สำนักข่าวรอยเตอร์ส รายงานจากกรุงบิชเคก ประเทศคีร์กีซสถาน เมื่อวันที่ 21 ก.ค. ว่า ความเคลื่อนไหวดังกล่าวเกิดขึ้นเนื่องจากความสนใจในเครื่องดื่มหมักและเครื่องดื่มโพรไบโอติก กำลังเพิ่มสูงขึ้นในหลายประเทศ

เกษตรกรหญิงรีดนมม้า ภายในหมู่บ้าแห่งหนึ่ง ชานกรุงบิชเคก

ความสำคัญของคูมิสต่อวัฒนธรรมคีร์กีซ สามารถเห็นได้จากข้อเท็จจริงที่ว่า เมืองหลวงของอดีตสาธาณรัฐโซเวียตในเอเชียกลาง ซึ่งหมายถึง “กรุงบิชเคก” ตั้งชื่อตามไม้พายที่ใช้คนนมหมัก

จากการโปรโมตผ่านภาพยนตร์และงานเทศกาล คีร์กีซสถานส่งเสริมนักท่องเที่ยวให้สัมผัสประสบการณ์วิถีชีวิตของชาวคีร์กีซเร่ร่อนแบบดั้งเดิม โดยการนอนหลับพักผ่อนใน “เยิร์ต” หรือกระโจมที่พักอาศัยแบบชั่วคราวของชาวเอเชียกลาง ซึ่งตั้งอยู่กลางทุ่งเลี้ยงสัตว์บนภูเขาอันเขียวชอุ่มใกล้กับฝูงม้าที่ให้น้ำนม อีกทั้งนักท่องเที่ยวยังสามารถดื่มนมสดพื้นเมืองที่เรียกว่า “ซามาล” ได้ด้วย

ชาวบ้านช่วยกันทำคูมิส ที่หมู่บ้านในเขตชานกรุงบิชเคก

“พวกเราตัดสินใจมาลอง หลังจากที่ได้ยินเรื่องซามาลและคูมิสจากเพื่อน ๆ ของเรา ที่เคยมาเที่ยวคีร์กีซสถาน” นายอิบราฮิม อัล-ชาริฟ นักท่องเที่ยวจากเมืองเมกกะในซาอุดีอาระเบีย กล่าว “ฉันไม่สามารถบรรยายถึงรสชาติของมันได้เลย ไม่มีสิ่งไหนในซาอุดีอาระเบีย ที่จะเอามาเปรียบเทียบกับมันได้”.

เครดิตภาพ : REUTERS