กลายเป็นประเด็นร้อนในโลกออนไลน์ที่หลายคนสนใจอย่างมากมาย สำหรับกรณีของ เคนลี Take Me Out ที่มีเรื่องราวทะเลาะ ทำร้ายร่างกายแฟน ต่อมามีสาวเข้าไปช่วยกลับโดนหาต่อว่าและท้าทาย รวมถึงมีการแจ้งความกันเกิดขึ้น ท่ามกลางการวิจารณ์อย่างดุเดือดของชาวเน็ตในหลายแง่มุม ล่าสุดในรายการโหนกระแส ได้มีการเชิญหนุ่มเคนลี ลูกตาล พลเมืองดี และ โฟม คนถ่ายคลิป เข้ามาพูดคุยในรายการ

เคนลี เผยว่า “จริงๆ บทบาทของแอมป์กับผมนอกจากเป็นเพื่อนกันแล้ว เขายังเป็นเจ้าหนี้ผมด้วย ผมเป็นคนพื้นหลังไม่ดีมาก่อน เขาเป็นหนึ่งคนยื่นมือมาช่วยเหลือเหตุการณ์ตรงนั้น การกระทำของผมไม่ใช่การทำร้ายผู้หญิง แต่เป็นการทำร้ายคนที่ช่วยเหลือผมในส่วนของข้อกฎหมายที่ผมเคยโดน เมื่อวานแจ้งแล้วว่าจำเป็นนะต้องดำเนินคดี พ่อแม่เขาไม่ยอม เป็นการรักษาหน้าพ่อแม่เขาด้วย ผมเลยบอกว่ายินดีมากๆ ผมไม่ปฏิเสธอะไรเลยที่เขาแจ้ง ไม่มีเหตุผลที่ผมจะไม่ยอมรับ ไม่มีคำพูด ไม่มีคำโต้แย้ง ถ้าไม่ยอมรับผิดเป็นสิ่งที่ติดอยู่ในใจไม่มีเหตุผลไม่ยอมรับ เรื่องที่ผมและแอมป์คนเสียหายจะแจ้งความลูกตาล คือมันมีการแจ้งกันอยู่ในอินสตาแกรม ผมไม่มีคลิปอยู่ที่ตัวเอง ผมไม่สามารถเข้าไปควบคุมหรือเซ็นเซอร์ได้ด้วยตัวเอง ฉะนั้นการที่คนที่ได้รับผลกระทบโดยตรง แจ้งว่าเห็นหน้าเขาคุณควรจะรีเช็ก ผมบอกเองลงหน้าผมไปเลย ซึ่งช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา เขารู้อยู่แล้วและสามารถลบได้ตลอด ในอีกมุมหนึ่งนะ ผมคิดว่าที่เห็นในโซเชียล เรื่องนี้ส่งผลกระทบต่อหลายๆ คน ผมตัดสินใจคนเดียว ผมไม่สามารถถอนแจ้งความได้แน่นอน”

ลูกตาล เผยว่า “หนูตั้งใจดีเจตนาดี แต่เลินเล่อที่ทำให้น้องเขาเสียหาย แล้วมีการแจ้งความกลับ”

โฟม คนถ่ายคลิป เผยว่า “(ร้องไห้) ตอนนั้นหนูก็บอกว่าอย่าไปยุ่งเลย พอเขาบอกว่าถ้าคนนั้นเป็นญาติ เป็นน้องหรืออะไรของเราจะช่วยไหม หนูก็เลยโอเคไปช่วย ตอนลงไปช่วย เขาขอความช่วยเหลือดังมาก แต่หนูผิดตรงที่ทำให้เห็นน้องผู้หญิง คืออยากให้น้องผู้ชายตื่นมาแล้วได้รับบทเรียน”

ด้าน อาจารย์ไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายไซเบอร์ และที่ปรึกษาด้านกฎหมาย โฟนอินเข้ามาในรายการ เผยว่า “เรื่องนี้ต้องเข้าใจหลักการก่อนว่าตัวกฎหมายนี้มันมาคุมครองตัวเจ้าของข้อมูล เห็นโดยปกติถ้าไม่มีเหตุผลทางกฎหมายถ่ายไม่ได้ พอเป็นข่าวในเรื่องมีการทำร้ายร่างกายกันเนี่ย ในกฎหมายข้อมูลส่วนบุคคลยกเว้นให้ครับ หมายความว่าเขาถ่ายได้ในฐานะพลเมืองดี ถ่ายเพื่อรวบรวมหลักฐาน เพื่อปกป้องชีวิตร่างกาย แต่พอถ่ายแล้วต้องส่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจจะไปโพสต์เองไม่ได้ อันนี้เป็นประเด็นสำคัญ โดยหลักการคือเราเห็นเหตุการณ์ถ่ายไว้ รวบรวมได้ แต่การไปเปิดเผยหรือแชร์ต่ออันนี้ผิดครับ โดยหลักเราไม่ใช่สื่อมวลชน ไม่ใช่ตำรวจ เราถ่ายรวบรวมเอง ลงโซเชียลกฎหมายละเว้นแค่สื่อมวลชน เจ้าหน้าที่หรือศาล ถ้าใช้ต้องเบลอหน้า อย่างเป็นข่าวกฎหมายชุดนี้ เพิ่งบังคับใช้เป็นเรื่องเล็กน้อย แจ้งความหรือมีอะไรในปีนี้ คงใช้วิธีสั่งให้ลบหรือแก้ไข ถ้าไม่ลบอาจจะมีโทษปรับหรืออะไรต่างๆ ตามมา ถ้ามีการละเมิดตักเตือน เงื่อนไขแรกคือลบก่อน ส่วนคดีความผมคิดว่าถ้ามีการฟ้องไปมา ก็ไม่ได้ประโยชน์สองฝั่ง ปีแรกเป็นการทำความเข้าใจพื้นฐาน สามารถถอนแจ้งความได้ เป็นความผิดส่วนตัว มีโทษเล็กน้อย แต่ถ้าเป็นข้อมูลทางเพศหรือพิการเป็นโทษอาญามีโทษคุก 1 ปี ปรับ 5 แสนหรือ 1 ล้านบาท เรื่องที่ความผิดเกิดขึ้นไปแล้ว ถอนเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าเป็นคลิปทำร้ายร่างกาย ไม่ได้เกี่ยวทางเพศหรือเรื่องข้อมูลอ่อนไหว ไม่ผิด มีฟ้องแพ่ง หรือร้องคระกรรมการข้อมูลส่วนบุคคล ส่วนนั้นจะสั่งให้ลบออก แต่ถ้าไม่ลบไม่ได้”

ขอขอบคุณข้อมูลจากโหนกระแส