“ไฮโดรเจน” นับเป็นพลังงานทางเลือกที่ตอบโจทย์ในการสร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยคุณสมบัติของการเป็นแหล่งพลังงานสะอาดทีไม่มี สี ไม่มีกลิ่น เมื่อเผาไหม้ก็ไม่ทําให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ทําให้ไฮโดรเจนได้รับการคาดหมายว่าจะเป็น “พลังงานแห่งอนาคต”

  • ในขณะที่หลายประเทศทั่วโลก เช่น สหรัฐอเมริกา เยอรมนี อังกฤษ และญี่ปุ่น ได้มีการวิจัยและพัฒนาในเรื่องนี้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งในประเทศไทย ได้มีการใช้ประโยชน์จากเชื้อเพลิงไฮโดรเจนใน 3 ภาคส่วนหลัก ได้แก่
    – ภาคอุตสาหกรรม กลุ่มอุตสาหกรรมที่มีการใช้พลังงานความร้อนสูง เช่น อุตสาหกรรมเหล็กและเหล็กกล้า อะลูมิเนียม ซีเมนต์ เคมีภัณฑ์ การกลั่นนํ้ามัน
    – ภาคการผลิตไฟฟ้า ใช้ไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิงโดยตรง หรือนําไปผสมกับก๊าซธรรมชาติในการผลิตไฟฟ้าด้วยกังหันก๊าซไฮโดรเจน ผ่านกระบวนการเผาไหม้โดยตรง หรือผลิตพลังงานไฟฟ้าจากเทคโนโลยีเซลล์เชื้อเพลิง เช่น โรงไฟฟ้าลําตะคอง
    – ภาคการขนส่ง ยังไม่แพร่หลายในเชิงพาณิชย์ ส่วนใหญ่เป็นโครงการวิจัยและสาธิต ไฮโดรเจนสามารถนํามาใช้ผลิตเชื้อเพลิงสังเคราะห์สําหรับเครื่องยนต์สันดาปภายใน หรือใช้ในรถยนต์ไฟฟ้าแบบเซลล์เชื้อเพลิง

จากผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานจึงนำมาสู่แนวทางการพัฒนาและส่งเสริมการใช้ไฮโดรเจนของประเทศไทย เพื่อผลักดันให้บรรลุเป้าหมายและสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ 4 ด้าน ซึ่งประกอบด้วย
(1) พัฒนาตลาดและสร้างแรงจูงใจให้กับผู้ใช้
(2) ส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรม
(3) พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ
(4) ปรับปรุงกฎระเบียบและมาตรฐาน ซึ่งการดําเนินการพัฒนาไฮโดรเจนของไทยจะแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ
– ระยะสั้น (ค.ศ. 2020-2030) เป็นระยะเตรียมความพร้อม โดย จะมีการดําเนินโครงการน่ำรองสนับสนุนเงินลงทุน ศึกษารูปแบบ ธุรกิจใหม่ จัดทําแผนรองรับการนําเข้า/ส่งออก มีการทดสอบ/ ปรับปรุงระบบกักเก็บและขนส่ง และมีการจัดทํามาตรฐาน ความปลอดภัยในการผลิตและการใช้
– ระยะกลาง (ค.ศ. 2031-2040) จะเป็นการพัฒนาไฮโดรเจน ในเชิงพาณิชย์ในภาคพลังงาน โดยจะมีการใช้งานไฮโดรเจนผสม 10-20% ในระบบท่อ และรถยนต์ไฟฟ้าเซลล์เชื้อเพลิง (Fuel Cell Electric Vehicle, FCEV) มีการสนับสนุนการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ การให้แรงจูงใจทางด้านภาษี การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษี และการส่งเสริมการลงทุน จัดทําโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับ การนําเข้า/สงออก มีการปรับปรุงระบบท่อ พัฒนาโครงข่ายการขนส่ง สร้างสถานี (มากกว่า 70 แห่งทั่วประเทศ) นอกจากนี้ ยังมีการจัดทํา กฎระเบียบ และมาตรฐานของคุณภาพก๊าซธรรมชาติที่ผสมไฮโดรเจน และสถานีกักเก็บไฮโดรเจน
– ระยะยาว (ค.ศ. 2041-2050) จะเป็นการดําเนินการโดยมีเป้าหมาย มุ่งไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality) และ Net zero emission โดยจะมีการเพิ่มสัดส่วนการผสมไฮโดรเจน 25-75% ในระบบท่อ และ FCEV มีการกําหนดมูลค่าคาร์บอนในโครงสร้าง และกลไกราคา พัฒนาแพลตฟอร์มตลาด และกลไกการซื้อขายคาร์บอน จัดทําโครงสร้างพื้นฐานเพื่อรองรับการนําเข้า/ส่งออก สร้างโครงขาย RE-power เพื่อรองรับ green H สร้างสถานี (มากกว่า 180 แห่งทั่วประเทศ) นอกจากนี้ ยังมีการจัดทํากฎระเบียบ และมาตรฐานของการขนส่ง และมาตรฐาน FCEV และ Refueling Station

ที่มา: โครงการศึกษาแนวทางการพัฒนาการผลิตและการใช้ไฮโดรเจน เพื่อส่งเสริมพลังงานหมุนเวียน สนพ. 2564
ที่มา: โครงการศึกษาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายในการส่งเสริม การใช้ไฮโดรเจนเชิงพาณิชย์ในประเทศไทย สนพ. 2565

#สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน #สนพ
#เราสร้างสรรค์เพื่อทุกคน #CreateTheFutureEnergy
#กระทรวงพลังงาน #พลังงานไฮโดรเจน