เรียกได้ว่ากำลังกลายเป็นประเด็นร้อนที่ชาวเน็ตบนโลกออนไลน์ต่างพาวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนัก ภายหลังนักวิชาการไทยในต่างประเทศรายหนึ่งได้ออกมาแฉว่ามีการซื้อขายออนไลน์เพื่อให้ได้ใส่ชื่อตัวเองเป็นผู้แต่งงานวิจัยโดยไม่ต้องทำจริง และเลือกได้ว่าอยากให้มีชื่อตัวเองอยู่ในงานไหน ซึ่งงานวิจัยที่มีผู้แต่งหลายคนจะเรียงชื่อตามลำดับความสำคัญและการมีส่วนร่วม ถ้าอยู่ลำดับแรกก็แพงหน่อย ลำดับถัดมาก็ราคาลดหลั่นลงไป เลือกได้แล้วก็กด “ซื้อ” และชำระเงิน

อาจเป็นรูปภาพของ ข้อความพูดว่า "#9 Morphological control: properties and applications of metal nanostructures Abstract: nanomaterials catalysts, special physicochemical and plasmatic properties have spectroscopy, selectivity. Various templates feedstock molds Noted materials developed range applications various colorimetric and fluorescence synthesis molds sucha controlled morphology. nanostructures, including.th u prefabricated patterns (cTaB), Keywords: controlled morphology. Metal nanomaterials, catalysts, Plasmon devices Date publication: Deadline: Journal November 2021 those who aid. Region the journal publication: USA. field: Engineering, Materials Indexing ofthe ournal: Scopus (Q2-3). Article Author: Author FREE Author #2 Busy 900 USD Author #3 FREE Author #4 Buy Busy 800 USD Author #5 Buy FREE 700 USD Buy"

และเมื่อได้ผู้แต่งครบแล้ว งานวิจัยเล่มนี้ก็จะถูกส่งไปตีพิมพ์ แล้วคนที่จ่ายเงินก็ไปเอามาเคลมเป็นผลงานวิชาการของตัวเองได้เลย ซึ่งปรากฏว่ามีชื่อนักวิจัยไทยไปปรากฏอยู่ในงานวิจัยประเภทนี้หลายสิบชิ้น เช่น งานวิจัยเรื่องวัสดุนาโน ชื่อผู้แต่งลำดับที่ 1 อาจารย์จากมหาวิทยาลัยชื่อดังทางภาคเหนือ และชื่อที่ 3 อาจารย์จากวิทยาลัยพยาบาลแห่งหนึ่ง

โดยข้อสังเกตเกี่ยวกับงานวิจัยดังกล่าวคือ ผู้แต่งร่วมจะมาจากหลายประเทศคนละมุมโลก ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ร่วมวิจัยจำไม่รู้จักกันมาก่อน แค่มากดซื้องานวิจัยชิ้นเดียวกัน พร้อมกับอีกข้อสังเกตคือ นักวิจัยมักทำวิจัยข้ามศาสตร์ที่ตนเองจบ

ทำให้เรื่องราวดังกล่าวถูกเชื่อมโยง และตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้ที่อาจารย์จากมหาวิทยาลัยชื่อดังทางภาคเหนือทำ เนื่องจาก โดยเดิมทีในปี 2019 อาจารย์รายนี้มีงานวิจัยแค่ชิ้นเดียว แต่ต่อมาในปี 2020 มีเพิ่มเป็น 40 ชิ้น และในปี 2021 มีเพิ่มถึง 90 ชิ้น จนทำให้คนในแวดวงวิชาการออกมาแฉเพิ่มอีกว่า อาจารย์ท่านนี้จ่ายเงินซื้อชื่อผู้แต่งลำดับที่ 1 ในราคา 900 ดอลลาร์ (ประมาณ 30,000 บาท) แล้วนำงานวิจัยไปเบิกเงินกับมหาวิทยาลัย 1.2 แสนบาท ได้เงินส่วนต่าง 90,000 บาท

สุดท้ายเรื่องนี้กำลังเป็นที่ถกเถียงร้อนแรงในแวดวงวิชาการและการวิจัย เหล่านักวิชาการเรียกร้องให้มีการตรวจสอบและจัดการขั้นเด็ดขาดเพราะถือว่าเป็นเรื่องร้ายแรง โดย ดร.อนันต์ จงแก้ววัฒนา นักไวรัสวิทยา ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยนวัตกรรมสุขภาพสัตว์และการจัดการ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้ออกมาโพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ระบุว่า

“ธุรกิจที่น่ากลัวที่สุดของสังคมวิจัยคือการที่นักวิจัยไป shopping งานวิจัยที่ตัวเองไม่ได้ทำ เช่น ไปอ่านงานที่คิดว่าอยากมีชื่อตัวเองใน paper นั้นๆ แล้วใช้เงินไปซื้อตำแหน่งของการเป็นผู้แต่ง หรือ ผู้นิพนธ์ ในงานวิจัย ชื่อแรกก็จะแพงหน่อย ชื่อกลางๆก็จะถูกหน่อย เมื่อได้จำนวนผู้แต่งครบแล้ว งานวิจัยผีๆนี้ก็ส่งไปตีพิมพ์โดยคนที่จ่ายเงินเป็นผู้แต่งก็จะไปสามารถ claim ผลงานทางวิชาการ หรือ ไปใช้ขอทุนจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อถอนทุนคืนได้ งานวิจัยที่ออกมาจะมีผู้แต่งแบบหลากหลายสถาบัน หลายประเทศที่ไม่เคยเห็นหน้า หรือรู้จักกันเลย พฤติกรรมแบบนี้ไม่แตกต่างจากการคอร์รัปชั่นที่เกิดขึ้นในวงการราชการเลย ที่เสียใจคือ เห็นชื่อนักวิจัยของไทยในงานแบบนี้ด้วย”

ด้าน ศ.นพ.มานพ พิทักษ์ภากร หัวหน้าศูนย์วิจัยเป็นเลิศด้านการแพทย์แม่นยำ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล ได้ออกมาทวีตข้อความว่า “เรื่องฉาวของวงการวิจัยและมหา’ลัยตอนนี้ คือการขุดพบว่า อาจารย์บางคนมีผลงานตีพิมพ์ มี citation และ H-index สูงเพราะไปซื้อ authorship ถือเป็นเรื่องร้ายแรงมากระดับเดียวกับ data fabrication และ plagiarism ซึ่ง ผบห. ต้องจัดการครับ สิ่งนี้ถือเป็น unforgivable sin ในวงการวิจัย”

ขณะที่ รศ.ดร.วีรชัย พุทธวงศ์ อาจารย์ประจำภาควิชาเคมี คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก ระบุว่า “มีอาจารย์จากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่คนหนึ่ง ไปตีพิมพ์ในเรื่องของวัสดุนาโนเป็นชื่อที่หนึ่งโดยจ่ายค่าตีพิมพ์ไป 30,000 บาท โดยที่สายงานอยู่เทคนิคการแพทย์ ไม่ใช่วัสดุศาสตร์ แล้วนำบทความที่ตีพิมพ์นั้นมาเบิกกับมหาวิทยาลัยจำนวน 120,000 บาท เรื่องนี้มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ต้องสืบสวนสอบสวนครับ เพราะตอนนี้มีเว็บไซต์ที่ขายการเอาชื่อไปแปะในวารสารวิชาการ กำลังเป็นประเด็นอยู่ #CHES ศูนย์ประสานงานบุคลากรในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ อ.อ๊อด ในฐานะ เลขาธิการ”

ทางด้าน รศ.ดร.ปิ่นแก้ว เหลืองอร่ามศรี อาจารย์ประจำภาควิชาสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ออกมาโพสต์ข้อความระบุว่า “ถ้าเข้าไปเสิร์ชชื่ออาจารย์ มช. ที่กำลังเป็นที่พูดถึงอยู่ในขณะนี้ ดูประวัติการตีพิมพ์บทความภาษาอังกฤษใน academia edu และ loop.frontiersin.org เราจะพบเรื่องที่น่าประหลาดใจยิ่งขึ้นไปอีก เพราะชื่อของเขาที่ปรากฏร่วมกับคนอื่นในวารสารต่างๆนั้น ไม่ได้มีแค่บทความข้ามศาสตร์เกี่ยวกับวิศวกรรม ที่ไม่ใช่ field ของเขาเท่านั้น แต่ยังมีบทความเกี่ยวกับเกษตร cryptocurrency เศรษฐศาสตร์การเงิน บางบทความก็เป็นการวิจัยในรัสเซีย ในอินโดนีเซีย ในโลกมุสลิม ฯลฯ นี่แสดงว่าทำมานานแล้ว และน่าแปลกใจว่าไม่มีอับอาย แต่มีการโหลดบทความมาโชว์กันใน academia edu เลยทีเดียว

ที่สำคัญคือ เราจะไม่พบบทความภาษาไทยเกี่ยวกับเกษตร วิศวกรรม การเงิน คริปโตเคอเรนซี รัสเซีย อินโดนีเซีย ที่อาจารย์ท่านนี้มีชื่อเขียนร่วมกับคนอื่นๆ ปรากฏในวารสารใดๆ ในภาษาไทย แม้แต่ชิ้นเดียว

อยากรู้จริงๆว่าผู้บริหาร มช. จะจัดการอย่างไรกับเรื่องแบบนี้ หรือว่าไม่สนใจ สักแต่จะเอา ranking โดยไม่สนใจว่า ทุกวันนี้ มีอาจารย์ที่ไร้ยางอายประเภทนี้ ที่หากินด้วยการเอาเงินมหาวิทยาลัย ไปจ่ายซื้อ “ที่” ในบทความที่ตัวเองไม่ได้เขียน เมื่อได้ตีพิมพ์ก็มาขอเงินรางวัลที่สูงกว่า จนมีผลงานตีพิมพ์เกินครึ่งร้อยภายในไม่กี่ปี ลองคูณด้วยแสนต่อชิ้น ก็จะรู้ว่าร่ำรวยกันขนาดไหน และก็มีวารสารประเภทนี้ในต่างประเทศที่รู้จักความด้อยพัฒนาแบบมหา’ลัยในไทย (และที่อื่น) เป็นอย่างดี ถึงได้หากินกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยทั้งหลาย ไม่ทราบว่าว่าอย่างไร?”..

ขอบคุณภาพประกอบ : @manopsi, Anan Jongkaewwattana, Weerachai Phutdhawong, Pinkaew Laungaramsri