เพราะรู้หรือไม่!!! ว่า หากแยกชิ้นส่วนเองอย่างผิดวิธี จะเกิดสารอันตรายรั่วไหลไม่ใช่แค่เกิดโทษกับร่างกายเท่านั้น ยังไปสู่ระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหารทางดิน นํ้า และอากาศอีกด้วย ทั้งนี้กรมอนามัย ระบุว่า การทิ้งโทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ ซึ่งประกอบไปด้วย ตัวเครื่องที่เป็นแผงวงจรโลหะ จอ LCD (Liquid Crystal Display) ลำโพง และไมโครโฟนที่มีส่วนประกอบของโลหะหนัก หน้ากาก และส่วนห่อหุ้มของโทรศัพท์ที่ทำจากพลาสติกโพลี โทรศัพท์มือถือปะปนไว้กับขยะทั่วไปอาจทำให้คาร์บอเนตหรือเอบีเอส ทั้งยังมีเครื่องแปลงแรงดันไฟฟ้าเพื่อใช้อัดไฟแบตเตอรี่ และแหล่งพลังงาน หรือตัวแบตเตอรี่

โดยส่วนประกอบเหล่านี้มีสารอันตรายหลายชนิดรั่วไหลไปสู่ระบบนิเวศ ห่วงโซ่อาหารทางดิน นํ้า และอากาศ เช่น ตะกั่ว ทำลายระบบประสาทส่วนกลาง ระบบโลหิต การทำงานของไตและการสืบพันธุ์ มีผลต่อการพัฒนาสมองเด็กเเละยังสะสมอยู่ในบรรยากาศได้อีกด้วย

แคดเมียมสะสมในไต ทำลายระบบประสาท ส่งผลเสียต่อพัฒนาการเด็ก และภาวะตั้งครรภ์ และอาจมีผลต่อพันธุกรรม

สารหนู ทำลายระบบประสาท ผิวหนัง ระบบย่อยอาหาร และหากได้รับในปริมาณมากอาจถึงแก่ชีวิตได้

นิกเกิล สารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลอง อาจมีผลต่อระบบสืบพันธุ์ นอกจากนี้ยังส่งผลเรื้อรังจากการสัมผัส ได้แก่ การแพ้ของผิวหนัง มีแผลไหม้ คัน เป็นผื่นแดง อาการคล้ายเป็นหืดหอบและแน่นหน้าอก

ลิเทียม เป็นอันตรายเมื่อกลืนกิน สูดดม หรือดูดซึมผ่านผิวหนัง ทำลายเนื้อเยื่อทางเดินหายใจ ดวงตาและผิวหนังรุนแรง การสูดดมอาจทำให้เกิดอาการชัก กล่องเสียงและหลอดลมใหญ่อักเสบ ปอดอักเสบ และนํ้าท่วมปอด

โคบอลต์ สารก่อมะเร็งในสัตว์ทดลองที่เมื่อหายใจเข้าไปจะทำให้ไอ หายใจติดขัดและถี่ หากสัมผัสสารนี้นานทำให้ผิวหนังอักเสบ เกิดผื่นแดง ส่งผลต่อระบบเลือดหัวใจ ต่อมไทรอยด์ และอาจทำให้ปอดผิดปกติ

สารพิษเหล่านี้เป็นเพียงส่วนหนึ่งที่รั่วไหลจากซากโทรศัพท์มือถือเก่าตกรุ่น และหมดประสิทธิภาพการใช้งานซึ่งป้องกันได้โดยผู้ใช้ต้องเลือกผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐานใช้งาน รวมทั้งให้นำไปรีไซเคิลหรือนำไปกำจัดยังโรงงานกำจัดวัสดุพิษอย่างถูกวิธี ตามจุดที่หน่วยงานต่าง ๆ ให้นำซากโทรศัพท์มือถือไปทิ้งในจุดต่าง ๆ เพื่อให้การกำจัดขยะมือถือถูกต้อง ไม่ส่งผลร้ายกับสุขภาพและสิ่งแวดล้อม และยังสามารถนำชิ้นส่วนที่ยังเกิดประโยชน์ไปใช้ต่อได้.