สำนักข่าวต่างประเทศรายงานจากกรุงเวลลิงตัน ประเทศนิวซีแลนด์ เมื่อวันที่ 17 ม.ค. ว่าศ.เชน โครนิน นักภูเขาไฟวิทยาของมหาวิทยาลัยออกแลนด์ ในนิวซีแลนด์ แสดงทรรศนะ เกี่ยวกับการปะทุอย่างหนักของภูเขาไฟ ฮังกา-ตองกา-ฮังกา-ฮายาไป ( Hunga-Tonga-Hunga-Ha’apai ) ที่ตั้งอยู่ใต้ทะเล ห่างจากกรุงนูกูอาโลฟา เมืองหลวงของตองกา เมืองหลวงของตองกา เพียง 65 กิโลเมตร เมื่อช่วงสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่าขอบเขตความรุนแรงการปะทุของภูเขาไฟลูกนี้ อาจรุนแรงที่สุด นับตั้งแต่การปะทุของภูเขาไฟปินาตูโบ ในฟิลิปปินส์ เมื่อปี 2531


ศ.โครนินประเมินความรุนแรงจากการปะทุของภูเขาไฟ ฮังกา-ตองกา-ฮังกา-ฮายาไป อ้างอิงจากดัชนีการระเบิดของภูเขาไฟ ( วีอีไอ ) ซึ่งเป็นมาตราสัมพัทธ์วัดการปะทุของภูเขาไฟ ที่สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ ( ยูเอสจีเอส ) และมหาวิทยาลัยฮาวาย ร่วมกันคิดค้น เมื่อปี 2525 อยู่ที่ระดับ 5 จากทั้งหมด 8 ระดับ โดยการปะทุของภูเขาไฟที่ระดับดังกล่าว หรือ วีอีไอ-5 เป็นปรากฏการณ์ทางธรรมชาติซึ่งเกิดขึ้นเพียง 1 หรือ 2 ครั้งในรอบ 1 ทศวรรษเท่านั้น


ทั้งนี้ การปะทุของภูเขาไฟปินาตูโบ ซึ่งตั้งอยู่บนเกาะลูซอน ทางตอนเหนือของฟิลิปปินส์ ระหว่างวันที่ 2 เม.ย. 2534-2 ก.ย. 2534 ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนมากกว่า 800 ราย มีความรุนแรงอยู่ที่ระดับ 6 หรือ วีอีไอ-6 ปล่อยก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ขึ้นสู่ชั้นบรรยากาศโลกมากถึง 15 ล้านตัน และส่งผลให้อุณหภูมิโลกเย็นลงระหว่าง 0.5-1 องศาเซลเซียส เป็นเวลานานถึง 1 ปีครึ่ง.

เครดิตภาพ : REUTERS