เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 17 ต.ค. ที่ กระทรวงสาธารณสุข ผู้บริหารเดลินิวส์ และกองบรรณาธิการ นำโดย นายปารเมศ เหตระกูล กรรมการบริหารบริษัทสี่พระยาการพิมพ์ จำกัด นางสิริวรรณ พันธุ์ปรีชากิจ กรรมการบริหาร นายอภิชัย รุ่งเรืองกุล บรรณาธิการผู้พิมพ์และผู้โฆษณา และรองบรรณาธิการบริหาร นายนพปฎล รัตนพันธ์ รองบรรณาธิการบริหาร และกองบรรณาธิการ เข้าพบนพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รมว.สาธารณสุข เพื่อแสดงความยินดีในโอกาสรีบตำแหน่งรมว.สารณสุข พร้อมระบุว่า ทางหนังสือพิมพ์เดลินิวส์ พร้อมที้จะเป็นสื่อกลางในการนำเสนอข่าวสาร เป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ประชาชนมีความรู้ด้านสุขภาพเพื่อดูแลตัวเอง และคนรอบข้างให้มีสุขภาพดีทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ ทั้งนี้ในวันที่ 30 พ.ย. 2566 เดลินิวส์จะมีการจัด “เดลินิวส์ ทอล์ค” ที่จะมีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และรมว.การคลัง มาร่วมพูดคุย พร้อมรับฟังข้อเสนอจากประชาชนที่จะมีการสรุปจากการทำโพลร่วมระหว่าง “เดลินิวส์xมติชน” ดังนั้น จึงขอเชิญนพ.ชลน่าน เข้าร่วมงานด้วย

นพ.ชลน่าน กล่าวขอบคุณที่หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ช่วยสื่อสารประเด็นสุขภาพ ซึ่งขณะนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะเน้นเรื่องความรอบรู้เรื่องสุขภาพ (Health literacy) เพราะตอนนี้เรารู้ว่า คำว่า สุขศึกษาอาจจะไม่ตอบโจทย์แล้ว อย่างกระทรวงสาธารณสุข อาจจะยกเลิกกองสุขศึกษา ปรับใหม่ให้มีความเหมาะสม ซึ่งทุกวันนี้ต้องยอมรับว่า ปัญหาสุขภาพที่เป็นปัญหาของไทย กว่า 85% เป็นการเจ็บป่วยจากพฤติกรรม อีก 13-15% เกิดจากโรคติดเชื้อ ดังนั้น ตอนนี้ เราต้องดูแลสุขภาพและภัยสุขภาพรอบด้านทั้ง สังคม เศรษฐกิจ ความมั่นคง จากเดิมที่เราอาจจะดูแค่ 2 มิติ คือ กาย ใจเท่านั้น เราต้องดูแลรอบด้าน ตอนนี้จะไม่ดูไม่ได้เพราะ โรคหลายโรคเกิดจากพฤติกรรม อย่างกรณีเด็ก 14 ปีที่ก่อความรุนแรง เป็นคำอธิบายตรงๆเลยว่า เกิดจากมิติสุขภาพ การกลั่นกรองทางสังคม การเลี้ยงดู เศรษฐสถานะ เศรษฐกิจ

“ตอนนี้ เด็กมีปัญหาด้านสุขภาพจิตเยอะมาก โดย 10-15 ปี ถ้านับย้อนหลังกลับไป มุมของคนในสังคมเราเปลี่ยนไป โดยเฉพาะพฤติกรรม การมีปฏิกิริยาต่อสังคมต่างๆ เด็กกลายเป็นเด็กสมาธิสั้น การตัดสินใจต่างๆ ไม่ค่อยผ่านกระบวนการไตร่ตรอง คิด วิเคราะห์ แยกแยะ เด็กสมัยนี้มาเร็วไปเร็ว นี่เป็นสิ่งที่เรากังวลมาก จึงจะมาเน้นในเรื่องของความตระหนักรู้ความเข้าใจ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่นำมาสู่ปัญหาสุขภาพ ซึ่งการดูแลแก้ปัญหาตรงนี้ต้องเป็นลักษณะของการผสมผสาน อย่างการกล่อมเกลาเลี้ยงดูคน ถ้ากลับไปมองว่าเด็กคนนึงเกิดมา ระบบการขัดเกลาทางสังคม ครอบครัว เพื่อน โรงเรียนจะเห็นว่ามีความเปลี่ยนแปลงหมด แต่มันต้องทำให้ทุกองค์คาพยพ รู้ว่าพวกเขามีส่วนร่วมในการกำหนดสุขภาพของประชาชน แล้วจะวางบทบาทอย่างไร” นพ.ชลน่าน กล่าว

รมว.สาธารณสุข กล่าวต่อว่า เรื่องที่ 2 โครงสร้างประชากร ขอให้หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ช่วยกันรณรงค์ บอกกล่าว กระทั่งเวบาผู้บริหารไผอวยพรคู่บ่าว – สาว ก็ขอให้อวยพรด้วยว่า ขอให้มีลูก 3 คน ส่วนตัวเวลาไปอวยพรบ่าวสาวก็จะพูดเรื่องนี้เป็นเรื่องแรก เพราะตอนนี้อัตราการเสียชีวิต แซงอัตราการเกิด โดยอัตราการเกิดลดเหลือ 5 แสนคน ลดลงจาก 1.2 – 1.3 ล้านคน ขณะที่อัตราการเกิดที่เหมาะสมควรอยู่ที่ 2.1 คน แต่ตอนนี้อยู่แค่ 1.6 คน เท่านั้น ดังนั้นเป็นเรืางที่ต้องผลักดันให้เป็นนโยบายแห่งชาติ ซึ่งอยู่ระหว่างรอนายกฯ ประกาศอย่างเป็นทางการ เราเห็นใจพ่อแม่ ว่าลูก 1 คนเกิดมาต้องมีค่าเลี้ยงดูจำนวนมาก เกิดมาแล้วจะสามารถอยู่ในสังคมนี้ได้หรือไม่ เพราะไม่ว่างจะเป็นเรื่องของมิติเศรษฐกิจความมั่นคงก็จะต้องมีคำตอบให้เขา ความปลอดภัยในสังคมภัยเงียบ ทำให้คนคิดหนักบางคนไม่กล้ามีลูกพอเจอแบบนี้คนเขาก็ขยาด ฉันขอเดลินิวส์ช่วยกันสร้างการสื่อสารเชิงบวกมีลูกมีแต่ได้.