ปัญหาการขาดดุลการค้า ยังเป็นปัญหาใหญ่ของเศรษฐกิจไทย ซึ่งตัวเลขเมื่อปี 66 ภาพรวมการส่งออกไทยปี 66 มีมูลค่า 284,561 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่การนำเข้า มูลค่า 289,754 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขาดดุลการค้า 5,192 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1.99 แสนล้านบาท โดยประเทศไทยที่ขาดดุลการค้ามากสุดมาจากประเทศจีน โดยทั้ง 2 ประเทศมีมูลค่าการค้าร่วมกัน 104,964 ล้านดอลลาร์ แต่ไทยส่งออกไปจีน 34,164 ล้านดอลลาร์ ขณะเดียวกันนำเข้าจากจีน 70,800 ล้านดอลลาร์ ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 36,635 ล้านดอลลาร์ หรือ 1.4 ล้านล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ปัญหาขาดดุลการค้าไทยยังคงรุนแรงต่อเนื่อง โดยสถิติการค้าไทยในเดือน ม.ค. 67 ซึ่งเดือนแรกของปี พบว่ายังมีการขาดดุลเพิ่มต่อเนื่อง ซึ่งแม้การส่งออกจะมีมูลค่า 22,649 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัว 10% สูงสุดในรอบ 19 เดือน แต่การนำเข้ากลับมีมูลค่าสูงกว่าถึง 25,407 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ไทยขาดดุลการค้า 2,757 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 106,107 ล้านบาท

สำหรับสถิติประเทศที่ไทยขาดดุลการค้าสูงสุด 10 อันดับแรกในเดือน ม.ค. 67 ได้แก่

  1. จีนขาดดุล 4,613 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือคิดเป็น 1.77 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีเดียวกันของปีที่แล้ว ที่ไทยขาดดุล 4,119 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  2. ไต้หวัน ขาดดุล 1,541 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  3. สวิตเซอร์แลนด์ 913 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  4. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 764 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  5. เกาหลีใต้ 372 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  6. ซาอุดีอาระเบีย 371 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  7. กาตาร์ 333 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  8. ญี่ปุ่น 303 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  9. บราซิล 290 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  10. มาเลเซีย 268 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

“ทุกประเทศขาดดุลลดลงยกเว้นจีน ที่มีการขาดดุลเพิ่มอย่างต่อเนื่อง โดยโครงสร้างนำเข้าสินค้าของไทยในเดือน ม.ค. 67 มาจากสินค้าเชื้อเพลิง เช่น น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ 4,268 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าทุน เช่น ผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรกล เครื่องจักรไฟฟ้า 6,001 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่ม 10.2% สินค้าวัตถุดิบและกึ่งสำเร็จรูป เช่น พืช เคมีภัณฑ์ เหล็ก พลาสติก 10,543 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แร่ เพิ่มขึ้น 10.4% สินค้าอุปโภคบริโภค เช่น นม ผักผลไม้ เนื้อสัตว์ กาแฟ เสื้อผ้ารองเท้า ของใช้เบ็ดเตล็ด มูลค่า 3,168 ล้านดอลลาร์ ยานพาหนะและอุปกรณ์ขนส่ง เช่น รถยนต์ รถบรรทุก 1,011 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลง 16.7% และอาวุธยุทธปัจจัย 415 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 30.4%