.ล.ต.เพื่อขอให้คำสั่งซื้อดังกล่าวเป็นโมฆะ แต่ ก.ล.ต.ไม่สามารถยกเลิกให้ได้เพราะจะกระทบนักลงทุนรายอื่นที่ทำการซื้อขายอย่างถูกต้อง

ออกแจ้งเตือนนักลงทุน

เรื่องที่เกิดขึ้นครั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ได้ออกหนังสือแจ้งเตือนนักลงทุนให้ระมัดระวังการซื้อหุ้นมอร์ ตั้งแต่ก่อนเปิดซื้อขายภาคบ่ายของวันที่ 11 พ.ย.65 แล้วสอบถามไปทาง “มอร์” ถึงพัฒนาการที่อาจส่งผลกระทบต่อการซื้อขาย ขณะที่บริษัทได้ชี้แจงผ่านระบบตลาดหลักทรัพย์ ในช่วงก่อนเปิดการซื้อขายภาคบ่ายของวันที่ 10 พ.ย.65 ว่า ไม่มีพัฒนาการสำคัญใด ๆ โดยในช่วงเช้าของวันที่ 11 พ.ย.65 ราคาหุ้นลดลงต่อเนื่อง ตลท.จึงขอให้บริษัทสมาชิกกำกับดูแลการซื้อขายและการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับหุ้นมอร์อย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันการส่งคำสั่งซื้อขายที่อาจไม่เหมาะสม หรือไม่เป็นไปตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ประกาศแขวนหุ้นมอร์

กระทั่งวันที่ 14 พ.ย.65 ตลท. พร้อมด้วยสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย ประกาศหยุดพักการซื้อขาย หรือขึ้นเครื่องหมายเอสพี โดยระยะการขึ้นเครื่องหมายสิ้นสุดเมื่อไหร่นั้น ต้องพิจารณาต่อเนื่องแบบวันต่อวัน หากไม่มีผลกระทบต่อตลาดและไม่มีความจำเป็นแล้วก็อาจจะพิจารณายกเลิกได้ พร้อมกับออกมาสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนอย่าตื่นตระหนกกับเรื่องนี้และสมาชิกบริษัทหลักทรัพย์มีมาตรการรองรับอยู่แล้ว ซึ่งเมื่อถึงเวลาที่กำหนดและไม่สามารถชำระเงินได้ก็จะสืบค้นข้อมูลทรัพย์สินเพื่อนำมาขายและชำระหนี้ หากไม่เพียงพอต้องส่งฟ้องศาลต่อไป ขณะที่ตลท. ได้หารือร่วมกับสมาชิก สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อตรวจสอบธุรกรรมเกี่ยวกับหลักทรัพย์มอร์ ที่อาจเข้าข่ายเป็นรายการที่ผิดปกติ รวมทั้งได้ยื่นหนังสือขอให้กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลางเข้ามาช่วยตรวจสอบในเรื่องนี้ด้วย

ขอ“จำเลย” กลับใจ

ต่อมา วันที่ 16 พ.ย.65 ตลท.แถลงความคืบหน้าว่าสามารถรวบรวมข้อมูลความปกติของการซื้อขายหุ้น มอร์ ได้เกินกว่า 50% และได้พบหลักฐานที่ชัดเจนแล้ว ซึ่งในวันที่ 18 พ.ย.65 นี้ จะนำข้อมูลไปดำเนินการฟ้องร้องที่กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง พร้อมกับเดินหน้าประสานการทำงานร่วมกับ สำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) พร้อมกับให้โอกาสสำหรับผู้ที่มีข้อมูลและเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้เปลี่ยนจาก “จำเลย” มาเป็น “พยาน” ส่งข้อมูลหลักฐาน
ต่าง ๆ มาให้กับทางตลท. เพิ่มเติม เพื่อเปิดโอกาสในการช่วยเหลือตนเอง 

สำหรับความผิดปกติที่เกิดขึ้น ตลท.ยังได้ประสานความร่วมมือกับสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) ระงับการทำธุรกรรม หรือ แช่แข็งในบัญชีซื้อขายไว้กว่า 10 ราย ที่มีพฤติกรรมเข้าข่ายเกี่ยวข้องกับความผิดปกติแล้วด้วย แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ว่ารวมแล้วเป็นวงเงินทั้งหมดเท่าไหร่

ระดมสมองอุดช่องโหว่

หลังจากนั้น ตลท. บอกว่า จะร่วมกับสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ รวมถึงผู้กำกับดูแลที่เกี่ยวข้อง จะร่วมกันรวบรวมข้อมูลและหาข้อผิดพลาดในเรื่องนี้ เพื่อนำไปพัฒนามาตรฐานหลักการซื้อขายให้เหมาะสม และการรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ให้ทันเวลาเพราะปัจจุบันเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ รวมถึงการทำงานของโบรกเกอร์จากที่ผ่านมาหากนักลงทุนมีการเปิดบัญชีจากหลายโบรกเกอร์ก็ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าแต่ละโบรกฯให้วงเงินแก่บุคคลดังกล่าวไปมากน้อยขนาดไหน ขณะที่ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (...) ออกมาบอกว่าช่วงที่เกิดปัญหาหุ้นมอร์นี้ ทาง ก.ล.ต.ไม่ได้หายไปไหน มีการทำงานอย่างต่อเนื่อง เพียงแต่คดีนี้เป็น “คดีอาญา” จึงออกมาพูดอะไรเยอะไม่ได้เดี๋ยวจะเสียรูปคดี หลังจากก่อนหน้านี้ได้ออกประกาศแจ้งให้คณะกรรมการบมจ. มอร์ รีเทิร์น ชี้แจงข้อมูลเกี่ยวกับการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนให้แก่ “อมฤทธิ์ กล่อมจิตเจริญ” หรือ “เฮียม๊อ” ผู้ถือหุ้นใหญ่อันดับ 1 ซึ่งเข้าข่ายเป็นรายการที่เกี่ยวโยงกัน และการขอผ่อนผันการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของกิจการโดยอาศัยมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น ภายใน 7 วัน นับจากวันที่ 17 พ.ย.65

เชือดโบรกฯร่วมวง

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้น…ส่งผลให้โบรกเกอร์อย่าง บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) เอเชีย เวลท์ จำกัด ต้องแจ้งต่อก.ล.ต.ทันที ซึ่งจากการตรวจสอบของก.ล.ต.พบว่าบล.เอเชีย เวลท์ “นำเงินของลูกค้า” ที่อยู่ในความครอบครองไปชำระเป็นค่าซื้อหลักทรัพย์มอร์กับสำนักหักบัญชี โดยที่ลูกค้าไม่ได้มีคำสั่งหรือยินยอมให้ดำเนินการดังกล่าว ด้วยเงิน 157.99 ล้านบาท ทำให้ ก.ล.ต.สั่งระงับการซื้อขายหลักทรัพย์บล.เอเชีย เวลท์ ชั่วคราว จนกว่าจะนำเงินมาคืนลูกค้า โดยตลท.แนะนำว่าผู้ลงทุนสามารถขอโอนหุ้นที่ฝากกับเอเชีย เวลท์ ไปฝากยังบัญชีของตนที่เปิดกับโบรกเกอร์อื่นเพื่อซื้อขายต่อได้ กรณีไม่มีบัญชีที่โบรกเกอร์อื่นสามารถโอนเข้าบัญชีกลางตลาดหลักทรัพย์ (บัญชี600) และเมื่อเปิดบัญชีที่บริษัทหลักทรัพย์เรียบร้อยแล้วก็สามารถที่จะโอนหุ้นจากบัญชี 600 ไปซื้อขายต่อไป

ทั้งนี้การกระทำของ บล.เอเชีย เวลท์ ในเบื้องต้น ถือว่าผิดกฎหมายตามพ.ร.บ.หลักทรัพย์ฯ แม้ทางบริษัทจะให้ความร่วมมือโดยให้ ก.ล.ต.เข้าไปตรวจสอบ และทาง ก.ล.ต.ก็เข้าไปตรวจสอบเองอยู่แล้ว และหลังจากนี้จะดูในรายละเอียดต่อไปว่าผิดกฎหมายอะไรเพิ่มเติมอีกหรือไม่ ซึ่งหากพบความผิดก็จะส่งเรื่องให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และขณะนี้ยังไม่สามารถยืนยันได้ว่าหลังจากนี้จะมีโบรกเกอร์ใดที่กระทำผิดอีกบ้าง

บทเรียนที่เกิดขึ้น!! ถือเป็นบทเรียนสำคัญที่ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้เห็น “ช่องโหว่” ของตัวเอง และยกเครื่องครั้งใหญ่เพื่ออุดรอยโหว่นี้ โดยเฉพาะโบรกเกอร์ที่ในครั้งนี้โดนเล่นงานกันอย่างเจ็บแสบเหนือความคาดหมายมาก อีกทั้งยังเป็นบทพิสูจน์สำหรับหน่วยงานภาครัฐด้วยว่าจะจัดการกับเรื่องนี้อย่างไร?และไปจบที่ไหน!!!.

จ่อรื้อเกณฑ์ใหม่หมด

“จอมขวัญ คงสกุล” ผู้ช่วยเลขาธิการสายระดมทุน สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) บอกว่า จากกรณีหุ้น มอร์ ทางก.ล.ต.และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) จึงได้หารือร่วมกันเพื่อยกระดับคุณภาพของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนหรือ บจ. โดยเบื้องตั้นจะต้องทบทวนเกณฑ์รับหุ้นทั้งเกณฑ์เชิงปริมาณและคุณภาพสำหรับในเชิงปริมาณ เช่น เกณฑ์การรับหุ้นเข้าจดทะเบียนนั้น เกณฑ์กำไรของบริษัทที่เข้าจดทะเบียนปัจจุบันนั้นกำหนดต่ำไปหรือไม่ ส่วนเรื่อง เกณฑ์ทางดันคุณภาพนั้น ทาง ก..ต.ได้ออกเกณฑ์ว่า บริษัทที่จะเข้าจดทะเบียนได้ ต้องมีงบการเงินย้อนหลัง 3 ปิ้ ซึ่งจะมีผลในปี 2567 เพื่อช่วยป้องกัน และช่วยทำให้มีบริษัทที่มึงบการเงินแข็งแกร่งเข้ามาจดทะเบียน รวมถึงจะมีการทบทวนเกณฑ์การเข้าจดทะเบียนทางอ้อม หรือแบ๊คดอร์ลิสติ้ง เช่นกัน”สำหรับการหารือครั้งนี้เพื่อยกระดับบริษัทที่จะเข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ให้มีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งการหารือรอบนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ก..ต.และตลาดหลักทรัพยำเห็นซอบร่วมกัน ซึ่งจะต้องหารือในเชิงลึกต่อไป หลังจากนั้นจะเปิดเฮียรั่งหรือเปีดรับฟังความเห็นจากทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง”

ตลท.ชี้ไม่อยู่เฉยแน่

“ภากร ปิตรวัชชัย” กรรมการและผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พูดชัดว่า ตลท.ไม่อยู่เฉยแน่ และจะนำไปเป็นบทเรียนในการร่วมมือกับผู้ที่เกี่ยวข้องเพื่อหาแนวทางป้องกัน โดยความคีบหน้ากระบวนการตรวจสอบการซื้อขายหุ้น มอร์ ที่มีความผิดปกติ ขณะนี้ยังคงเป็นไปตามขั้นตอนอย่างต่อเนื่อง โดยจะส่งข้อมูลให้กับทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน หรือปปง. และตำรวจสอบสวนกลาง เพื่อให้ดำเนินคดีกับผู้จ้อโกง กับกลุ่มนักลงทุนที่โกงค่าหุ้นโบรกเกอร์ และจะประสานกับทางก.ล.ต.เพื่อฟ้องในคดีปั่นหุ้นอีกคดีหนึ่งด้วย แต่ตลท. ขอให้ประชาชนและผู้ลงทุนมีความมั่นใจต่อระบบการซื้อขายหุ้นของตลาดหลักทรัพย์ พราะสิ่งที่เกิดขึ้นไม่ได้เป็นอะไรที่เกิดขึ้นบ่อยๆและเป็นหตุสุดวิสัย ซึ่งเรากำลังพยายามแก้ปัญหาทีละส่วน จับให้ได้ว่าใครโกง หรือใครทำอะไรไม่ถูกต้อง และในอนาคตจะหาทางป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นแบบง่ายๆ อีก “เปรียบตอนนี้เหมือนกับไฟไหม้บ้าน สิ่งแรกคือ ต้องหาทางดับไฟก่อน และปรับปรุงบ้านใหม่ ติดตั้งระบบให้ดีขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ช้ำรอย ซึ่งตอนนี้ต้องสร้างความเชื่อมั่น ไม่ให้เกิดการตื่นตระหนกของผู้ลงทุน รวมถึงเกิดการแห่มาถอนเงินออกจากบัญชีหลักทรัพย์ ทำให้ ตลท.ต้องเร่งมาให้ข้อมูล และหาทางช่วยเหลือนักลงทุนต่อจากนี้”

ปรับแผนซื้อขายใหม

“ประกิด สิริวัฒนเกตุ” นักกลยุทธ์การลงทุนกรรมการผู้จัดการ บลจ.เมอร์ชั่นพาร์ทเนอร์ เล่าว่า หุ้นของนักลงทุนปัจจุบันไม่มีปัญหา เพราะหุ้นจะอยู่กับศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ แต่หากมีเงินลดอยู่ที่โบรกเกอร์อาจเกิดกระแสการถอนขึ้นหากนักลงทุนขาดความเชื่อมั่นซึ่งส่งผลให้โบรกเกอร์นั้นขาดสภาพคล่อง ขณะเดียวกันมองว่าผลกระทบในเรื่องนี้ ยังสามไปถึงหุ้นตัวอื่น 1 โดยเฉพาะในกลุ่มขนาดเล็กและขนาดกลางซึ่งมีโอกาสทำให้หลังจากนี้บรรดาบริษัทหลักทรัพย์หรือโบรกเกอร์ปรับเปลี่ยนแผนธุรกิจใหม่ระมัดระวังหรือหยุดปล่อยกู้ยัมเงิน หรือการขอมาร์จิ้น โดยวางหุ้นเป็นประกันในกลุ่มหุ้นกลางเล็ก ซึ่งหากนักลงทุนจะมีการซื้อขายหุ้นหลังจากนี้จะต้องใช้เงินสดซื้อขายเองเท่านั้น”จากเดิมโบรกเกอร์มีแหล่งรายได้มาจากค่คอมมิสชัน และปล่อยกู้แก่นักลงทุนและบางโบรกเกอร์ใช้แผนกดคำคอมมิสชันตนเองให้ต่ำ ทำให้รายได้ค่คอมน้อย ก็จะไปหวังพึ่งมูลค่าการปล่อยกู้ยืมงินปริมาณยอะ 1 ซึ่งทำให้ธุรกิจอยู่บนความเสี่ยงมาก ซึ่งหลังจากนี้โบรกเกอร์เหล่านี้จึงเปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่ระมัดระวังการปล่อยกู้มากขึ้น หรือโบรกเกอร์ที่เคยปล่อยกู้ง่าย ก็ปล่อยกู้ยากขึ้น ซึ่งปัญหาเหล่านี้ยิ่งจะเกิดกับบรรดาหุ้นเล็ก ๆ ที่ในตอนนี้ ราคาพุ่งขึ้นไป 100-200% ให้เข้าสู่ภาวะชบเซามากขึ้น”

…ทีมเศรษฐกิจ…