กรณี”พลายศักดิ์สุรินทร์” ทูตสันถวไมตรี ที่ถูกส่งไปเป็นทูตสันถวไมตรีที่ศรีลังกาตั้งแต่ ปี 2544 ต่อมาได้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้แรงงาน พลายศักดิ์สุรินทร์ที่ค่อนข้างหนัก อีกทั้งไม่ได้รับการดูแล ถูกล่ามโซ่ มีสภาพผอมโซ มีบาดแผลฝีที่สะโพก และขาบาดเจ็บ ไม่ได้รับการดูจนเจ็บป่วยร่างกายทรุดโทรม ก่อนหลายฝ่ายร่วมกันผลักดันทวงคืนพลายศักดิ์สุรินทร์ กลับคืนสู่บ้านเกิด ซึ่งเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา”พลายศักดิ์สุรินทร์” ทูตสันถวไมตรี ได้ขึ้นเครื่องกลับไทย ด้วยเครื่องบินแบบ Ilyushin IL-76 (อิลยูชิน อิล-76) โดยมีเจ้าหน้าที่ดูแลอย่างใกล้ชิด ตามที่ได้เสนอข่าวไปแล้วนั้น

‘พลายศักดิ์สุรินทร์’ ถึงแผ่นดินไทยแล้ว ‘วราวุธ’ นำคณะสัตวแพทย์ประเมิน ก่อนส่งฟื้นฟู

ความคืบหน้า เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 2 ก.ค. นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะ เดินทางมายังท่าอากาศยานจังหวัดเชียงใหม่ เพื่อเตรียมรับตัว”พลายศักดิ์สุรินทร์” โดยมีทีมแพทย์เตรียมความพร้อมในการตรวจสุขภาพของช้างเชือกดังกล่าว เพื่อเตรียมการเคลื่อนย้ายไปรักษาอาการบาดเจ็บ จนกระทั่งเวลา 14.10 เครื่องบินIlyushin IL-76 (อิลยูชิน อิล-76) ที่บินมาจากสนานบิน บันดารานายาเก กรุงโคลัมโบ ประเทศศรีลังกา ก็ลงจอดที่ท่าอากาศยานจังหวัดเชียงใหม่ ทางทีมสัตวแพทย์ก็เข้าไปดูแลอาการ ก็พบช้างมีความตื่น และบาดเจ็บหลายจุดในร่างกาย จึงทำการลำเลียงส่งไปรับการรักษาดูแลที่ สถาบันคชบาลแห่งชาติลำปาง

นายวราวุธ เปิดเผยว่า หลังจากที่ได้มีการติดต่อประสานงานในการส่งตัวช้าง”พลายศักดิ์สุรินทร์” ทูตสันถวไมตรีซึ่งประเทศศรีลังกาได้ขอเพื่อนำไปฝึกใช้ในการอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ในงานแห่พระธาตุเขี้ยวแก้ว ซึ่งเป็นงานใหญ่ประจำปีของศรีลังกา ต่อมาได้มีการร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้แรงงาน พลายศักดิ์สุรินทร์ที่ค่อนข้างหนัก ว่าช้างเชือกนี้ไม่ได้รับการดูแล ถูกล่ามโซ่ มีสภาพผอมโซ มีบาดแผลฝีที่สะโพก และขาบาดเจ็บ ไม่ได้รับการดูจนเจ็บป่วยร่างกายทรุดโทรม ที่ผ่านมาทางเจ้าหน้าที่ ได้มีการติดต่อประสานงานในการรับใช้ช่วงนี้กลับมารักษายังประเทศไทย ซึ่งทางรัฐบาลศรีลังกาเห็นชอบ ว่าพลายศักดิ์สุรินทร์ ควรได้รับการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม จนมีการขนย้ายในวันนี้

สำหรับพลายศักดิ์สุรินทร์ ถือเป็นช้างที่มีคชลักษณ์โดดเด่นตรงตามความต้องการของศรีลังกาเพื่อใช้ในงานแห่พระธาตุเขี้ยวแก้ว ซึ่งหลังจากถูกส่งไปอยู่ศรีลังกา รัฐบาลศรีลังกาได้โอนกรรมสิทธิ์ช้างเชือกนี้ให้กับ “วัดคันเดวิหาร” (Kande Vihara) เป็นผู้รับช่วงดูแลต่อ เพื่อให้ทำหน้าที่ในขบวนอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุในงานแห่พระธาตุประจำปีของศรีลังกา ซึ่งมีเฉลี่ย 30 ครั้งต่อปี แต่ภายหลังทางองค์กร “Rally for Animal Rights & Environment” (RARE) ซึ่งเป็นองค์การด้านการพิทักษ์สิทธิสัตว์ในศรีลังกา ได้ร้องเรียนเกี่ยวกับการใช้แรงงานพลายศักดิ์สุรินทร์ที่ค่อนข้างหนัก ว่าช้างเชือกนี้ไม่ได้รับการดูแล ถูกล่ามโซ่ มีสภาพผอมโซ มีบาดแผลฝีที่สะโพก และขาบาดเจ็บ ควรได้รับการรักษาพยาบาลอย่างเร่งด่วน จึงได้มีการประสานงานเพื่อลำเลียงชั้นช่วงนี้ส่งมารักษาตัวอย่างประเทศไทยดังกล่าว