เมื่อวันที่ 20 ต.ค.ที่กองบัญชาการกองทัพเรือ พระราชวังเดิม นายสุทิน คลังแสง รมว.กลาโหม เดินทางมาตรวจเยี่ยมกองทัพเรือในพื้นที่กรุงเทพมหานคร โดยมีพล.ร.อ.อะดุง  พันธุ์เอี่ยม ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.)รวมถึงนายทหารระดับสูง และหัวหน้าหน่วยขึ้นตรงของกองทัพเรือ ให้การต้อนรับโดยนายสุทิน ให้สัมภาษณ์ภายหลังมาตรวจเยี่ยมกองทัพเรือว่า มาตรวจเยี่ยมตามธรรมเนียมปฏิบัติ ได้รับการตอบรับ ที่อบอุ่น เหมาะสม และได้มาทราบภารกิจของกองทัพเรืออยู่หลายอย่าง

นายสุทิน ยังกล่าวถึงปัญหาเรื่องเรือดำน้ำที่ขาดเครื่องยนต์ว่า กองทัพเรือพยายามจะหาทางออกและได้ข้อสรุป ว่า จะเดินหน้าและรับเครื่องยนต์ของจีน และได้ทำบันทึกเสนอมาที่กระทรวงกลาโหมระหว่างนั้นทางเรา ได้พยายามศึกษาหาความรู้และหารือกันว่า ทบทวนแนวทางใหม่ เพราะเรายึดหลักว่าการหาทางใด 1. กองทัพเรือต้องไม่สูญเสียโอกาสคือความเข้มแข็งที่กองทัพเรืออยากได้โดยการมีเรือดำน้ำ ไม่ได้ให้กองทัพเรืออ่อนแอลงก็ควรได้ 2.ทางสังคมต้องพึงพอใจ กับกองทัพและรัฐบาล เม็ดเงินก็ต้องคุ้มค่า 3.ผู้บริหารทั้งฝ่ายการเมืองและระดับกองทัพ ต้องอธิบายได้และไม่เป็นที่ครหานินทาจากสังคมเรามาทบทวนกันมาก็ได้ 2 แนวทาง  ทั้งนี้ กองทัพเรือขอให้รัฐบาลพยายามให้ได้เครื่องยนต์ นายกฯรับปาก ไปเจรจาก็ไม่เป็นผล ก็มาสู่แนวทางว่าถ้าไม่สามารถที่จะให้เครื่องยนต์ตามข้อตกลงตามสเปคนั้นกองทัพเรือ ขอ 2 แนวทางหนึ่ง 1.ขอเปลี่ยนรายการไม่เอาเรือดำน้ำก็ได้แต่ ขอเป็นเรือฟริเกต 3 ระบบ ที่สามารถต่อสู้ ทางอากาศ ผิวน้ำ ใต้น้ำ ส่วนราคาก็จะประมาณเรือดำน้ำ  2. ถ้าไม่ได้เรือฟริเกต ขอเป็นเรือเรือ OPV เรือตรวจการณ์ระยะไกลทดแทน ซึ่งแม้กองทัพมุ่งมั่นอยากได้ แต่กองทัพก็ยินดีสนองนโยบายรัฐบาล ซึ่งตนและรัฐบาลพิจารณาแล้วว่า ขอเลือกแนวทางที่ 1.คือเรือฟิตเนส ซึ่งราคาสูงกว่าเรือดำน้ำ 1,000 ล้านบาท ซึ่งเราเห็นเม็ดงบประมาณโดยนำเงินการสร้างอู่เรือดำน้ำ  ระยะที่ 3ที่ยังไม่ทำสัญญา  ซึ่งไม่กระทบงบประมาณ

นายสุทิน กล่าวต่อว่า สำหรับสมรรถนะของกองทัพรัฐบาลเห็นว่า เมื่อได้เรือฟริเกตมาเราก็สามารถปราบเรือดำน้ำได้สมรรถนะของกองทัพเรือไม่เสียหายมาก แต่ยอมรับว่าหย่อนลงไปกว่าการมีเรือดำน้ำนิดหนึ่ง ซึ่งกองทัพเรือรับได้ทั้งนี้ ในระหว่างการเดินทางไปประเทศจีนร่วมกับนายกฯก็นำไปคุยกับรัฐบาลจีน แต่ยังไม่จบ 100% เพราะมีรายละเอียดต้องพูดคุย แต่ได้ข้อสรุปว่าทางการจีนก็เข้าใจ ว่าเรื่องนี้เป็นความลำบากใจของไทย แต่จีนขอความเห็นใจเช่นกันว่าปัญหาเขาถูกเบี้ยว เรื่องเครื่องยนต์เช่นกัน ดังนั้นต่างคนต่างเห็นใจกันและยินดีที่จะหาทางออกให้ ซึ่งจีนรับแนวทางที่เราเสนอไปพิจารณา ส่วนอีกแนวทางกำลังคิดกันอยู่ แต่ต้องไปคุยในรายละเอียดอีกครั้ง แต่ในหลักการยอมรับ ซึ่งการเปลี่ยนเรือดำน้ำเป็นเรือฟริเกต ต้อง มีรายละเอียดที่ต้องพูดคุย เช่น เงินจ่ายไปทำอย่างไร หรือเทคโนโลยีอื่นๆมีเงื่อนไขอะไร จะได้ไม่เกิดปัญหาตามมา รวมทั้งข้อกฎหมายต้องคุยกันต่อไป

เมื่อถามย้ำว่าสรุปเปลี่ยนเป็นเรือฟริเกตทจีนใช่หรือไม่ นายสุทิน กล่าวว่า เราเสนอไปอย่างนี้ว่าขอเป็นเรือฟริเกตจริงและโครงการเรือดำน้ำไม่ยกเลิกไม่พับไม่ระงับ โดยให้ชะลอระยะหนึ่งเพื่อแก้ปัญหานี้ให้เสร็จ เมื่อได้เรือฟริเกตแล้วบวกกับเรือฟริเกตเดิมที่มีโครงการจัดหา ก็มาบวกเข้าไปส่วนเรือดำน้ำก็เดินหน้าต่อไป วันใดที่ประเทศมีความพร้อมก็ทำเรื่องนี้ต่อ  ย้ำว่าไม่ใช่การยกเลิกสัญญาโครงการเรือดำน้ำ  แต่ชะลอโครงการไปก่อนไม่ใช่ระงับ และให้กองทัพเรือศึกษาเรื่องนี้ต่อไปว่าจะเอาของประเทศใด และเป็นการปรับปรุงหรือเปลี่ยนเงื่อนไขใหม่ ภายใต้สัญภายใต้ข้อตกลงเดิมจีทูจีเป็นข้อตกลงเดิม รัฐบาลไทยและจีน ถ้าบรรลุ ก็คือให้ระงับเรื่องเรือดำน้ำ แล้วมาเขียนข้อตกลงขึ้นใหม่ว่าจะเอาเรือฟริเกต ส่วนเรือดำน้ำจีนก็คงเอาไปทางอื่น ก็เป็นความรับผิดชอบที่จีน จะไปทำอะไรก็แล้วแต่

นายสุทิน กล่าวต่อว่า ส่วนเงินที่ไทยจ่ายไปแล้ว ไทยเสนอว่าขอให้เป็นเคลมเป็นค่าเรือฟรีเกต ราว 7 พันล้านบาท เมื่อหักลบกับที่ยังไม่ได้จ่าย อีก 6,000 ล้านบาท อาจจะต้องเพิ่มอีก 1,000 ล้านบาท ส่วนราคารวมของเรือฟริเกตลำใหม่นี้ทางจีนยังไม่ได้พูดเรื่องราคา แต่จากการศึกษา อยู่ที่ประมาณ 17,000 ล้านก็ใกล้เคียงกันจาก นี้ต้องไปพูดในรายละเอียด

เมื่อถามว่ามีโอกาสหรือไม่ที่จะเปลี่ยน เรือดำน้ำ ไปเป็นเจ้าอื่นที่ไม่ใช่จีน ในเมื่อชะลอและระงับไปแล้ว นายสุทิน กล่าวว่า มันก็จะยุ่งยาก เพราะเป็นข้อตกลงและ 2 ก็จ่ายเงินไปแล้ว ถ้าไปเอาเจ้าอื่น หรือถ้าจะเอาเจ้าอื่นก็คงเป็นรอบใหม่ซึ่งยังไม่ระงับแต่รอบนี้ ขอเป็นเรือริดตก่อน โดยจะมีการพูดคุยกับจีนอีกครั้งในเร็วๆนี้ประมาณเดือนพ.ย.ก่อนจะครบสัญญา ประมาณ 1-2 สัปดาห์โดยจะส่งคณะทำงานไปเจรจา ส่วนเรือดำน้ำลำใหม่จะเป็นของจีนเหมือนเดิมหรือเป็นของประเทศอื่นนั้นนายสุทิน กล่าวว่า ยังไม่มีความชัดเจน และการจัดหาใหม่อาจจะทันในสมัยตนถ้าจัดหาภายใน 4 ปี

เมื่อถามย้ำว่า หากฟังกระแสสังคมมากเกินไปจะกระทบต่อความมั่นคงหรือไม่ นายสุทิน กล่าวว่า เราไม่ได้เอาเรื่องสังคมไปเป็นประเด็นหลัก แต่เรื่องสมรรถนะเครื่องยนต์ทางกองทัพเรือเองก็กังวล เพราะเครื่องยนต์จีนเราไม่เคยใช้ ที่อื่นก็ไม่เคยใช้ และยอมรับว่าเป็นเรื่องข้อกฎหมายด้วยที่ปฏิบัติยาก และถ้ารับเครื่องยนต์จีนมาใครจะรับประกันหากเรื่องถึงศาล จะมีเรื่องตามมาอีกเยอะ กองทัพหรือรัฐบาลอาจจะโดน ไม่ใช่ว่าเราจะเห็นแก่ตัว กลัวโดนหลอก แต่จะยุ่งยากทางกฎหมายไทยไม่น้อย จะนำมาซึ่งความแตกแยกหรือเกิดการเมืองอะไรไปอีก กระทบอีกเยอะ แต่หากจีนสามารถหาเครื่องยนต์เยอรมันมาใส่ให้ได้เราก็ยังรอ แต่ถ้าไม่ได้ ก็เอาเรือฟริเกต.