สำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย(กพท.) แจ้งว่า ขณะนี้ธุรกิจสายการบินของประเทศไทยมีการเติบโตเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการที่มีอัตราเพิ่มขึ้นมากกว่าดังนั้น กพท. ในฐานะหน่วยงานกํากับ ดูแล และส่งเสริมการ ดําเนินงานของกิจการการบินพลเรือนให้เป็นไปตามกฎระเบียบและมาตรฐานสากล จึงได้เร่งกระบวนการ อนุมัติ/อนุญาตให้สายการบินสามารถจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติมให้รวดเร็วขึ้น และผ่อนปรนกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้สายการบินสามารถจัดหาเครื่องบินมาใช้เพิ่มเติม ให้ทันต่อความต้องการเดินทางของผู้โดยสาร ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวส่งผลให้มีผู้ประกอบการสายการบินผ่านขั้นตอนได้รับใบอนุญาต เดินอากาศ (AOL: Air Operator License) จาก รมว.คมนาคมเพิ่มขึ้น 8 ราย และผู้ประกอบการสายการบินขอนําเครื่องบินเข้าฝูงบินอีก 60 ลํา ตลอดปี 67

ขณะเดียวกัน กพท. ยังอยู่ระหว่างศึกษา เปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย เพื่อทบทวนว่าหลักเกณฑ์และกฎระเบียบที่ใช้ในปัจจุบัน สมควรได้รับการแก้ไข อย่างไรหรือไม่ ทั้งนี้สายการบินภายในประเทศทุกวันนี้ไม่ได้ทําหน้าที่ภายในประเทศเท่านั้น แต่ทําหน้าที่เชื่อมโยงไปถึงการรองรับเที่ยวบินระหว่างประเทศด้วย ดังนั้นหากประเทศต้องการเพิ่มรายได้จากภาคการท่องเที่ยว ก็จําเป็นต้องมีโครงสร้างพื้นฐานของสายการบินภายในประเทศที่แข็งแรง บางช่วงเวลาสายการบินจําเป็นต้องทํากําไร เพื่อชดเชยเที่ยวบินส่วนใหญ่ที่กําไรน้อย หรือขาดทุน กลไกตลาดซึ่งเป็นองค์ประกอบสําคัญของระบบเศรษฐกิจเสรีที่ทําให้ราคาสินค้าปรับขึ้นลงตามปริมาณอุปสงค์ และอุปทาน จึงเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ตราบใดที่ไม่ฝ่าฝืนกฎระเบียบที่ กพท.กําหนดไว้ เช่น เพดานราคา เป็นต้น

ในขณะที่ภาครัฐต้องพยายามรักษาขีดความสามารถของสายการบินสัญชาติไทยในฐานะโครงสร้าง พื้นฐานที่มีบทบาทสําคัญในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ ทั้งการดําเนินการเพื่อลดต้นทุนบางรายการของอุตสาหกรรมการบิน การมีนโยบายใหม่ๆ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับสายการบินมากขึ้น ขณะเดียวกันก็ ต้องสร้างสมดุลทางด้านราคา เพื่อให้ไม่เกิดภาระกับประชาชน และผู้โดยสารมากเกินไป โดยการเพิ่มอุปทานเข้าสู่ระบบให้มีจํานวนสายการบิน เครื่องบิน และเที่ยวบินเพิ่มขึ้นจนถึงจุดสมดุล ซึ่งได้ดําเนินการไปแล้ว และคาดว่าจะทําให้แนวโน้มราคาค่าโดยสารเครื่องบินค่อยๆ ปรับตัวลดลงในปี 67.