จากกรณีศาลฎีกาตัดสินให้ “ช่อ-พรรณิการ์ วานิช” มีความผิดฐานฝ่าฝืนจริยธรรม เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป จนเป็นที่พูดถึง “ช่อ” ไปทั่วทั้งสังคมออนไลน์นั้น
-ศาลฎีกาถอนสิทธิ “ช่อ พรรณิการ์” ลงเลือกตั้งตลอดไป คดีโพสต์หมิ่นสถาบัน

สำหรับ “พรรณิการ์ วานิช” หรือ ช่อ เกิดเมื่อวันที่ 28 มกราคม 2531 เป็นชาวกรุงเทพฯ โดยกำเนิด
การศึกษา
“ช่อ พรรณิการ์” สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สาขาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (International Relations)
สำเร็จการศึกษาปริญญาโทจาก MSc Global Politics, London School of Economics and Political Science (LSE)

สำหรับ London School of Economics and Political Science (LSE) หรือ วิทยาลัยเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์แห่งลอนดอน นั้น เป็นสถาบันเฉพาะทางสายสังคมศาสตร์ (ด้านเศรษฐศาสตร์และรัฐศาสตร์) อันดับ 1 ในสหราชอาณาจักรและทวีปยุโรป และเป็นอันดับที่ 1 ของโลก โดยการจัดอันดับมาตรฐานมหาวิทยาลัยโลก The QS World University Rankings โดย LSE มีห้องสมุดด้านสังคมศาสตร์ การเมือง และการปกครองที่ใหญ่ที่สุดในโลก และยังเป็นสถาบันแห่งแรกของโลกที่คิดต้นหลักสูตรและเปิดสอนวิชาด้านสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ ที่ปัจจุบันมีสอนในเกือบทุกมหาวิทยาลัย เช่น มานุษยวิทยา, ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ, สังคมวิทยา และนโยบายและการวางแผนสังคม

ชีวิตสื่อผู้เป็นกระบอกเสียงสังคม
“ช่อ พรรณิการ์” เริ่มต้นเส้นทางชีวิตการทำงานด้วยนักข่าว นักสื่อสารมวลชน โดยเธอเคยเป็นพิธีกรรายการข่าวทางช่องวอยซ์ทีวี โดยเธอมีความคิดที่ว่า สื่อคืออาชีพหนึ่งที่มีพลังเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่สิ่งที่ดีกว่า ด้วยการนำเสนอข่าวสาร ข้อมูล ที่ประชาชนควรมีสิทธิได้ร่วมรับรู้ ในฐานะเจ้าของประเทศที่แท้จริง โดยตลอดระยะเวลาที่ทำงานสื่อ พบกระแสการเมืองแบบเก่าที่หวนมาใหม่ ที่ไม่มีประชาชนอยู่ในตัวตั้ง ไม่ว่าสื่อจะทำหน้าที่ซื่อตรง เสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลกลายเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากนั่นเอง

กระบอกเสียงที่แท้จริงบนเส้นทางการเมือง
ช่อ พรรณิการ์ เข้าสู่วงการการเมืองครั้งแรกในปี พ.ศ. 2561 โดยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบบัญชีรายชื่อ สังกัดพรรคอนาคตใหม่ และได้รับตำแหน่งโฆษกพรรคอนาคตใหม่ ทำให้ชื่อของ “ช่อ พรรณิการ์” เป็นที่รู้จักจากบุคลิกที่กล้าแสดงออกและวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างตรงไปตรงมา ส่งผลให้เธอกลายเป็นบุคคลที่ได้รับความนิยมในหมู่คนรุ่นใหม่

ในปี พ.ศ. 2562 ช่อ พรรณิการ์ ตกเป็นจำเลยในคดีหมิ่นประมาทโดยการโฆษณา จากการอภิปรายในสภา เกี่ยวกับคดีพลเมืองที่จังหวัดนครราชสีมา
ในปี พ.ศ. 2563 ศาลรัฐธรรมนูญมีมติยุบพรรคอนาคตใหม่ และตัดสิทธิทางการเมืองของกรรมการบริหารพรรคอนาคตใหม่เป็นเวลา 10 ปี ทำให้ “ช่อ พรรณิการ์” ซึ่งเป็นหนึ่งในกรรมการบริหารพรรค ต้องพ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร และไม่สามารถดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ เป็นเวลา 10 ปี โดยในปัจจุบัน “ช่อ พรรณิการ์” ยังคงมีบทบาททางการเมือง โดยเป็นแกนนำพรรคก้าวไกล และยังคงวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาลอย่างต่อเนื่อง

และล่าสุด.. เมื่อช่วงบ่ายของวันที่ 20 กันยายน 2566 วิบากกรรมของนักการเมืองสาว “ช่อ-พรรณิการ์ วานิช” ก็ถูกพูดถึงเป็นอย่างมากอีกครั้ง เมื่อ ศาลฎีกาตัดสินให้เธอมีความผิดฐานฝ่าฝืนจริยธรรม เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดไป ภายหลังจากที่ ป.ป.ช. เป็นผู้ร้อง ยื่นขอให้วินิจฉัย กรณีกล่าวหา น.ส.พรรณิการ์ อดีต สส.พรรคอนาคตใหม่ ฝ่าฝืนมาตรฐานจริยธรรมฯ โพสต์ข้อความพาดพิงสถาบันฯ..