จากกรณีข่าวที่สี่แยกกรอกสมบูรณ์ อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี มีเหตุสลดรถโรงพยาบาลได้ฝ่าไฟแดง จึงทำให้ประสานงากับรถขนผัก โดยทำให้รถทั้งสองคันพลิกคว่ำ พอมีการรายงานข่าวออกไปตามสื่อโซเชียลต่างพากันวิพากษ์วิจารณ์ถกถามถ้าในทางกฎหมาย จะตัดสินใครเป็นผู้กระทำผิด

โดยวันนี้ “ทีมข่าวเดลินิวส์ออนไลน์” จะพาทุกคนไปเปิดข้อกฎหมายควรรู้ “รถฉุกเฉิน” ฝ่าไฟแดงเข้าข่ายผิดกฎจราจรหรือไม่ ซึ่งตาม พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร. ให้ไว้ ณ วันที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2522 เป็นปีที่ 34 ในรัชกาลปัจจุบันได้ระบุว่า

มาตรา 75 ในขณะที่ผู้ขับขี่ขับรถฉุกเฉินไปปฏิบัติหน้าที่ ผู้ขับขี่มีสิทธิดังนี้
1.ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ ใช้เสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดไว้
2.หยุดรถหรือจอดรถ ณ ที่ห้ามจอด
3.ขับรถเกินอัตราความเร็วที่กำหนดไว้
4.ขับรถผ่านสัญญาณจราจรหรือเครื่องหมายจราจรใด ๆ ที่ให้รถหยุด แต่ต้องลดความเร็วของรถให้ช้าลงตามสมควร
5.ไม่ต้องปฏิบัติตามบทแห่งพระราชบัญญัตินี้หรือข้อบังคับการจราจรเกี่ยวกับช่องเดินรถ ทิศทางของการขับรถหรือการเลี้ยวรถที่กำหนดไว้

ในการปฏิบัติตามวรรคหนึ่ง ผู้ขับขี่ต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี
[คำว่า “ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ” แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 4 แห่งพระราชบัญญัติจราจรทางบก (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2559]

มาตรา 76 เมื่อคนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์เห็นรถฉุกเฉินในขณะปฏิบัติหน้าที่ใช้ไฟสัญญาณแสงวับวาบ หรือได้ยินเสียงสัญญาณไซเรน หรือเสียงสัญญาณอย่างอื่นตามที่ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติกำหนดไว้ คนเดินเท้า ผู้ขับขี่ หรือผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องให้รถฉุกเฉินผ่านไปก่อนโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้
1.สำหรับคนเดินเท้าต้องหยุดและหลบให้ชิดขอบทาง หรือขึ้นไปบนทางเขตปลอดภัย หรือไหล่ทางที่ใกล้ที่สุด
2.สำหรับผู้ขับขี่ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดขอบทางด้านซ้าย หรือในกรณีที่มีช่องเดินรถประจำทางอยู่ทางด้านซ้ายสุดของทางเดินรถ ต้องหยุดรถหรือจอดรถให้อยู่ชิดช่องเดินรถประจำทาง แต่ห้ามหยุดรถหรือจอดรถในทางร่วมทางแยก
3.สำหรับผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องบังคับสัตว์ให้หยุดชิดทาง แต่ห้ามหยุดในทางร่วมทางแยก

ในการปฏิบัติตาม (1) และ (3) ผู้ขับขี่และผู้ขี่หรือควบคุมสัตว์ต้องรีบกระทำโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะกระทำได้และต้องใช้ความระมัดระวังตามควรแก่กรณี…