เมื่อวันที่ 18 ต.ค. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม-ประเทศไทย จะทำการแถลงข่าว “การค้นพบซากดึกดำบรรพ์อัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่ ของโลกจากประเทศไทย” โดยนายฐิติพันธ์ จูจันทร์โชติ รองอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี โฆษกกรมทรัพยากรธรณี และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กันตภณ สุระประสิทธิ์ อาจารย์ประจำภาควิชาธรณีวิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ชั้น 1 อาคารกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

สำหรับการค้นพบซากดึกดำบรรพ์อัลลิเกเตอร์สายพันธุ์ใหม่นั้น นักวิจัยเผยแพร่ข้อมูลในวารสารวิชาการเนเจอร์ ว่า สิ่งมีชีวิตที่ยังระบุตัวตนไม่ได้ชนิดนี้มีความเกี่ยวข้องทางวิวัฒนาการที่ใกล้ชิดกับแอลลิเกเตอร์สายพันธุ์เอเชีย ซึ่งการตรวจสอบกะโหลกศีรษะที่แทบจะย่อยสลายกลายเป็นฟอสซิลอย่างละเอียด ส่งผลให้การค้นพบสายพันธุ์ที่ถูกฝังกลบไว้อย่างยาวนานประสบผลสำเร็จ และคาดว่าจะมีอายุน้อยกว่า 230,000 ปีโดยประมาณ

แอลลิเกเตอร์สายพันธุ์ดึกดำบรรพ์นี้ถูกค้นพบที่บริเวณบ้านสี่เหลี่ยม ตำบลโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งอยู่ห่างจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงเทพฯ ราว 300 กิโลเมตร (186 ไมลส์) และถูกตั้งชื่อว่า แอลลิเกเตอร์แม่น้ำมูล (Alligator munensis) เพื่อแสดงความเคารพต่อแม่น้ำมูลที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียง

แอลลิเกเตอร์สายพันธุ์นี้มีโครงสร้างของกะโหลกศีรษะที่โดดเด่น เช่น บริเวณจมูกและปากที่กว้างและสั้น โครงกะโหลกศีรษะโค้งสูง มีเบ้าฟันที่มีจำนวนน้อยลง และรูจมูกอยู่ในตำแหน่งที่ห่างจากปลายของบริเวณจมูกและปาก

แอลลิเกเตอร์เป็นสัตว์เลื้อยคลานครึ่งบกครึ่งน้ำขนาดใหญ่ในอันดับจระเข้ และพบเห็นเป็นส่วนใหญ่ในแหล่งน้ำจืด ไม่เหมือนกับจระเข้ที่มักจะพบเห็นได้บ่อยในแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็ม โดยสายพันธุ์ของแอลลิเกเตอร์ที่ยังมีชีวิตอยู่มี 2 สายพันธุ์ด้วยกัน นั่นคือแอลลิเกเตอร์อเมริกา (Alligator mississippiensis) และแอลลิเกเตอร์จีน (Alligator sinensis) ซึ่งมีอีกชื่อหนึ่งที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายคือ แอลลิเกเตอร์ตีนเป็ดแยงซี ที่พบเห็นได้ในพื้นที่ขนาดเล็กบริเวณตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศจีน

นักวิจัยระบุในแถลงการณ์ว่า ทีมวิจัยได้วิเคราะห์ซากฟอสซิลที่ยังหลงเหลืออยู่และทดสอบตัวอย่างเปรียบเทียบ 19 ตัวอย่างที่มาจากสายพันธุ์แอลลิเกเตอร์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว 4 สายพันธุ์ และสายพันธุ์ที่ยังมีชีวิตอยู่โดยละเอียด เพื่อทำความเข้าใจสายสัมพันธ์เชื่อมโยงทางวิวัฒนาการระหว่างสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์นี้และสายพันธุ์อื่น ๆ

งานวิจัยเผยว่า กะโหลกศีรษะของ แอลลิเกเตอร์แม่น้ำมูล แสดงให้เห็นถึงคุณลักษณะที่คล้ายคลึงกันกับแอลลิเกเตอร์จีน นั่นคือเพดานปากที่อ้ากว้างเล็กน้อย สันบริเวณด้านบนของกะโหลกศีรษะ และสันที่นูนขึ้นมาด้านหลังรูจมูก

การเปรียบเทียบกะโหลกศีรษะของ (a) แอลลิเกเตอร์แม่น้ำมูล และ (b) แอลลิเกเตอร์จีน ในมุมมองด้านข้าง (เครดิต : กุสตาโว ดาร์ลิมและมาร์ตัน ราบี จากวารสารวิชาการเนเจอร์)

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าแอลลิเกเตอร์สองสายพันธุ์นี้มีความสัมพันธุ์ที่ใกล้เคียงกัน และอาจจะกำเนิดมาจากบรรพบุรุษเดียวกันที่อาศัยอยู่ในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำแยงซี และแม่น้ำโขง-เจ้าพระยา

นักวิจัยคาดการณ์ว่าการยกตัวขึ้นของที่ราบสูงทิเบตแถบตะวันออกเฉียงใต้เมื่อ 23 ถึง 5 ล้านปีก่อน ส่งผลให้บรรพบุรุษที่สองสายพันธุ์นี้มีร่วมกันต้องแยกจากกัน ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาสายพันธุ์ที่มีความเฉพาะตัว

และยังระบุว่าเบ้าฟันขนาดใหญ่ที่ด้านหลังปากของแอลลิเกเตอร์ดึกดำบรรพ์ชี้ให้เห็นว่า มันมีฟันที่แข็งแรงที่สามารถบดขยี้เปลือกต่างๆ ได้ โดยที่อาหารของมันมีแนวโน้มที่จะเป็นเหยื่อที่มีกระดองแข็ง เช่น หอยทากหรือสัตว์ชนิดอื่นๆ

ขอบคุณข้อมูล : วารสารวิชาการเนเจอร์