เมื่อวันที่ 2 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รศ.ดร.เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ อาจารย์ประจำภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาฯ และนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ ได้โพสต์เฟซบุ๊ก “Jessada Denduangboripant” ถึงประเด็นที่กำลังเป็นไวรัลเรื่องน้ำอัดลมชื่อดัง มีสารก่อมะเร็ง โดยระบุว่า “(รายงานข่าว) อ.เจษฎ์ ไขปริศนากรณีเจอสารก่อมะเร็งในน้ำอัดลมชื่อดัง คนเอาไปทำคลิปสนั่นจนเป็นไวรัล อธิบายมันคือสีผสมอาหาร ก่อมะเร็งในสัตว์ที่รับเข้าไปมาก ๆ และนาน

วันที่ 1 ธันวาคม 2566 บนโลกออนไลน์ได้มีการส่งต่อข้อความว่า โดยการเผยให้เห็นถึงสลากน้ำอัดลมของเจ้าหนึ่ง และระบุว่ามีสาร E-150d พร้อมกับอ้างว่าสารนี้คือสารก่อมะเร็ง มีการตรวจสอบที่ดำเนินการโดย IARC ที่เป็นหน่วยงานระหว่างประเทศเพื่อวิจัยมะเร็งขององค์การอนามัยโลก และแบบนี้อาจจะเป็นจุดอวสานของการดื่มน้ำอัดลมชื่อดัง ดังกล่าว

ด้าน อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์ ได้ออกมาโพสต์ถึงเรื่องนี้ผ่านเฟซบุ๊ก อ๋อ มันเป็นอย่างนี้นี่เอง by อาจารย์เจษฎ์ ว่า IARC ไม่เคยจัดให้สาร E-150d เป็นสารก่อมะเร็งใด ๆ ซึ่งสารนี้ คือสีผสมอาหารที่ทำมาจากคาราเมล โดยการเอาน้ำตาลมาคั่วจนเกิดน้ำตาลไหม้ และทำให้น้ำอัดลมดังกล่าวมีสีดำ

รู้จักสีผสมอาหาร 2 กลุ่ม และการก่อมะเร็งในสัตว์ แต่ไม่ใช่กับคน
E-150c : สีผสมอาหารคาราเมลกลุ่ม 3 : แอมโมเนียคาราเมล
E-150d : สีผสมอาหารคาราเมลกลุ่ม 4 : ซัลไฟต์แอมโมเนียคาราเมล

อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการผลิดสารกลุ่มย้อมสีคาราเมลนี้ ที่มีหลายตัว อาจจะก่อให้เกิดสารใหม่ที่ชื่อว่า 4-MEI หรือ 4-Methylimidazole ซึ่งสารตัวนี้เองที่ถูกจัดไว้ในกลุ่มสารที่มีโอกาสก่อให้เกิดมะเร็ง หมายความว่า สัตว์ที่ได้รับสาร 4-MEI นี้เข้าไปนาน ๆ ในปริมาณที่เยอะ โดยการทดลองนั้น จะให้หนูรับสาร 4-MEI ดังกล่าว ในปริมาณ 40 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ซึ่งถือเป็นปริมาณที่มาก เป็นระยะเวลา 2 ปีต่อกัน จนเกิดเนื้องอกที่ปอด

หนูที่ได้รับสาร 4-MEI ในปริมาณที่มากสุด ๆ คือ 170 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว ก็จะเกิดเนื้องอกที่นำไปสู่มะเร็ง นั่นหมายความว่า ทำให้พอมีหลักฐานว่าเกิดมะเร็งในสัตว์ แต่ไม่มีหลักฐานชัดในมนุษย์
ข้อกำหนดการใช้ และยืนยันว่า รับประทานเข้าไป ไม่ก่อให้เกิดมะเร็ง

สาร 4-MEI อาจจะเกิดขึ้นในกระบวนการผลิตสีผสมอาหารคาราเมลกลุ่ม 3 (E-150c) และกลุ่ม 4 (E-150d) ระหว่างการให้ความร้อนน้ำตาลกับกลุ่มในโตรเจน เพื่อให้เกิดกระบวนการสร้างคาราเมล และหน่วยงานอาหารของยุโรป มีการกำหนดปริมาณการใช้ดังนี้
– สีผสมอาหารกลุ่ม E-150c ต้องมีไม่เกิน 200 มก/กก.
– สีผสมอาหารกลุ่ม E-150d ต้องมีไม่เกิน 250 มก/กก.

ส่วนที่สหรัฐอเมริกานั้น กำหนดว่า ผสมอาหารคาราเมลต้องมีไม่เกิน 250 มก/กก. และทาง FDA (องค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ) เชื่อว่าการรับสารในกลุ่ม 4-MEI ไม่มีอันตรายร้ายแรงในระยะเวลาอันสั้น

ในส่วนประเทศไทย สีผสมอาหารคาราเมลนั้น ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มสีธรรมชาติ และอนุญาตให้ใช้ได้ เช่น
– ขนมขบเคี้ยว จะใช้สีคาราเมลรหัส INS-150d หรือสีคาราเมลกลุ่มที่ 4 (E-150d) มีปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้เจือปนในอาหารได้ถึง 5000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร
– สีคาราเมลในกลุ่มที่ 3 (E-150c) ให้มีปริมาณสูงสุดที่อนุญาตให้เจือปนในอาหารได้ถึง 5000 มิลลิกรัม/กิโลกรัมอาหาร

โดยสรุปแล้ว สีผสมอาหาร E-150d แม้จะมีการพบสาร 4-MEI ที่ก่อให้เกิดมะเร็งในหนูทดลอง แต่หนูทดลองต้องได้ในปริมาณมาก ๆ และยาวนาน นั่นจึงทำใหเการรับสารนี้มีความเสี่ยงต่ำที่จะก่อให้เกิดมะเร็ง และไม่จำเป็นต้องมีคำเตือนบนฉลาก เพียงแค่ต้องกำหนดปริมาณสาร 4-MEI ไม่ให้มากเกินไป”

ขอบคุณข้อมูล – ภาพ เฟซบุ๊ก “Jessada Denduangboripant”