สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 3 พ.ค. ว่า พันธบัตรพันธบัตรรัฐบาลที่ออกโดยกระทรวงการคลังหรือทีบอนส์ เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา คิดเป็นมูลค่า 920,000 ล้านหยวน (ราว 4.70 ล้านล้านบาท)


ด้านพันธบัตรรัฐบาลท้องถิ่นมีมูลค่าอยู่ที่ 629,000 ล้านหยวน (ราว 3.21 ล้านล้านบาท) พันธบัตรทางการเงินมีมูลค่าอยู่ที่ 956,000 ล้านหยวน (ราว 488,000 ล้านบาท) มูลค่าตราสารหนี้เอกชนอยู่ที่ 1.65 ล้านล้านหยวน (ราว 8.48 ล้านล้านบาท) ตราสารการเงินประเภทเอบีเอสมีมูลค่าอยู่ที่ 32,700 ล้านหยวน (ราว 167,000 ล้านบาท) และบัตรเงินฝากระหว่างธนาคารมีมูลค่าอยู่ที่ 2.91 ล้านล้านหยวน (ราว 14.89 ล้านล้านบาท) เป็นต้น


ขณะที่เมื่อนับถึงสิ้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา มูลค่าคงค้างในตลาดพันธบัตรของจีนอยู่ที่ 160.8 ล้านล้านหยวน (ราว 822 ล้านล้านบาท) โดยเป็นยอดที่อยู่ภายใต้การกับดับดูแลของตลาดพันธบัตรระหว่างธนาคาร 139 ล้านล้านหยวน (ราว 5,820 ล้านล้านบาท) และพันธบัตรภายใต้การดูแลของตลาดตราสารหนี้ 21 ล้านล้านหยวน (ราว 107 ล้านล้านบาท)


ในจำนวนนี้ เป็นการถือครองพันธบัตรในตลาดตราสารหนี้ของจีน โดยนักลงทุนสถาบันในต่างประเทศ มีมูลค่า 4.05 ล้านล้านหยวน (ราว 20.07 ล้านล้านบาท) คิดเป็น 2.5% ของมูลค่ารวมของพันธบัตรคงค้างในจีน ณ สิ้นเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา

ขณะที่นักลงทุนของสถาบันในต่างประเทศ ถือครองพันธบัตรภายใต้การดูแลของตลาดพันธบัตรระหว่างธนาคารคิดเป็นมูลค่า 4 ล้านล้านหยวน (ราว 20.45 ล้านล้านบาท) ซึ่งรวมถึงพันธบัตรทีบอนส์มูลค่า 2.24 ล้านล้านหยวน (ราว 11.45 ล้านล้านบาท) และพันธบัตรที่ออกโดยธนาคารเชิงนโยบายจำนวน 840,000 ล้านหยวน (ราว 4.29 ล้านล้านบาท)


อนึ่ง การซื้อขายพันธบัตรเงินสด โดยรวมในตลาดพันธบัตรระหว่างธนาคาร คึกคักมากขึ้น เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา โดยมูลค่าการซื้อขายพันธบัตรเงินสดรายเดือนเพิ่มขึ้นเป็น 39.1 ล้านล้านหยวน (ราว 199.86 ล้านล้านบาท) และมีมูลค่าเฉลี่ยรายวันอยู่ที่ 1.85 ล้านล้านหยวน (ราว 9.45 ล้านล้านบาท) เพิ่มขึ้น 50.3% เมื่อเทียบเป็นรายปี และ 22.4% เมื่อเทียบเป็นรายเดือน เมื่อเดือน มี.ค. ที่ผ่านมา.

ข้อมูล-ภาพ : XINHUA

(เรียบเรียงโดย Duan Jing, Xinhua Silk Road, https://en.imsilkroad.com/p/339946.html)