เมื่อวันที่ 2 มี.ค. ดร.อรรถพล สังขวาสี เลขาธิการสภาการศึกษา กล่าวว่า ตามที่นายกรัฐมนตรี (นายเศรษฐา ทวีสิน) ได้ประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision “IGNITE THAILAND จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง” โดยมีวิสัยทัศน์ มุ่งพัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคต ที่ยั่งยืน 8 ประการ ได้แก่ 1. ศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว 2. ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ 3. ศูนย์กลางอาหาร 4. ศูนย์กลางการบิน 5. ศูนย์กลางขนส่งของภูมิภาค 6. ศูนย์กลางผลิตยานยนต์แห่งอนาคต 7. ศูนย์กลางเศรษฐกิจดิจิทัล และ 8. ศูนย์กลางทางการเงิน โดยการจะไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเจริญทางเศรษฐกิจนั้น จำเป็นต้องมาพร้อมกับการพัฒนาทางสังคม โดยรากฐานความสำเร็จคือการยกระดับความสามารถของประชาชน และปัจจัยที่ถือเป็นหัวใจสำคัญในการพัฒนาคน และยกระดับความสามารถของประชาชน คือ การศึกษา ซึ่งต้องเปิดโอกาสทางด้านการศึกษาให้มากขึ้น มีช่องทางการเรียนรู้ใหม่ ๆ สร้างกลไกที่เอื้อให้เอกชนมีส่วนร่วมตั้งแต่การพัฒนาเนื้อหา (Content) มีการสอน 2 ภาษาในโรงเรียน มีการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้รูปแบบ Play-basedLearning Platform ที่เน้นผู้เรียนเป็นหลัก รวมทั้งการส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการเรียนรู้ได้มากขึ้นผ่านช่องทางต่าง ๆ ประกอบกับนโยบายการศึกษาและแนวทางการขับเคลื่อนนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พล.ต.อ.เพิ่มพูน ชิดชอบ) ที่เน้นนโยบายลดภาระนักเรียนและผู้ปกครอง ให้เรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา Anywhere Anytime… พัฒนาการศึกษาผ่านระบบการสะสมหน่วยการเรียนรู้(Credit Bank System) เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและประชาชนได้เรียนและทำงานไปในเวลาเดียวกันธนาคารหน่วยกิต หรือเครดิตแบงก์ (Credit Bank) เป็นแนวทางที่จะตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้ 

โดยธนาคารหน่วยกิตหรือเครดิตแบงก์ เป็นกลไกที่ส่งเสริมการเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงการศึกษา และการขับเคลื่อนการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับศักยภาพหรือยกระดับทักษะของคน ให้พร้อมตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งมีจุดมุ่งหมาย คือ การศึกษาตลอดชีวิต ทั้งนี้ ธนาคารหน่วยกิตเป็นระบบการเรียนรู้ที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนหรือประชาชนสามารถนำผลการเรียนรู้ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นความรู้ ทักษะหรือประสบการณ์จากการทำงานหรือการฝึกอบรม มาใช้ในการเทียบโอนและสะสมเพื่อเข้าสู่ระบบการศึกษา

รวมถึงยังช่วยลดขั้นตอนและความซ้ำซ้อนในการศึกษาสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการเพิ่มศักยภาพและขีดความสามารถกำลังคน และเพื่อเป็นกำรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนและประชาชนได้นำผลการเรียนรู้และประสบการณ์การทำงานหรืออาชีพ ทั้งในระบบ นอกระบบ และตามอัธยาศัย มารับรองและเทียบโอนกันได้ จึงได้ขับเคลื่อนการดำเนินงานระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ (Credit Bank) มาอย่างต่อเนื่อง และได้มีการพัฒนาคู่มือการดำเนินงานระบบ

ธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจ ในวิธีการ ขั้นตอน และความเชื่อมโยงการทำงนระบบธนาคารหน่วยกิตทั้งในระดับชำติ ระดับจังหวัด และระดับสถานศึกษา ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อกำรขับเคลื่อนการดำเนินงาน และใช้เป็นแนวทางการดำเนินงานให้แก่ผู้ปฏิบัติงานในระบบธนาคารหน่วยกิต ให้สามารถปฏิบัติงานได้เป็นมาตรฐานเดียวกัน และสามารถทำให้เกิดการขับเคลื่อนอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรมยิ่งขึ้น โดยคู่มือการดำเนินงานระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ ได้มีการบรรจุรายละเอียดจากการสังเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งข้อคิดเห็นจากการศึกษา วิจัย และรายงานการปฏิบัติงานระบบธนาคารหน่วยกิต ได้แก่

ชุดความรู้ที่จำเป็น กรอบนโยบายและทิศทางที่เกี่ยวข้องกับระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ ระบบธนาคารหน่วยกิต เครือข่ายระบบธนาคารหน่วยกิตของประเทศไทย ระบบการศึกษา หลักสูตรการศึกษาและฝึกอบรมที่เกี่ยวข้อง กับระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติ มาตรฐานกำกับการปฏิบัติงานระบบธนาคารหน่วยกิต การพัฒนาคลังหน่วยกิตดิจิทัล และแนวความคิดในการออกแบบระบบธนาคารหน่วยกิตดิจิทัล รวมทั้งกำหนดแนวปฏิบัติเพื่อการขับเคลื่อนระบบธนาคารหน่วยกิตแห่งชาติสู่การปฏิบัติในระดับชาติ ระดับจังหวัด และระดับสถานศึกษา