ดร.บรรจงเศก ทรัพย์โสภา ผู้อำนวยการมูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. กล่าวว่า กว่า 4 ปี ที่มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชนฯ ได้รับการสนับสนุนทุนจาก SC Johnson พัฒนาเด็กและยกระดับชีวิตเยาวชนด้อยโอกาส ทั้งด้านการศึกษา การปรับปรุงสถานศึกษา การอบรมให้ความรู้ด้านเกษตรในโรงเรียนและ การป้องกันไข้เลือดออก นอกจากนี้ในท่ามกลางสถานการณ์ Covid-19 ระบาดหนัก ยังได้สนับสนุนสร้างศูนย์พักคอยในชุมชน พื้นที่ห่างไกลให้แก่เด็กและคนในชุมชน

ในปี 2566 – ปัจจุบันนี้ มูลนิธิฯ ยังได้รับทุนสนับสนุนจาก SC Johnson เพื่อพัฒนาและจัดการเรียนรู้ให้เด็กและเยาวชน โดยนำแนวทางการจัดการเรียนรู้ในลักษณะ “สะเต็มศึกษา” การทำฟาร์มอัจฉริยะ The Scale Model, a Science-Based School Farming for Sustainability ส่งเสริมให้โรงเรียนปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ โดยใช้เทคโนโลยีในการจัดการการเกษตร การบริหารจัดการขยะพลาสติก The STEM Modelling Schools – Plastic Solutions โดยผ่านกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถนำไปสู่การแก้ปัญหาในชีวิตจริง ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมศาสตร์ คณิตศาสตร์ และการควบคุมไข้เลือดออก The Keeps Model, the STEM healthcare on Dengue prevention and control ให้ความรู้พื้นฐานการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกให้นักเรียนและคนในชุมชน การสำรวจแหล่งเพาะพันธุ์ยุง การกำจัดยุง และรณรงค์ปลอดไข้เลือดออก ให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม ใน 5 พื้นที่ คือ โรงเรียนอุ้มผางวิทยาคม จังหวัดตาก โรงเรียนท่าสองยางวิทยาคม จังหวัดตาก โรงเรียนบ้านช่อผกา จังหวัดบุรีรัมย์ โรงเรียนบ้านหนองเตียน จังหวัดสระแก้ว และโรงเรียนชุมชนวัดบ้านระกาศ จังหวัดสมุทรปราการ

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชนฯ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการขับเคลื่อน “โครงการส่งเสริมโรงเรียนต้นแบบ STEM ในการทำฟาร์มอัจฉริยะ บริหารจัดการขยะพลาสติกและการควบคุมโรคไข้เลือดออก (The Promotion of STEM Modelling Schools in Smart Farming, Plastic Solutions and Dengue Control)” เพื่อมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชน คนในชุมชน เกิดการจัดการ

ขยะพลาสติก โดยแบบจำลอง STEM โซลูชั่นพลาสติก และการจัดการของเสีย ผ่านการสืบค้นทางวิทยาศาสตร์ ลงมือปฏิบัติ และการเรียนรู้การแก้ปัญหาพลาสติกที่เหมาะสมในโรงเรียน และชุมชนอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ เพื่อจุดประกายความคิด ส่งเสริมพัฒนาความรู้ความเข้าใจให้กลุ่มเป้าหมายในสถานศึกษา มุ่งพัฒนาให้เกิดเกษตรนวัตนำวิถีชุมชน การเร่งแสวงหาแนวทางการแก้ปัญหาขยะพลาสติกล้นโลกในระยะยาวและพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน