นายนฤตม์ เทอดสถีรศักดิ์ เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรีและรมว.คลัง และคณะ ได้เดินทางเยือนต่างประเทศจำนวน 14 ประเทศ พบปะหารือกับบริษัทชั้นนำจากทั่วโลกกว่า 60 แห่ง โดยเน้นการลงทุน 4 อุตสาหกรรมหลัก คือ ยานยนต์ไฟฟ้าหรืออีวี, อิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์, ดาต้าเซ็นเตอร์ และคลาวด์ เซอร์วิส คาดการณ์ว่าจะเกิดเม็ดเงินลงทุนรวม 558,000 ล้านบาท แยกเป็น อุตสาหกรรมดิจิทัล 250,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมอีวี และชิ้นส่วน 210,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และเซมbคอนดักเตอร์ 95,000 ล้านบาท อุตสาหกรรมอื่น ๆ เช่น โลจิสติกส์ 3,000 ล้านบาท

สำหรับอุตสาหกรรมที่รั{บาลให้ความสำคัญเพื่อเปลี่ยนอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาปภายในไปสู่อุตสาหกรรมอีวี จึงออกมาตรการเพื่อดูดผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารายใหม่เข้ามาลงทุน และสนับสนุนผู้ผลิตรายเดิมให้สามารถปรับตัวได้ ซึ่งผลจากการดำเนินงาน ทำให้บริษัทผู้ผลิตจากจีนหลายรายในระดับท็อป 10 ของโลก เช่น BYD, Aion, Changan, GWM, MG เลือกประเทศไทยเป็นฐานการผลิตเพื่อการส่งออก และจากการเจรจาครั้งสำคัญเมื่อปีที่แล้วที่กรุงโตเกียว ทำให้ 4 ค่ายรถยนต์ญี่ปุ่นชั้นนำ มีแผนการขยายการลงทุนรวมกว่า 1.5 แสนล้านบาทภายใน 5 ปี สะท้อนให้เห็นถึงโอกาสสำหรับผู้ผลิตชิ้นส่วนไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานในการปรับตัวไปสู่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในอนาคต และการรักษาธุรกิจอุตสาหกรรมยานยนต์สันดาปภายใน ในปัจจุบัน ในขณะที่รัฐบาลยังคงเดินหน้าเจรจากับผู้ผลิตยานยนต์ไฟฟ้ารายใหญ่จากยุโรปและอเมริกาอย่างต่อเนื่อง

ขณะที่อุตสาหกรรมดิจิทัล โดยเฉพาะด้านดาต้าเซ็นเตอร์และคลาวด์เซอร์วิส ซึ่งเป็นพื้นฐานของอุตสาหกรรมไอไอ คาดว่าภายในปีนี้จะมีผู้ให้บริการระดับศูนย์ข้อมูลที่อาศัยพลังการประมวลผลอย่างมหาศาลหรือดาต้าเซ็นเตอร์ระดับไฮเปอร์สเกลเข้ามาลงทุนเพิ่มเติมอย่างน้อย 2 ราย นอกจากนั้นรัฐบาลยังมีมาตรการสนับสนุนการผลิตชิ้นส่วนสำคัญของรถยนต์ไฟฟ้า โดยรัฐบาลอยู่ระหว่างเจรจากับผู้ผลิตแบตเตอรี่ระดับเซลล์ชั้นนำของโลก คาดว่าภายในปีนี้ จะมีผู้ผลิตแบตเตอรี่รายใหญ่อย่างน้อย 2 ราย เข้ามาลงทุนในประเทศไทย

ทั้งนี้ ในช่วงการเดินทางโรดโชว์นายกรัฐมนตรีที่ผ่านมา สำนักงานส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้รับคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนมูลค่ารวม 8.5 แสนล้านบาท ถือเป็นระดับสูงสุดในรอบ 9 ปี เมื่อพิจารณาเฉพาะมูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ มีการเติบโตสูงถึง 72% จากปีก่อน และในไตรมาสที่ 4 ของปี 66 มูลค่าการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศขยายตัวกว่า 145% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในช่วงปีที่ผ่านมา