ในช่วงนี้ที่ดราม่าร้อนโลกออนไลน์ ว่าด้วยเรื่องทนายคนดังออกมาโพสต์แสดงความเห็นในเรื่องต่างๆ จนพากันสวนกันไปมาอย่างดุเดือด จนทำให้หลายคนถึงกับสงสัยไปตามๆ กัน ว่าอันที่จริงแล้ว การเป็นทนายที่ต้องอาศัยความน่าเชื่อถือนั้น.. สามารถทำได้ด้วยหรือ?

หากย้อนไปดูตาม พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ได้ระบุตาม หมวด 6 มรรยาททนายความ เอาไว้ดังนี้
มาตรา 51 ทนายความต้องประพฤติตนตามข้อบังคับว่าด้วยมรรยาททนายความ การกำหนดมรรยาททนายความให้สภาทนายความตราเป็นข้อบังคับ ทนายความผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับที่สภาทนายความตราขึ้น ให้ถือว่าทนายความผู้นั้นประพฤติผิดมรรยาททนายความ

มาตรา 52 โทษผิดมรรยาททนายความมี 3 สถาน คือ
1.ภาคทัณฑ์
2.ห้ามทำการเป็นทนายความมีกำหนดไม่เกินสามปี หรือ
3.ลบชื่อออกจากทะเบียนทนายความ

ในกรณีประพฤติผิดมรรยาททนายความเล็กน้อยและเป็นความผิดครั้งแรก ถ้าผู้มีอำนาจสั่งลงโทษแล้วแต่กรณี เห็นว่ามีเหตุอันควรงดโทษ จะงดโทษให้โดยว่ากล่าวตักเตือน หรือให้ทำทัณฑ์บนเป็นหนังสือไว้ก่อนก็ได้

สำหรับ ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 ได้ระบุถึงมรรยาทที่ทนายความ ต้องปฏิบัติในด้านต่างๆ ดังนี้
มรรยาทต่อศาลและในศาล
-ไม่รับหน้าที่เมื่อผู้พิพากษาได้ขอแรงให้เป็นทนายความแก้ต่างในคดีอาญาเว้นแต่ จะมีข้อแก้ตัวโดยสมควร
-ไม่เคารพยําเกรงอํานาจศาล หรือกระทําการใดอันเป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษาในศาลหรือนอกศาล อันเป็นการทําให้เสื่อมเสียอํานาจศาลหรือผู้พิพากษา
-กล่าวความ หรือทําเอกสารหรือหลักฐานเท็จ หรือใช้กลอุบายลวงให้ศาลหลงหรือกระทําการใดเพื่อทราบ คําสั่ง หรือคําพิพากษาของศาลที่ยังไม่เปิดเผย
-สมรู้เป็นใจโดยทางตรงหรือทางอ้อม เพื่อทําพยานหลักฐานเท็จ หรือเสี้ยมสอนพยานให้เบิกความเท็จ หรือ โดยปกปิดซ่อนงําอําพรางพยานหลักฐานใด ๆ ซึ่งควรนํามายื่นต่อศาล หรือสัญญาจะให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน หรือสมรู้เป็นใจในการให้สินบนแก่เจ้าพนักงาน

มรรยาทต่อตัวความ
-กระทําการใดอันเป็นการยุยงส่งเสริมให้มีการฟ้องร้องคดีกันในกรณีอันหามูลมิได้
-ใช้อุบายอย่างใดอย่างหนึ่งดังกล่าวต่อไปนี้ เพื่อจูงใจให้ผู้ใดมอบคดีให้ว่าต่างหรือแก้ต่าง
-หลอกลวงให้เขาหลงว่าคดีนั้นจะชนะ เมื่อตนรู้สึกแก่ใจว่าจะแพ้ อวดอ้างว่าตนมีความรู้ยิ่งกว่าทนายความอื่น อวดอ้างว่าเกี่ยวเป็นสมัครพรรคพวกรู้จักคุ้นเคยกับผู้ใดอันกระทําให้เขาหลง ว่าตนสามารถจะทําให้ เขาได้รับ ผลเป็นพิเศษ นอกจากทางว่าความ หรือหลอกลวงว่าจะชักนําจูงใจให้ผู้นั้นช่วยเหลือคดีในทางใดๆ ได้ หรือ แอบอ้างขู่ว่าถ้าไม่ให้ตนว่าคดีนั้น แล้วจะหาหนทางให้ผู้นั้นกระทําให้คดีของเขาเป็นแพ้
-เปิดเผยความลับของลูกความที่ได้รู้ในหน้าที่ของทนายความ เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากลูกความนั้นแล้ว หรือโดยอํานาจศาล
-กระทําการจงใจขาดนัด หรือทอดทิ้งคดี ปิดบังข้อความที่ ควรแจ้งให้ลูกความทราบ อันอาจทําให้เสื่อมเสียประโยชน์ของลูกความ
-ได้รับปรึกษาหารือ หรือได้รู้เรื่องกรณีแห่งคดีใดโดยหน้าที่อันเกี่ยวข้องกับคู่ความฝ่ายหนึ่ง แล้วภายหลัง ไปรับเป็นทนายความหรือใช้ความรู้ที่ได้มานั้นช่วยเหลือคู่ความ อีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเป็นปรปักษ์อยู่ในกรณีเดียวกัน
-ได้รับเป็นทนายความแล้ว ภายหลังใช้อุบายด้วยประการใดๆ โดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เพื่อจะให้ ตนได้รับประโยชน์ นอกเหนือจากที่ลูกความได้ตกลงสัญญาให้
-กระทําการใดอันเป็นการฉ้อโกง ยักยอก หรือตระบัดสินลูกความ หรือครอบครอง หรือหน่วงเหนี่ยวเงิน หรือทรัพย์สินของลูกความที่ตนได้รับมาโดยหน้าที่อัน เกี่ยวข้องไว้นานเกินกว่าเหตุ โดยมิได้รับความยินยอม จากลูกความ เว้นแต่จะมีเหตุอันสมควร

มรรยาทต่อทนายความด้วยกัน ต่อประชาชนผู้มีอรรถคดี และอื่นๆ
-แย่ง หรือทําการใดในลักษณะประมูลคดีที่มีทนายความอื่นว่าต่างแก้อยู่แล้วมาว่า หรือรับ หรือสัญญาว่า จะรับว่าต่าง แก้ต่างอยู่แล้วมาว่า หรือรับ หรือสัญญาว่าจะรับว่าต่าง แก้ต่างในคดีที่รู้ว่ามีทนายความอื่นว่าอยู่แล้ว เว้นแต่
-ประกาศโฆษณา หรือยอมให้ผู้อื่นประกาศโฆษณาใด ๆ เกี่ยวกับอัตราค่าจ้างว่าความ หรือแจ้งว่าไม่เรียกร้องค่าจ้างว่าความ หรือ ชื่อ คุณวุฒิ ตําแหน่ง ถิ่นที่อยู่ หรือสํานักงาน อันเป็นไปในทางโอ้อวดเป็นเชิงชักชวนให้ผู้มีอรรถ คดีมาหาเพื่อเป็นทนายความ ว่าต่างหรือแก้ต่างให้ เว้นแต่การแสดงชื่อ คุณวุฒิหรืออื่นๆดังกล่าวตามสมควรโดยสุภาพ
-ห้ามประกอบอาชีพ ดําเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสีย ต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของทนายความ
-ยินยอมตกลง หรือให้คํามั่นสัญญาว่าจะให้ค่านายหน้าหรือบําเหน็จรางวัลใด ๆ ด้วยทรัพย์สิน หรือ ประโยชน์ใด ๆ แก่ผู้ที่หาคดีความมาให้นั้น แม้บุคคลผู้หาคดีความมาให้โดยลักษณะดังกล่าวจะเป็นเสมียนหรือ ลูกจ้างประจํา สํานักงานของทนายความผู้นั้นก็ตาม

ส่วน “มรรยาทในการแต่งกาย” ที่ระบุเอาไว้ด้วยว่า ทนายความจะต้องแต่งกายสุภาพเรียบร้อยตามหลักเกณฑ์อย่างไรบ้าง

ทั้งนี้ ทนายความจะต้องปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัดเพื่อให้เป็นไปตามคําสั่งของสภานายก พิเศษ แห่งสภา ทนายความ คณะกรรมการ สภาทนายความ และคณะกรรมการมรรยาททนายความ ตลอดจนบรรดาข้อบังคับ หรือข้อกําหนดที่บุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวได้สั่งหรือ มีไว้แล้วแต่กรณี ตามอํานาจหน้าที่ซึ่งมีอยู่ตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย..

ขอบคุณภาพและข้อมูลจาก @สภาทนายความ ในพระบรมราชูปถัมภ์