พล.อ.อ.เสนาะ พรรณพิกุล ผู้อำนวยการสำนักงานพิพิธภัณฑ์เกษตรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เปิดเผยว่า “ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว” คำกล่าวที่บอกถึงความอุดมสมบูรณ์ของแหล่งอาหารและทรัพยากรของไทย เชื่อมโยงวิถีชีวิตเกษตรกรไทยกับแหล่งน้ำธรรมชาติมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แสดงถึงความสำคัญของระบบนิเวศของไทย พันธุกรรมพืชน้ำและสัตว์น้ำ ที่เป็นทั้งอาหาร พัฒนาต่อยอดสร้างรายได้ พิพิธภัณฑ์การเกษตรฯ จึงจัดงานตลาดเศรษฐกิจพอเพียง “พันธุกรรมไทยใต้น้ำ” ขึ้นในเดือนมีนาคมนี้ ภายในงานประกอบด้วยนิทรรศการ ป.ปลาตากลม แหล่งโปรตีนพระราชทานของพระราชา ได้แก่นิทรรศการปลานิล พันธุกรรมปลาต่างๆ และสัตว์น้ำ เช่น ปลากัด หอยขม กุ้งฝอย ปูนา ปลาน้ำจืดพื้นเมือง สัตว์เศรษฐกิจสร้างรายได้อีกมากมาย อาทิ ปลาดุก ปลาหมอไทย ปลาชะโอน ปลาทับทิม ปลาตะเพียน นิทรรศการพืชน้ำ นำเสนอ ผำ Super Food แหล่งโปรตีนทางเลือก และพืชน้ำอื่นๆ อาทิ ผักก้านจอง ผักกระฉูด ผักกระเฉด เป็นต้น

นิทรรศการจากเกษตรกรรุ่นใหม่ Young Smart Farmer คุณนวลณกรรณจพร เครือขอน บ้านสวนธนกร จ.ลพบุรี ในหัวข้อ มหัศจรรย์ปลาไทย สร้างอาชีพ เกษตรดีเด่นสาขาอาชีพไร่นาสวนผสม ปี 2565 และประธาน Young Smart Farmer จ.ลพบุรี จากสาวออฟฟิศ สู่เกษตรกรรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จจากการทำเกษตรผสมผสาน ที่จะมาถ่ายทอดองค์ความรู้การคัดเลือกสายพันธุ์ปลา เทคนิคการเลี้ยงปลาให้มีคุณภาพพร้อมส่งขายและให้มีเพียงพอต่อความต้องการของตลาด อาทิ ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาช่อน ผลิตภัณฑ์การแปรรูปจากปลา และ workshop เสริมอาชีพ การทำนักเก็ตปลา คุกกี้จากก้างปลา การทำฮอร์โมนปลาและน้ำพริกปลากรอบ ส่งตรงองค์ความรู้ 8 วิชา อบรมวิชาของแผ่นดินฟรี!! อาทิ หลักสูตร การเพาะขยายพันธุ์ปลาเศรษฐกิจ โดยอาจารย์สงบ ศรีเมือง และ ดร.สุภาพร สัตตัง อาจารย์ประจำสาขาประมง จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปทุมธานี หลักสูตร เลี้ยงง่าย ขายดี หอยเชอรี่สีทอง หลักสูตร หอยเป๋าฮื้อน้ำจืด โดยอาจารย์อรรถพล แก้วอำไพ เครือข่ายพิพิธภัณฑ์เกษตรฯ จังหวัดสระบุรี และหลักสูตรขนมปังแป้งข้าวพื้นบ้าน โดยอาจารย์รัญญา นวลคง เจ้าของเพจ Pung Craft จากจังหวัดพัทลุง เป็นต้น

งานจัดขึ้นระหว่างวันที่ 2-3 มีนาคม 2567 ระหว่างเวลา 08.00-17.00 น. ณ พิพิธภัณฑ์การเกษตรเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดปทุมธานี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม 0-2529-2212-13, 08-7359-7171 คลิกดูรายละเอียดได้ที่ www.wisdomking.or.th หรือ facebook / Line ID : @wisdomkingmuseum