“กฎหมาย PDPA” Personal Data Protection Act คือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายว่าด้วยการให้สิทธิกับเจ้าของข้อมูลส่วนบุคคล ซึ่งสร้างมาตรฐานการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย และนำไปใช้ให้ถูกวัตถุประสงค์ตามคำยินยอม ที่เจ้าของข้อมูลส่วนบุคคลอนุญาต โดยประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษา ตั้งแต่วันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ต่อมา PDPA มีผลบังคับใช้อย่างเต็มรูปแบบในวันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ทั้งนี้ “กฎหมาย PDPA” ถือเป็นกฎหมายที่ทุกคนควรทราบ และตระหนักถึงสิทธิในข้อมูลส่วนบุคคล โดยเฉพาะอย่างยิ่งให้ภาครัฐ เอกชน ทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดา

PDPA คุ้มครองอะไรบ้าง
กฎหมาย PDPA คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ที่เป็นข้อมูลพื้นฐานที่บ่งบอกถึงเจ้าของข้อมูลนั้น ๆ ทั้งทางตรงและทางอ้อม อาทิ
ส่วนบุคคลทั่วไป
– ชื่อ นามสกุล
– เบอร์โทรศัพท์ อีเมลส่วนตัว ที่อยู่ปัจจุบัน
– เลขบัตรประชาชน
– เลขหนังสือเดินทาง
– เลขใบอนุญาตขับขี่
– ข้อมูลทางการศึกษา
– ข้อมูลทางการเงิน
– ข้อมูลทางการแพทย์
– ทะเบียนรถยนต์
– โฉนดที่ดิน
– ทะเบียนบ้าน
– วันเดือนปีเกิด
– สัญชาติ
– น้ำหนักส่วนสูง
– ข้อมูลอื่น ๆ บนอินเทอร์เน็ตที่สามารถระบุตัวตนได้ เช่น Username/password, Cookies IP address, GPS Location

ข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว 
– เชื้อชาติ เผ่าพันธุ์
– ความคิดเห็นทางการเมือง
– ความเชื่อในลัทธิ ศาสนาหรือปรัชญา
– พฤติกรรมทางเพศ
– ประวัติอาชญากรรม
– ข้อมูลด้านสุขภาพ ความพิการ เช่น โรคประจำตัว การฉีดวัคซีน ใบรับรองแพทย์
– ข้อมูลสหภาพแรงงาน
– ข้อมูลพันธุกรรม
– ข้อมูลชีวภาพ เช่น ลายนิ้วมือ แบบจำลองใบหน้า ข้อมูลม่านตา

เจ้าของข้อมูลมีสิทธิอะไรบ้าง?
ตามกฎหมาย PDPA กำหนด เจ้าของข้อมูลมีสิทธิเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคลของตัวเอง ดังนี้
– สิทธิในการได้รับการแจ้งให้ทราบ
– สิทธิในการเข้าถึงข้อมูล
– สิทธิในการขอให้โอนข้อมูล
– สิทธิในการคัดค้านการเก็บรวบรวม ใช้ หรือเปิดเผยข้อมูล
– สิทธิในการลบหรือขอให้ทำลายข้อมูลส่วนบุคคล
– สิทธิในการแก้ไขข้อมูลส่วนบุคคลให้ถูกต้อง
– สิทธิในการระงับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล

บทลงโทษ
หากไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ. PDPA จะได้รับโทษ ทางแพ่ง, อาญา และทางปกครองดังต่อไปนี้
* โทษอาญา : จำคุกสูงสุดไม่เกิน 6 เดือนถึง 1 ปี หรือปรับสูงสุดไม่เกิน 500,000 ถึง 1 ล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
* โทษแพ่ง : ค่าสินไหมทดแทน+ค่าสินไหมเพื่อการลงโทษอีกไม่เกิน 2 เท่า
* โทษปกครอง : ปรับไม่เกิน 1/3/5 ล้านบาท

สามารถฟ้องย้อนหลังได้มั้ย?
PDPA ถือเป็นกฎหมายใหม่ที่บังคับใช้เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ดังนั้นจึงไม่มีผลย้อนหลัง…

ขอบคุณข้อมูล : กฎหมาย PDPA