เมื่อวันที่ 21 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภาว่า สำหรับคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญประจำสภาผู้แทนราษฎร ทั้ง 35 คณะ แบ่งเป็นสัดส่วนตามจำนวน สส. ดังนี้พรรคก้าวไกล 11 คณะ คือ 1.กมธ.ศึกษาการจัดทำและติดตามการบริหารงบประมาณ 2.กมธ.การพัฒนาการเมือง การสื่อสารมวลชน และการมีส่วนร่วมของประชาชน 3.กมธ.การพัฒนาเศรษฐกิจ 4.กมธ.สวัสดิการสังคม 5.กมธ.การทหาร 6.กมธ.ความมั่นคงแห่งรัฐ กิจการชายแดนไทย ยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ 7.กมธ.การที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 8.กมธ.การเกษตรและสหกรณ์ 9.กมธ.การวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิจัยและนวัตกรรม 10.กมธ.กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชน และกองทุน และ 11.กมธ.การคุ้มครองผู้บริโภค

พรรคเพื่อไทย (พท.) 10 คณะ คือ 1.กมธ.การป้องกันและปราบปรามการทุจริตประพฤติมิชอบ 2.กมธ.การคมนาคม 3.กมธ.การท่องเที่ยว 4.กมธ.การสาธารณสุข 5.กมธ.การต่างประเทศ 6.กมธ.การศาสนา ศิลปะ และวัฒนธรรม 7.กมธ.กิจการสภาผู้แทนฯ 8. กมธ.การสื่อสารโทรคมนาคมและดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม 9.กมธ.ป้องกันปราบปรามการฟอกเงินและยาเสพติด 10.กมธ.การเงิน การคลัง สถาบันการเงินและตลาดการเงิน 

พรรคภูมิใจไทย (ภท.) 5 คณะ คือ 1.กมธ.การศึกษา 2.กมธ.การกระจายอำนาจ การปกครองส่วนท้องถิ่น และการบริหารราชการรูปแบบพิเศษ 3.กมธ.การปกครอง 4.กมธ.การป้องกันและบรรเทาผลกระทบจากภัยธรรมชาติและสาธารณภัย และ 5.กมธ.การแรงงาน 

พรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) 3 คณะ ได้แก่ 1.กมธ.กีฬา 2.กมธ.แก้ไขปัญหาหนี้สินแห่งชาติ และ 3.กมธ.แก้ไขปัญหาราคาผลิตผลเกษตรกรรม 

พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) 2 คณะ ได้แก่ 1.กมธ.การพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา และ 2.กมธ.การตำรวจ 

พรรครวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) 2 คณะ ได้แก่ 1.กมธ.กิจกการการพลังงาน และ 2.กมธ.การอุตสาหกรรม 

พรรคชาติไทยพัฒนา (ชทพ.) 1 คณะ คือ กมธ.กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ ผู้พิการกลุ่มชาติพันธุ์ และผู้มีความหลากหลายทางเพศ

พรรคประชาชาติ (ปช.) 1 คณะ คือ กมธ.การกฎหมายการยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน

สำหรับ กมธ.กิจการศาลฯ มีพรรค ก.ก. และพรรค รทสช. แบ่งกันเป็นประธาน กมธ.คนละครึ่ง.