การศึกษาเกี่ยวกับการดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ของคู่รัก ซึ่งถูกตีพิมพ์ในวารสารการแพทย์ The Gerontologist เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 โดยตรวจสอบ “ผลกระทบของพฤติกรรมการดื่มสุราต่อการเสียชีวิตในคู่รักเพศตรงข้าม” ทีมวิจัยที่นำโดย ดร. คีร่า เบอร์ดิตต์ แห่งมหาวิทยาลัยมิชิแกน ได้ทำการศึกษาคู่รักเพศตรงข้ามจำนวน 4,656 คู่ที่แต่งงานแล้วและอยู่ร่วมกัน ซึ่งมีอายุเกิน 50 ปี อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา ตลอดระยะเวลา 20 ปี ตั้งแต่ปี 1996-2016 มีผู้เข้าร่วมให้ข้อมูลจำนวน 9,312 คน ในการสำรวจทุก ๆ 2 ปี โดยสำรวจว่า พวกเขาดื่มแอลกอฮอล์หรือไม่ และถ้าดื่ม ดื่มในปริมาณเท่าไหร่

จากผลการศึกษาเมื่อเปรียบเทียบ คู่สมรสที่มีพฤติกรรมการดื่มไม่สอดคล้องกัน (ฝ่ายหนึ่งดื่ม อีกฝ่ายไม่ดื่ม) กับคู่สมรสที่มีพฤติกรรมการดื่มสม่ำเสมอ ปรากฏว่า คู่สมรสแบบหลังมีแนวโน้มที่จะมีคุณภาพชีวิตสมรสที่ดีกว่า อายุสมรสยืนยาวขึ้น ระยะเวลาและอายุขัยที่ยาวนานขึ้นด้วย

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า รูปแบบการดื่มเหล่านี้ไม่ได้อธิบายผลกระทบต่อสุขภาพได้ครบถ้วน เมื่อคู่รักเหล่านี้มีอายุมากขึ้น และตามที่ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพแนะนำโดยทั่วไป ยิ่งดื่มมากไปก็ไม่ได้ดีเสมอไป

“เมื่อเทียบกับการงดเว้น และการดื่มหนัก การดื่มเบา ๆ แค่พอประมาณ ทำให้อายุขัยของตัวบุคคลและชีวิตสมรสยืนยาวกว่า”

ในปี 2550 สมาคมจิตวิทยาอเมริกันได้นำเสนอผลการศึกษาที่แสดงให้เห็นว่า “รูปแบบการดื่มที่ไม่สอดคล้องกัน มีความสัมพันธ์กับความพึงพอใจในการสมรสที่ลดลง” และอาจนำไปสู่ความรุนแรงและการยุติชีวิตสมรสได้ อย่างไรก็ตาม การดื่มหนักเป็นผลเสียต่อทั้งสามีและภรรยา

ทั้งนี้ ดร. เบอร์ดิตต์ ผู้ศึกษาความสัมพันธ์และการสูงวัย พบว่าคู่รักที่ดื่มด้วยกันมีแนวโน้มที่จะแต่งงานกันมากกว่า ในปี 2559 การวิเคราะห์ข้อมูลจากคู่สมรส 2,767 คู่ มีผู้เข้าร่วม 4,864 คนที่มีอายุเกิน 50 ปีตอบแบบสำรวจเกี่ยวกับสุขภาพและการเกษียณในระยะยาว ผลการวิจัยพบว่า เมื่อพฤติกรรมการดื่มของคู่รักสอดคล้องกัน มีแนวโน้มที่ชีวิตแต่งงานจะมีความสุขมากขึ้น แต่เมื่อฝ่ายหนึ่งดื่มมากกว่าอีกฝ่าย จะมีแนวโน้มความรู้สึกไม่พอใจมากขึ้น

“เราไม่ได้แนะนำให้ผู้คนดื่มมากขึ้น หรือเปลี่ยนรูปแบบการดื่มของพวกเขา แต่อาจเป็นไปได้ว่า คู่รักที่ใช้เวลาร่วมกันในทำกิจกรรมยามว่างมากขึ้น คุณภาพชีวิตแต่งงานของพวกเขาก็จะดีขึ้น การศึกษาแสดงให้เห็นว่า พวกเขาดื่มมากแค่ไหนไม่สำคัญ แต่สำคัญว่าพวกเขาดื่มหรือเปล่า”

อย่าขับรถขณะดื่มสุรา! การดื่มมากเกินไปเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และโปรดอย่าดื่ม หากคุณอายุต่ำกว่า 18 ปี.

อ่านผลการศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://academic.oup.com/gerontologist/article-abstract/64/2/gnad101/7230161?redirectedFrom=fulltext

ที่มาภาพ : Steve Buissinne / Pixabay