เพื่อการเดินหน้าใช้ชีวิตแบบปกติมากที่สุดหลังต้องเผชิญการระบาดของโรคโควิด มาเกือบ 2 ปี คราวนี้ถึงวันเปิดบ้านเปิดเมือง โดยใช้การ “ฉีดวัคซีน” ให้ครอบคลุมเป็นการปูทาง พร้อม ๆ กับความร่วมมือกันในการ ‘สวมหน้ากากอนามัยเว้นระยะห่าง-ล้างมือ’ แล้วนั้น การตรวจหาเชื้อด้วย “ชุดตรวจ ATK” ก็เข้ามาเป็นเกราะเสริมให้การเปิดประเทศขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เป็นไปได้อย่างปลอดภัย ราบรื่นที่สุด

อย่างไรก็ตาม ATK หรือชุดตรวจโควิดด้วยตัวเองนั้นยังมีความไวน้อยกว่าการตรวจหาเชื้อด้วยวิธี RT-PCR ดังนั้นค่าที่ได้อาจจะพบ “ผลบวกปลอม” หรือ “ผลลบปลอม” เพราะฉะนั้น ประชาชนอย่างเรา ๆ จะต้องรู้หรือปฏิบัติตัวอย่างไรนั้น เรื่องนี้ “นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์” อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า อันดับแรกเลยคือการใช้ ATK ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากสำ นักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ซึ่งปัจจุบันมีการรับรองแล้วกว่า 193 รายการตรวจสอบได้ผ่านเว็บไซต์ “อย.”

วัตถุประสงค์การใช้ชุดตรวจนี้คือคนที่มีความเสี่ยง เช่น สัมผัสคนติดเชื้อ ไปพื้นที่เสี่ยง พบปะคนจำนวนมาก ทั้งที่มีอาการหรือไม่มีอาการก็สามารถใช้ ATK ตรวจได้ แต่ไม่ควรตรวจทันทีหลังมีความเสี่ยงเพราะโอกาสเจอเชื้อตํ่ามาก เนื่องจากต้องใช้เวลาในการฟักตัว ดังนั้นควรรอ 3-5 วัน แล้วค่อยตรวจ ยกเว้นว่าระหว่างนี้มีอาการ อาทิ ไข้ มีนํ้ามูล เจ็บคอ จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นไม่รับรส หายใจเร็ว หายใจเหนื่อย หายใจลำบาก ตาแดง ถ่ายเหลว เป็นปกติ เพราะเป็นเครื่องมือที่มีความไวน้อยกว่าการตรวจด้วย RT-PCR ดังนั้นการตรวจด้วย ATK แล้วให้ผลลบปลอมอาจจะมาจากสาเหตุ 1.ไม่มีเชื้อจริง ๆ 2.เชื้อมีน้อยอาจจะเพราะอยู่ในระยะต้น ๆ หรือใกล้จะหายแล้ว ดังนั้นต้องทำ ซํ้าในเวลาที่เหมาะสม 3. การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ดี 4. วิธีตรวจไม่ดี เช่น หยดนํ้ายาน้อย อ่านผลเร็วเกินไป “หากมีผลบวก ไม่ว่าจะเป็นบวกจริง หรือบวกปลอมก็ตาม สิ่งที่ต้องทำคือการแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน หรือโทร. 1330 อาจจะไม่ต้องทำ RT-PCR ซํ้าก็ได้หากสามารถกักตัวที่บ้านได้ แต่หากผลเป็นลบ ถ้ารู้ว่าเรามีความเสี่ยงมาก เช่น ไปสัมผัสผู้ติดเชื้อมาก็ยังขอให้กักตัว แล้วหลังจากนั้น 3-5 วันให้ตรวจซํ้าอีกครั้ง ยกเว้นหากมีอาการก็ตรวจซํ้าได้ทันที” เป็นต้น ก็สามารถใช้ ATK ตรวจเบื้องต้นได้

ในส่วนของการอ่านผลการตรวจ ATK นั้น มี 2 จุดที่ต้องดู คือ ตัว “C” และ T” ยํ้าว่า ชุดตรวจที่อ่านผลได้ “ตัว C” ต้องขึ้นเสมอ หากชุดไหนที่ตัว C ไม่ขึ้น แปลว่าชุดตรวจนั้นมีปัญหา ไม่สามารถใช้ได้ และเมื่อตัว C ขึ้นขีดแล้วก็มาดู ตัว T ว่าขึ้นขีดหรือไม่ หาก “ตัว T ไม่ขึ้นแปลว่าเป็นผลลบ” แต่หาก “ตัว T ขึ้นขีดแปลว่าเป็นผลบวก” “ผลที่เกิดขึ้นจากการตรวจด้วย ATK นั้นสามารถเกิด ผลบวกปลอม และ ผลลบปลอม ได้ ต้องยํ้าว่า ATK ที่ผ่านการรับรองจาก อย. ส่วนใหญ่จะเกิดผลบวกปลอมได้น้อยมาก ยิ่งถ้าเกิด 70-80 จากการทดสอบ 300 ตัวอย่าง เช่นนี้ขอให้พึงระลึกว่าน่าจะมีปัญหา”

นพ.ศุภกิจ อธิบายว่า กรณี “ผลบวกปลอม” เกิดจากหลายสาเหตุ อาทิ 1. ATK ไม่ได้มาตรฐานจริง ๆ จะทำ ให้เกิดผลบวกปลอมจำ นวนมาก 2.เกิดการปนเปื้อนจากสิ่งแวดล้อมบริเวณที่ตรวจ 3.มีไวรัสตัวอื่นที่อาจจะเกิดปฏิกิริยาคล้ายกัน ซึ่งหากเป็นชุดตรวจที่ได้มาตรฐานจะเกิดเหตุเช่นนี้ได้น้อยมาก และ 4.ระยะเวลาการอ่านผล เช่น ทิ้งไว้นานเกินไป ทำ ให้ขีดอะไรขึ้นมาหรือเกิดการปนเปื้อน ดังนั้นต้องคุมปัจจัยพวกนี้ให้ดี

ส่วน “ผลลบปลอม” อันนี้เกิดขึ้นได้เป็นปกติ เพราะเป็นเครื่องมือที่มีความไว น้อยกว่าการตรวจด้วย RT-PCR ดังนั้น การตรวจด้วย ATK แล้วให้ผลลบปลอม อาจจะมาจากสาเหตุ 1.ไม่มีเชื้อจริง ๆ 2.เชื้อมีน้อยอาจจะเพราะอยู่ในระยะต้น ๆ หรือใกล้จะหายแล้ว ดังนั้นต้องทำ ซํ้าในเวลาที่เหมาะสม 3. การเก็บสิ่งส่งตรวจไม่ดี 4. วิธีตรวจไม่ดี เช่น หยดนํ้ายาน้อย อ่านผลเร็วเกินไป

“หากมีผลบวก ไม่ว่าจะเป็นบวก จริง หรือบวกปลอมก็ตาม สิ่งที่ต้องทำคือ การแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขใกล้บ้าน หรือ โทร. 1330 อาจจะไม่ต้องทำ RT-PCR ซํ้า ก็ได้หากสามารถกักตัวที่บ้านได้ แต่หากผล เป็นลบ ถ้ารู้ว่าเรามีความเสี่ยงมาก เช่น ไป สัมผัสผู้ติดเชื้อมาก็ยังขอให้กักตัว แล้วหลัง จากนั้น 3-5 วันให้ตรวจซํ้าอีกครั้ง ยกเว้น หากมีอาการก็ตรวจซํ้าได้ทันที

คอลัมน์ : คุณหมอขอบอก
เขียนโดย : อภิวรรณ เสาเวียง