กรณีบริษัทฯ ส่งออกสินค้าไปต่างประเทศโดยดำเนินพิธีการทางศุลกากร ย่อมได้สิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา 0% ตามมาตรา 80/1 (1) แห่งประมวลรัษฎากร

สำหรับฐานภาษีสำหรับการขายสินค้าโดยการส่งออก ได้แก่ มูลค่าของสินค้าส่งออก โดยให้ใช้ราคา เอฟ.โอ.บี. ของสินค้าบวกด้วยภาษีสรรพสามิตตามที่กำหนดในมาตรา 77/1 (19) และภาษีและค่าธรรมเนียมอื่นตามที่จะได้กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา แต่ทั้งนี้ไม่ให้รวมอากรขาออก

ราคา เอฟ.โอ.บี. ได้แก่ ราคาสินค้า ณ ด่านศุลกากรส่งออกโดยไม่รวมค่าประกันภัยและค่าขนส่งจากด่านศุลกากรส่งออกไปต่างประเทศ”

ทั้งนี้ ไม่ว่าบริษัทฯ จะใช้เงื่อนไขINCOTERMs อื่นใดในการส่งออกก็ตาม ในทางภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้ใช้ราคา “FOB” สำหรับการบันทึกรายการในรายงานภาษีขายเท่านั้น

รูปภาพนี้มี Alt แอตทริบิวต์เป็นค่าว่าง ชื่อไฟล์คือ international-container-cargo-ship-harborfreight-transportation-shipping-ai-generative.jpg

ดังนั้น เกี่ยวกับยอดขายต่างประเทศ ที่ต้องคำนวณด้วยอัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ดำเนินพิธีการทางศุลกากรก่อนการยื่นแบบ ภ.พ.30 แต่เวลาขอคืน VAT 7% เจ้าพนักงานสรรพากรแจ้งให้บริษัทฯ จัดทำรายละเอียดยอดขายส่งออก เปรียบเทียบกับยอดตามใบขนสินค้าขาออกของกรมศุลกากร ซึ่งใช้อัตราแลกเปลี่ยนเดียวทั้งเดือน แล้วให้บริษัทฯ ปรับยอดส่งออกในบัญชีแยกประเภทรายได้ให้เป็นตามยอดตามใบขนสินค้าขาออกของกรมศุลกากร นั้น ขอเรียนว่า กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการบันทึกรายการบัญชีในการคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ไว้ตามข้อ 3 ของคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 132/ 2548ฯ แล้ว บริษัทฯ ก็ไม่ต้องปรับยอดรายได้จากการส่งออกให้เป็นยอดอื่นใดอีก เพราะได้ปฏิบัติถูกต้องตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข อัตรา และกำหนดเวลาตามแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรแล้ว

บริษัทฯ ไม่พึงบันทึกยอดรายได้เป็นยอดเดียวกับกรมศุลกากร เพื่อการยื่น ภ.พ.30 แต่อย่างใด ให้ยึดถือแนวปฏิบัติตาม
คำสั่งกรมสรรพากรที่ ป. 132/2548 ฯ ไว้ให้มั่น หากผิดไปจากนั้น ให้ขอทราบแนวทางปฏิบัติของกรมสรรพากรอื่นใดที่เป็นลายลักษณ์อักษร.