นาทีนี้ ชื่อของ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหม คงจะเป็นที่สนใจในสังคมไทยกันไม่ใช่น้อย หลังจากที่ได้ประกาสวางมือจากการเมือง ก่อนที่จะมีการเลือกนายกรัฐมนตรีคนถัดไป ในวันที่ 13 กรกฎาคม 2566 ที่จะถึงนี้

สำหรับเว้นทางชีวิตของ “พล.อ.ประยุทธ์” นั้น มีชื่อเล่นว่า “ตู่” เกิดเมื่อวันที่ 21 มีนาคม พ.ศ.2497 อายุ 69 ปี โดยสมรสกับ รองศาสตราจารย์นราพร จันทร์โอชา อาจารย์ประจำสถาบันภาษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีบุตรสาวฝาแฝด 2 คน คือ น.ส.ธัญญา และ น.ส.นิฏฐา จันทร์โอชา

ชีวิตวัยเด็ก
เกิดที่จังหวัดนครราชสีมา เป็นพี่ชายคนโต ของ 4 พี่น้อง โดยคุณพ่อรับราชการทหาร และ คุณแม่รับราชการเป็นครู เป็นคนบุคลิกค่อนข้างเงียบขรึม เรียนดี วิชาเก่งคือ คณิต อังกฤษ วิทยาศาสตร์ มีความคิดที่อยากจะเป็นทหาร เหมือนคุณพ่อ

การศึกษา
เมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น รร.วัดนวลนรดิศ ก็เบนเข้าสายทหารตามรอยพ่อ ในปี2514 เป็นนักเรียนเตรียมทหาร รุ่น 12 (เป็นรุ่นน้องบิ๊กป้อม-พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ซึ่งอยู่รุ่น 6 ) นักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ารุ่นที่ 23 และเป็นศิษย์เก่าวิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร

ชีวิตราชการทหาร
“พล.อ.ประยุทธ์” นั้นเริ่มต้นที่ (กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ หรือ ร.21 รอ.)
ตั้งแต่เป็นผู้บังคับกองพันทหารราบที่ 2 กรมทหารราบที่ 21 รักษาพระองค์ (ผบ.ร.21 พัน.2 รอ.) เป็นเสนาธิการกรมฯ รองผู้บังคับการกรม และขึ้นเป็นผู้บังคับการกรมฯ ตามลำดับ

ต่อมาย้ายขยับขึ้นมาเป็น รองผู้บัญชาการกองพลทหารราบที่ 2 รักษาพระองค์ (พล.ร.2 รอ.) และเป็นผู้บัญชาการกองพลฯ จากนั้นได้รับการเลื่อนตำแหน่งเป็น รองแม่ทัพภาคที่ 1 ในเหตุการณ์รัฐประหารโดยคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือ คปค.

เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2549 ที่มีพลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะ พลตรี ประยุทธ์ จันทร์โอชา (ยศในขณะนั้น) ก็เป็นผู้หนึ่งที่มีบทบาทสำคัญในการยึดอำนาจ โดยการรับคำสั่งตรงจาก พลโทอนุพงษ์ เผ่าจินดา แม่ทัพภาคที่ 1 (ยศและตำแหน่งในขณะนั้น) หลังจากนั้น ในวันที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2530 – พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้ง เป็น ราชองครักษ์เวร

นอกจากนี้ พล.อ.ประยุทธ์ ได้รับหน้าที่เป็น รองหัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ระหว่างวันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2551 ถึง 14 กันยายน พ.ศ. 2551 และได้รับแต่งตั้งเป็น หัวหน้าผู้รับผิดชอบในการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 ถึง 22 ธันวาคม พ.ศ. 2553 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้เป็น ผู้บัญชาการทหารบก ต่อจาก พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา ที่เกษียณอายุราชการในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553 ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เป็นต้นไป

เข้าสู่เส้นทางการเมือง
20 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ในฐานะผู้บัญชาการทหารบกขณะนั้น ได้ประกาศ กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักร​ จากสถานการณ์ความไม่สงบทางการเมือง จากรัฐบาล นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก่อนที่ 2 วันถัดมา ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2557 พลเอกประยุทธ์ จะเป็นผู้นำ กระทำรัฐประหาร ในนามคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ซึ่งนำไปสู่การประกาศยุบสภาของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ.2556

วันที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2557 ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบ 191 เสียง เลือกพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี โดยในวันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ.2557 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมแต่งตั้งพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นนายกรัฐมนตรี ลำดับที่ 29 ของประเทศไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

เมื่อวันที่ 5 มิถุนายน 2565 ภายหลังการประชุมร่วมรัฐสภา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับการสนับสนุนจากเสียงส่วนใหญ่ของสมาชิกรัฐสภาเหนือนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง และนังเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมอีกด้วย

ต่อมาเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2565 ส.ส.พรรคร่วมฝ่ายค้าน นำโดย นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว ส.ส.น่าน หัวหน้าพรรคเพื่อไทย ในฐานะผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ร่วมกับ ประธานวิปฝ่ายค้าน นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อหัวหน้าพรรคก้าวไกล และ นายนิคม บุญวิเศษ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคพลังปวงชนไทย รวบรวม 173 รายชื่อ ยื่นหนังสือถึง นายชวน หลีกภัย ประธานรัฐสภา ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยวาระการดำรงตำแหน่ง 8 ปี ของ พล.อ.ประยุทธ์

30 กันยายน 2565 ภายหลังจากที่คณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้กำหนดนัดแถลงด้วยวาจา ผลการพิจารณามีมติโดยเสียงข้างมาก (6 ต่อ 3) วินิจฉัยว่า ผู้ถูกร้องดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ตามความในมาตรา 264 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 นับแต่วันที่ 6 เม.ย. 2560 ถึงวันที่ 24 ส.ค.2565 ผู้ถูกร้อง (พล.อ.ประยุทธ์) ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรียังไม่ครบกำหนดเวลาตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 158 วรรคสี่ ความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีผู้ถูกร้องไม่สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 มาตรา 170 วรรคสอง ประกอบมาตรา 158 วรรคสี่

กระทั่งการมาถึงของการเลือกตั้งในปี 2566 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้รับกรเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี จากพรรครวมไทยสร้างชาติ โดยได้รับผลการเลือกตั้ง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 กว่า 4.7 ล้านเสียง ส่งผลให้ได้รับการเลือกตั้งมาเป็นพรรคอันดับที่ 5

จนเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2566 ชื่อของ “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ได้ถูกพูดถึงอีกครั้ง เมื่อได้ออกมา ประกาศวางมือการเมือง ลาออกสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ พร้อมขอให้พี่น้องประชาชนให้ความไว้วางใจ สนับสนุนการทำงานของพรรคต่อไป…
-ด่วน! ‘พล.อ.ประยุทธ์’ ประกาศวางมือการเมือง ลาออกสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติ