ทั้งนี้ นับวัน ไทยมีประชากรสูงวัยอายุ 60 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ส่งผลให้ เผชิญความท้าทายหลายมิติ และยังคงมีคำถาม “ไทยพร้อมแค่ไหน?” กับการ “รับมือสังคมสูงวัย” โดยปัจจุบันสถานะคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในสังคมไทยโดยรวมก็ยังอยู่ในระดับไม่ดี รวมถึงด้าน ’รายได้-เงินออม“ หลังเกษียณ ซึ่ง…

ยัง ’มีแนวโน้มของความไม่ยั่งยืน“…

เรื่องนี้ ’ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตผู้สูงวัย“

เกี่ยวกับปัญหานี้…ที่ทาง “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูลรับ “วันผู้สูงอายุแห่งชาติ”… มีที่มาจากการที่ทาง แพรวพรรณ ศิริเลิศ ฝ่ายสื่อสารองค์ความรู้ ศูนย์วิจัยและสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDG Move) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ฉายภาพกรณีนี้ไว้ในบทความ’ขจัดปัญหาแก่ก่อนรวย หลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ประเทศไทยพร้อมแค่ไหน?“ โดยได้นำเสนอผลสำรวจแนวโน้มการสูงอายุของประชากรไทยในทศวรรษนี้? อะไรคือความท้าทายของสังคมผู้สูงอายุไทย? ตลอดจนได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับ ’รายได้ที่ไม่ยั่งยืนที่ผู้สูงอายุไทยกำลังเผชิญ กันอยู่??…

’เป้าหมาย“ จะสร้าง ’สังคมผู้สูงอายุ“

สูงวัย ’มีคุณภาพ ทำได้จริงหรือไม่??“

Asian elderly couple watching television in living room at home, sweet couple enjoy love moment while lying on the sofa when relaxed at home.

ทั้งนี้ ในบทความดังกล่าวได้ระบุไว้ว่า…ไทยมีแนวโน้มโครงสร้างประชากรมนุษย์ในลักษณะ “พีระมิดทรงกรวยปากแคบ หรือ “พีระมิดแบบคงที่ (stationary pyramid)” โดยพีระมิดรูปแบบนี้ สะท้อนอัตราเพิ่มขึ้นของแต่ละช่วงอายุอย่างช้า ๆ ที่มีรูปแบบอัตราการเกิดและอัตราการตายของประชากรที่ค่อนข้างต่ำ ทำให้ไทยปรับเปลี่ยนโครงสร้างประชากรกลายเป็นสังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ และคาดว่า อีก 10 ปีข้างหน้าไทยจะเข้าสู่ ’สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (super-aged society)“  ซึ่งเมื่อถึงภาวะนี้ ไทยยิ่งสูญเสียแรงงาน พร้อมมีจำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอีก จะ’เป็นปัญหาใหญ่ของสังคมไทย!!“

กรณี “ความท้าทาย” หาก ’ผู้สูงอายุส่วนใหญ่อยู่ในภาวะพึ่งพิง“ ก็คือ “ไทยจะยกระดับคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุได้อย่างไร?”
โดยเฉพาะประเด็น “ปัญหารายได้ที่ไม่ยั่งยืน” เพราะแม้ผู้สูงอายุจะมีรายได้ที่ถูกจัดการโดยภาครัฐอยู่หลายระบบ ทั้งระบบประกันสังคม ระบบบัญชีเงินออมเพื่อเกษียณอายุ และระบบเงินช่วยเหลือ แต่ความเป็นจริงก็ยังพบว่า ส่วนใหญ่ยังประสบปัญหารายได้ไม่เพียงพอ ’ขาดเงินในการยังชีพ“ ในช่วงบั้นปลายชีวิต!! ต้องหวังพึ่งพาเงินช่วยเหลือจากลูกหลาน

ที่สำคัญ…ในบทความดังกล่าวข้างต้นยังได้ชี้ให้เห็นถึง “ปัญหาใหญ่ที่น่ากังวล” นั่นก็คือ…บางกรณีลูกอายุ 60 ปีแล้ว แต่ก็ต้องดูแลพ่อแม่ที่อายุ 80 ปี ซึ่งกรณีนี้ทำให้ไทยต้องเผชิญกับ ’สภาวะผู้สูงอายุต้องดูแลผู้สูงอายุ“ ซึ่งถือว่า…

      ’เป็นภาระที่หนักมากในการแบกรับ!!“

Group of asian old senior male and female spending weekend time together sit on sofa couch watching tv comedy program with joyful laugh smiling happiness expressionsenior people in nursing home

นอกจากนั้น จากการสำรวจภาวะสังคมและภาวะเศรษฐกิจก็ยังพบข้อมูลที่บ่งชี้ว่า… คนไทยมีค่าเฉลี่ยรายได้อยู่ที่ประมาณ 8,400 บาทต่อคนต่อเดือน ที่สะท้อนว่า… คนไทยส่วนใหญ่มักจะมีเงินออมไม่เพียงพอในวัยเกษียณ จึงทำให้ผู้สูงอายุ รวมถึงคนที่กำลังจะเป็นวัยผู้สูงอายุ ต้องพึ่งพาสวัสดิการรัฐในการดูแลรักษาสุขภาพและดำรงชีวิต ในวัยเกษียณ

อย่างไรก็ดี ในบทความโดยเจ้าหน้าที่ ศูนย์ SDG Move คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้มี “ข้อเสนอแนะ” แนวทาง ’สร้างสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ“ เอาไว้ว่า… 1.ต้องสร้างความมั่นคงให้สังคมผู้สูงอายุ และ 2.ต้องสร้างสังคมผู้สูงอายุให้มีทิศทางอย่างยั่งยืน เพื่อคุ้มครองสิทธิประโยชน์ ส่งเสริมสนับสนุนให้เป็นผู้สูงอายุอย่างมีความเหมาะสม

และเพื่อให้เกิดการดำเนินการทางนโยบายที่เป็นรูปธรรมมากขึ้น การ “ขับเคลื่อนสู่การเป็นสังคมผู้สูงอายุอย่างมีคุณภาพ” อาจทำได้ผ่าน “4 มาตรการ” ดังต่อไปนี้คือ… ’มาตรการเศรษฐกิจ“ ควรบูรณาการระบบบำนาญ และระบบการออมของผู้สูงอายุ ไปพร้อม ๆ กับการปฏิรูประบบการเงินและการคลังให้เหมาะสม เพื่อรองรับสังคมสูงวัย อีกทั้งควรส่งเสริมให้ประชากรวัยทำงาน ทั้งกลุ่มที่เป็นลูกจ้างและไม่ใช่ลูกจ้าง ได้เตรียมความพร้อมในการเพิ่มพูนทักษะสู่การขยายอายุงานเมื่อมีอายุมากขึ้น พร้อมกระจายแหล่งจ้างงานออกไปให้กว้างมากขึ้นกว่าปัจจุบัน, ’มาตรการสุขภาพ“ ควรบูรณาการศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตในระดับพื้นที่ เพื่อให้ผู้สูงอายุเข้าถึงได้ในราคาไม่แพง รวมถึงควรมีข้อมูลการดูแลสุขภาพและบริการที่จำเป็น เพื่อป้องกันและดูแลในระยะยาว ซึ่งการมีสุขภาพที่ดีจะส่งผลช่วยเพิ่มโอกาส ช่วยลดค่าใช้จ่ายของผู้สูงอายุ ครอบครัว และสังคม

ถัดมา… ’มาตรการสังคม“ ควรให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีบทบาทมากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงการขับเคลื่อนส่วนกลางเข้ากับระดับพื้นที่ เพื่อให้เกิดสภาพแวดล้อมและโครงสร้างพื้นฐานที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตของผู้สูงอายุ และอีกมาตรการคือ… ’มาตรการสภาพแวดล้อม“ ควรจะมีการสร้างสภาพแวดล้อมทางกายภาพที่เป็นมิตรต่อผู้สูงอายุ รวมถึงส่งเสริมให้เกิดการพัฒนาและการใช้เทคโนโลยี
ใหม่ ๆ อย่างเหมาะสม พร้อม ๆ กับพัฒนาให้มีระบบขนส่งสาธารณะที่มีสิ่งอำนวยความสะดวก ให้ผู้สูงอายุใช้ประโยชน์และเข้าถึงได้จริง …ทั้งนี้ เหล่านี้เป็นข้อเสนอ “ทางออกประเทศไทย” เพื่อ “ก้าวข้ามความท้าทาย”…

      เพื่อลด ’ปัญหาผู้สูงวัยขาดเงินยังชีพ“

      ที่ ’เป็นปัญหาทั้งต่อผู้สูงวัย-ประเทศ“

      ใน ’ยุคพีระมิดทรงกรวยปากแคบ!!“.

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่